God the Eternal Father is the Creator, Source, Sustainer, and Sovereign of all creation. He is just and holy, merciful and gracious, slow to anger, and abounding in steadfast love and faithfulness. The qualities and powers exhibited in the Son and the Holy Spirit are also revelations of the Father.—Fundamental Beliefs, 3

พระเจ้า พระบิดาองค์นิรันดร์ทรงเป็นพระผู้สร้าง ทรงเป็นแหล่งที่มา ทรงเป็นผู้ค้ำจุนและทรงมีอำนาจเหนือสรรพสิ่งที่ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม และบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ทรงเมตตาและทรงพระคุณ ทรงช้าในความพิโรธ และอุดมด้วยความรักอันมั่นคง และความสัตย์ซื่อ พระลักษณะและฤทธานุภาพของพระองค์แสดงออกให้เห็นได้จากพระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ คือเปิดเผยให้เห็นถึงพระบิดา - หลักข้อเชื่อข้อที่ 3


Chapter 3 ( บทที่ 3 )
God the Father
พระเจ้าพระบิดา

The great day of judgment begins. Fiery thrones with burning wheels move into place. The Ancient of Days takes His seat. Majestic in appearance, He presides over the court.

วันแห่งการพิพากษาครั้งใหญ่เริ่มต้น พระที่นั่งที่มีเพลิงลุกเป็นวงล้อหมุนตั้งไว้ ผู้เจริญด้วยวัยวุฒิ เสด็จมาประทับ มีแสงรัศมีเจิดจ้าปรากฏไปทั่ว พระองค์ทรงประทับเป็นประธานบนพระที่นั่งเหนือสถานพิพากษา

His awesome presence pervades the vast courtroom audience. A multitude of witnesses stand before Him. The judgment is set, the books are opened, and the examination of the record of human lives begins (Dan. 7:9, 10).

การประทับอยู่ของพระองค์น่าเกรงขามยิ่งกระจายไปทั่วบริเวณห้องพิพากษา บรรดาพยานนับจำนวนไม่ถ้วนยืนอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์ การพิพากษาเริ่มต้นขึ้น หนังสือทั้งหลายถูกเปิดออก และการตรวจสอบบันทึกชีวิตของมนุษย์ก็เริ่มดำเนินการ (ดาเนียล 7:9, 10)

The entire universe has been waiting for this moment. God the Father will execute His justice against all wickedness. The sentence is given: "A judgment was made in favor of the saints" (Dan. 7:22).

จักรวาลทั้งปวงได้เฝ้ารอเวลานี้มานานแล้ว พระเจ้าพระบิดาจะทรงตัดสินบรรดาความชั่วร้ายทั้งหลายทั้งหมดด้วยความยุติธรรม มีคำประกาศว่า “การพิพากษาให้แก่วิสุทธิชนขององค์ผู้สูงสุด” (ดาเนียล 7:22)

Joyful praises and thanksgiving reverberate across heaven. God's character is seen in all its glory, and His marvelous name is vindicated throughout the universe.

เสียงสรรเสริญด้วยความยินดีและโมทนาพระคุณดังกึกก้องไปทั่วฟ้าสวรรค์ พระลักษณะของพระเจ้าได้ฉายให้เห็นได้ทั่วจากพระสิริของพระองค์ และพระนามอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรของพระองค์ได้รับการพิสูจน์ให้เห็นทั่วทั้งจักรวาล

Views of the Father

God the Father is frequently misunderstood. Many are aware of Christ's mission to earth for the human race and of the Holy Spirit's role within the individual, but what has the Father to do with us?

ทรรศนะเกี่ยวกับพระบิดา

มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับพระเจ้าพระบิดาเสมอ คนจำนวนมากรับรู้พันธกิจของพระคริสต์เพื่อมนุษยชาติในโลกและบทบาทหน้าที่ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ส่วนพระบิดาทรงมีบทบาทอะไรต่อชีวิตของเราทั้งหลายบ้าง

Is He, in contrast to the gracious Son and Spirit, totally removed from our world, the absentee Landlord, the unmoved First Cause?

พระองค์แตกต่างไปจากพระบุตรผู้ทรงพระคุณและพระวิญญาณบริสุทธิ์ ด้วยการออกไปจากโลกนี้ เป็นเหมือนเจ้าของที่ดินผู้หายไป ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์อันแก้ไขไม่ได้ครั้งแรกใช่หรือไม่

Or is He, as some think of Him, the "Old Testament God"—a God of vengeance, characterized by the dictum "'an eye for an eye, and a tooth for a tooth'" (Matt. 5:38; cf. Ex. 21:24);

หรือว่าพระองค์เป็นไปอย่างที่มีบางคนคิดว่า “เป็นพระเจ้าแห่งพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม” พระเจ้าผู้ทรงแก้แค้น ได้รับการกล่าวถึงพระลักษณะว่า “ตาแทนตา ฟันแทนฟัน” (มัทธิว 5:38 อพยพ 21:24)

an exacting God who requires perfect works—or else! A God who stands in utter contrast to the New Testament's portrayal of a loving God who stresses turning the other cheek and going the second mile (Matt. 5:39-41).

พระเจ้าผู้ทรงกระทำอย่างตรงไปตรงมา กำหนดว่าทุกคนต้องประพฤติตนถูกต้องสมบูรณ์เท่านั้น เป็นพระเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่แตกต่างไปจากพระเจ้าในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ซึ่งแสดงออกให้เห็นว่าทรงเป็นพระเจ้าแห่งความรัก ผู้ทรงเน้นให้หันแก้มอีกข้างหนึ่งให้คนอื่นตบและเดินเลยไปสองกิโลเมตร (มัทธิว 5:39-41)

God the Father in the Old Testament

The unity of the Old and New Testaments, and of their common plan of redemption, is revealed by the fact that it is the same God who speaks and acts in both Testaments for the salvation of His people.

พระเจ้าพระบิดาในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม

เนื้อหาที่เป็นหนึ่งเดียวกันของพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ และแผนงานแห่งการไถ่ให้รอดที่เหมือนกัน เปิดเผยโดยข้อเท็จจริงให้เห็นว่ามาจากพระเจ้าองค์เดียวกัน ผู้ทรงตรัสและมีบทบาทในเหตุการณ์ต่าง ๆ ของพระคัมภีร์ทั้งสองภาค เพื่อความรอดแห่งประชากรของพระองค์

"God, who at various times and in different ways spoke in time past to the fathers by the prophets, has in these last days spoken to us by His Son, whom He has appointed heir of all things, through whom also He made the worlds" (Heb. 1:1, 2).

“ความเชื่อคือความมั่นใจในสิ่งที่หวังไว้ เป็นความแน่ใจในสิ่งที่มองไม่เห็น โดยความเชื่อนี้เองคนสมัยก่อนจึงได้รับการรับรองจากพระเจ้า“ (ฮีบรู 1:1, 2)

Although the Old Testament alludes to the Persons of the Godhead, it doesn't distinguish Them. But the New Testament makes it clear that Christ, God the Son, was the active agent in Creation (John 1:1-3, 14; Col. 1:16) and that He was the God who led Israel out of Egypt (1 Cor. 10:1-4; Ex. 3:14; John 8:58).

ถึงแม้ว่าในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมได้กล่าวถึงพระเจ้าทั้งสามพระภาค (ตรีเอกานุภาพ) ภาพที่เห็นแยกไม่ออกอย่างชัดเจนก็ตาม แต่พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่แสดงให้เห็นภาพของพระคริสต์ พระเจ้าผู้เป็นพระบุตร ผู้มีส่วนสำคัญในการเนรมิตสร้าง (ยอห์น 1:1-3, 14; โคโลสี 1:16) และเป็นพระเจ้าผู้ทรงนำอิสราเอลออกมาจากประเทศอียิปต์ (1 โครินธ์ 10:1-4; อพยพ 3:14; ยอห์น 8:58)

What the New Testament says of Christ's role in Creation and the Exodus suggests that even the Old Testament often conveys to us its portrait of God the Father through the agency of the Son.

สิ่งที่พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่กล่าวถึงบทบาทของพระคริสต์ในการสร้างและในการทรงนำการอพยพ ชี้ให้เราเห็นว่าถึงแม้ในสมัยพันธสัญญาเดิม ก็ยังแสดงให้เราเห็นภาพของพระเจ้าพระบิดาโดยทางพระบุตรผู้แทนของพระองค์

"God was in Christ reconciling the world to Himself" ( 2 Cor. 5:19). The Old Testament describes the Father in the following terms:

“พระเจ้าทรงให้โลกนี้คืนดีกับพระองค์โดยพระคริสต์" (2 โครินธ์ 5:19) พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมบรรยายถึงพระบิดาดังต่อไปนี้

A God of Mercy.

No sinful human being has ever seen God (Ex. 33:20). We have no photograph of His features. God demonstrated His character by His gracious acts and by the word picture He proclaimed before Moses:

พระเจ้าแห่งพระคุณ

ไม่มีมนุษย์คนบาปคนไหนเคยเห็นพระเจ้า (อพยพ 33:20) เราไม่มีรูปภาพว่าพระองค์ทรงมีรูปร่างเป็นอย่างไร พระเจ้าทรงเปิดเผยให้เห็นพระลักษณะอุปนิสัยของพระองค์โดยการกระทำอันเต็มไปด้วยพระคุณเมตตา และโดยอักษรภาพซึ่งพระองค์ทรงประทานต่อหน้าโมเสสว่า

"'The Lord, the Lord God, merciful and gracious, long-suffering, and abounding in goodness and truth, keeping mercy for thousands, forgiving iniquity and transgression and sin, by no means clearing the guilty, visiting the iniquity of the fathers upon the children and the children's children to the third and fourth generation'" (Ex. 34:6, 7; cf. Heb. 10:26, 27).

“พระยาห์เวห์เสด็จผ่านไปข้างหน้าท่าน ตรัสว่า "พระยาห์เวห์ พระยาห์เวห์ เป็นพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยพระกรุณาและพระคุณ พระองค์กริ้วช้า ทรงบริบูรณ์ด้วยความรักมั่นคง และความสัตย์จริง ผู้ทรงสำแดงความรักมั่นคงจนถึงพันๆ ชั่วอายุคน ผู้ประ‍ทานอภัยการล่วงละเมิด การทรยศและบาป แต่จะไม่ทรงละเว้นการลงโทษอย่างแน่นอน และทรงให้โทษบิดาตกทอดไปถึงลูกหลานถึงสามชั่วสี่ชั่วอายุคน" (อพยพ 34:6, 7; ฮีบรู 10:26, 27)

Yet mercy does not blindly pardon, but is guided by the principle of justice. Those who reject His mercy reap His punishment on iniquity.

ถึงกระนั้นก็ตาม พระเมตตานี้ไม่ใช่การยกโทษโดยไม่ตรวจสอบอย่างรอบคอบ ทว่ากระทำโดยมีหลักการและความยุติธรรมเป็นสิ่งชี้นำ บรรดาผู้ปฏิเสธพระคุณนี้จะต้องได้รับการปรับโทษตามความผิดของเขา

At Sinai God expressed His desire to be Israel's friend, to be with them. He said to Moses, "'Let them make Me a sanctuary, that I may dwell among them'" (Ex. 25:8).

พระเจ้าได้ทรงแสดงพระประสงค์ของพระองค์ว่าทรงต้องการเป็นมิตรกับคนอิสราเอล ประทับอยู่ท่ามกลางเขา พระองค์ทรงตรัสแก่โมเสสว่า “ให้พวกเขาสร้างสถานนมัส‍การสำหรับเรา เพื่อเราจะอยู่ท่ามกลางพวกเขา” (อพยพ 25:8)

Because it was God's earthly dwelling place, this sanctuary became the focal point of Israel's religious experience.

เพราะนี่คือสถานที่บนโลกที่พระเจ้าทรงประทับอยู่ สถานศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้กลายมาเป็นศูนย์รวมทางศาสนา

A Covenant God

Eager to establish lasting relations, God made solemn covenants with people such as Noah (Gen. 9:1-17) and Abraham (Gen. 12:1-3, 7;13:14-17;15:1, 5, 6; 17:1-8; 22:15-18; see chapter 7 of this book).

พระเจ้าแห่งพันธสัญญา

พระเจ้าทรงมุ่งมั่นสร้างความสัมพันธ์อันยั่งยืน พระองค์ทรงทำสัญญาสำคัญกับคนอย่างโนอาห์ (ปฐมกาล 9:1-17) และอับราฮัม (ปฐมกาล 12:1-3, 7;13:14-17;15:1, 5, 6; 17:1-8; 22:15-18; ดูบทที่ 7 ของหนังสือเล่มนี้)

These covenants reveal a personal, loving God interested in His people's concerns. To Noah He gave assurance of regular seasons (Gen. 8:22) and that there never would be another worldwide flood (Gen 9:11);

พันธสัญญาเหล่านี้เปิดเผยให้เห็นพระลักษณะของพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงรัก ผู้สนพระทัยในความเป็นไปที่เกิดแก่ประชากรของพระองค์ พระองค์ทรงให้หลักประกันแก่โนอาห์ว่าจะมีฤดูกาลตามปกติ (ปฐมกาล 8:22) และจะไม่มีน้ำท่วมโลกอีก (ปฐมกาล 9:11)

to Abraham He promised numerous descendants (Gen. 15:5-7) and a land wherein he and his descendants could dwell (Gen. 15:18; 17:8).

ทรงให้พระสัญญาแก่อับราฮัมว่าเขาจะมีลูกหลานจำนวนนับไม่ถ้วน (ปฐมกาล 15:5-7) และจะได้แผ่นดินที่ลูกหลานจะได้พำนักอาศัย (ปฐมกาล 15:18; 17:8)

A Redeemer God.

As God of the Exodus, He miraculously led a nation of slaves to liberty. This great redemptive act is the backdrop for the entire Old Testament and an example of His longing to be our Redeemer.

พระเจ้าผู้ทรงไถ่

ในฐานะพระเจ้าแห่งพระธรรมอพยพ พระองค์ทรงนำชนชาติหนึ่งออกจากการเป็นทาสไปสู่อิสรภาพอย่างอัศจรรย์ การไถ่ให้รอดอันยิ่งใหญ่นี้เป็นฉากหลังของเรื่องราวตลอดทั้งพันธสัญญาเดิม และเป็นตัวอย่างของพระประสงค์ที่จะมาเป็นพระผู้ไถ่ของเราทั้งหลาย

God is not a distant, detached, uninterested person, but One very much involved in our affairs.

พระเจ้าไม่ได้อยู่ห่างไกล ปลีกตัวอย่างต่างหาก ไม่ใส่ใจ แต่ทรงเป็นพระองค์ผู้ทรงเข้ามามีส่วนในการสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราทั้งหลาย

The Psalms particularly were inspired by the depth of God's loving involvement: "When I consider Your heavens, the work of Your fingers, the moon and the stars, which You have ordained, what is man that You are mindful of him, and the son of man that You visit him?" (Ps. 8:3, 4).

พระธรรมสดุดีประพันธ์จากแรงบันดาลใจที่ได้รับจากการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เขียนด้วยความรักอันล้ำลึก “เมื่อข้าพระองค์มองดูฟ้าสวรรค์ อันเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ดวงจันทร์และดวงดาวซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาไว้ มนุษย์เป็นผู้ใดเล่าซึ่งพระองค์ทรงระลึกถึงเขา และบุตรของมนุษย์เป็นใครเล่า ซึ่งพระองค์ทรงเยี่ยมเขา” (สดุดี 8:3, 4)

"I will love You, O Lord, my strength. The Lord is my rock and my fortress and my deliverer; My God, my strength, in whom I will trust; My shield and the horn of my salvation, my stronghold" (Ps. 18:1, 2). "For He has not despised nor abhorred the affliction of the afflicted" (Ps. 22:24).

“ข้าแต่พระเจ้า พระกำลังของข้าพระองค์ ข้าพระองค์รักพระองค์ พระเจ้าทรงเป็นพระศิลา ป้อมปราการ และผู้ช่วยกู้ของข้าพระองค์ เป็นพระเจ้าของข้าพระองค์ เป็นพระศิลาซึ่งข้าพระองค์เข้าลี้ภัย อยู่ในพระองค์ เป็นโล่ เป็นพลังแห่งความรอดของ ข้าพระองค์ เป็นที่กำบังเข้มแข็งของข้าพระองค์” (สดุดี 18:1, 2) "เพราะพระองค์มิได้ทรงดูถูกหรือสะอิดสะเอียน ต่อความทุกข์ยากของผู้ที่ทุกข์ใจ และพระองค์มิได้ทรงซ่อนพระพักตร์จากเขา เมื่อเขาร้องทูล พระองค์ทรงฟัง”(สดุดี 22:24).

A God of Refuge

David saw God as One in whom we can find refuge—very much like the six Israelite cities of refuge, which harbored innocent fugitives.

พระเจ้าแห่งการลี้ภัย

ดาวิดมองดูพระเจ้าว่าทรงเป็นพระองค์ที่เราทั้งหลายสามารถได้รับการลี้ภัย เหมือนกับเมืองลี้ภัยทั้งหกแห่งของประเทศอิสราเอล ซึ่งตั้งไว้เพื่อช่วยให้เหยื่อผู้ทำผิดโดยไม่เจตนาได้เข้าไปหลบภัย

The Psalms' recurrent theme of "refuge" pictures both Christ and the Father. The Godhead was a refuge. "For in the time of trouble He shall hide me in His pavilion; in the secret place of His tabernacle He shall hide me; He shall set me high upon a rock" (Ps. 27:5).

ผู้เขียนพระธรรมสดุดีได้นำเอาการ “ลี้ภัย” ที่เคยมีมาก่อนกลับมาให้เห็นอีกครั้ง แสดงถึงภาพของพระคริสต์และพระบิดา พระเจ้าสามพระภาคผู้ทรงเป็นที่ “ลี้ภัย” ของเรา “เพราะพระองค์จะทรงซ่อนข้าพเจ้า ในที่กำบังของพระองค์ ในยามยากลำบาก พระองค์จะปิดข้าพเจ้าไว้ภายใต้ร่มพลับพลาของพระองค์ พระองค์จะทรงตั้งข้าพเจ้าไว้สูงบนศิลา” (สดุดี 27:5)

"God is our refuge and strength, a very present help in trouble" (Ps. 46:1). "As the mountains surround Jerusalem, so the Lord surrounds His people from this time forth and forever" (Ps. 125:2).

“พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยและเป็นกำลังของ ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นความช่วยเหลือที่พร้อมอยู่ในยามยากลำบาก” (สดุดี 46:1) "ภูเขาอยู่รอบเยรูซาเล็มฉันใด พระเจ้าทรงอยู่รอบประชากรของพระองค์ ตั้งแต่เวลานี้สืบต่อไปเป็นนิตย์ฉันนั้น” (สดุดี 125:2)

The psalmist expressed a longing for more of his God: "As the deer pants for the water brooks, so pants my soul for You, O God. My soul thirsts for God, for the living God" (Ps. 42:1, 2).

ผู้ประพันธ์พระธรรมสดุดีได้แสดงถึงการโหยหาเฝ้ารอพระเจ้าของเขา “กวางกระเสือกกระสนหาลำธาร ที่มีน้ำไหลฉันใด ข้าแต่พระเจ้า จิตวิญญาณของข้าพระองค์ ก็กระเสือกกระสนหาพระองค์ฉันนั้น จิตวิญญาณของข้าพระองค์กระหายหาพระเจ้า หาพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์” (สดุดี 42:1, 2)

From experience, David testified, "Cast your burden on the Lord, and He shall sustain you; He shall never permit the righteous to be moved" (Ps. 55:22).

ดาวิดได้ยืนยันเป็นหลักฐานจากประสบการณ์ชีวิตของตนเองว่า “จงมอบภาระของท่านไว้กับพระเจ้า และพระองค์จะทรงค้ำจุนท่าน พระองค์จะไม่ทรงยอมให้ คนชอบธรรมคลอนแคลนเลย” (สดุดี 55:22)

"Trust in Him at all times, you people; pour out your heart before Him; God is a refuge for us" (Ps. 62:8)—"a God full of compassion, and gracious, longsuffering and abundant in mercy and truth" (Ps. 86:15).

"ประชาชนเอ๋ย จงวางใจในพระองค์ตลอดเวลา จงระบายความในใจของท่านต่อพระองค์ พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยของเรา” (สดุดี 62:8) "ทรงเป็นพระเจ้ากอปรด้วยพระกรุณา และพระเมตตา ทรงกริ้วช้า และอุดมด้วยความรักมั่นคงและความสัตย์สุจริต” (สดุดี 86:15)

A God of Forgiveness.

After his sins of adultery and murder, David earnestly entreated, "Have mercy upon me, O God, according to Your lovingkindness; according to the multitude of Your tender mercies."

พระเจ้าผู้ทรงให้อภัย

หลังจากพระราชาดาวิดได้ทำบาปด้วยการล่วงประเวณีและฆ่าคน พระองค์ได้วิงวอนด้วยความจริงใจว่า “ข้าแต่พระเจ้า ขอทรงแสดงพระกรุณาต่อข้าพระองค์ตามความรักมั่นคง ของพระองค์

"Do not cast me away from Your presence, and do not take Your Holy Spirit from me" (Ps. 51:1, 11). He was comforted by the assurance that God is wonderfully merciful.

"ขออย่าทรงเหวี่ยงข้าพระองค์ไปเสียจากเบื้อง พระพักตร์พระองค์ และขออย่าทรงนำวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ ไปจากข้าพระองค์" (สดุดี 51:1, 11) พระราชาดาวิดได้รับการปลอบโยนด้วยหลักประกันการอภัยอันน่าอัศจรรย์ของพระเจ้า

"For as the heavens are high above the earth, so great is His mercy toward those who fear Him; as far as the east is from the west, so far has He removed our transgressions from us. As a father pities his children, so the Lord pities those who fear Him. For He knows our frame; He remembers that we are dust" (Ps. 103:11-14).

“เพราะว่าฟ้าสวรรค์สูงเหนือแผ่นดินเท่าใด ความรักมั่นคงของพระองค์ที่มีต่อบรรดาคนที่ เกรงกลัวพระองค์ก็ใหญ่ยิ่งเท่านั้น ตะวันออกไกลจากตะวันตกเท่าใด พระองค์ทรงปลดการละเมิดของเราจากเราไปไกลเท่านั้น บิดาสงสารบุตรของตนฉันใด พระเจ้าทรงสงสารบรรดาคนที่ยำเกรงพระองค์ฉันนั้น เพราะพระองค์ทรงทราบโครงร่างของเรา พระองค์ทรงระลึกว่าเราเป็นแต่ผงคลี" (สดุดี 103:11-14).

A God of Goodness

God is the One who "executes justice for the oppressed, who gives food to the hungry. The Lord gives freedom to the prisoners.

พระเจ้าผู้ทรงมีคุณความดี

พระเจ้าคือพระองค์ "ผู้ทรงประกอบความยุติธรรม ให้แก่คนที่ถูกบีบบังคับ ผู้ประทานอาหารแก่คนที่หิว พระเจ้าทรงปล่อยผู้ถูกคุมขังให้เป็นอิสระ

The Lord opens the eyes of the blind; the Lord raises those who are bowed down; the Lord loves the righteous. The Lord watches over the strangers; He relieves the fatherless and widow" (Ps. 146:7-9).

พระเจ้าทรงเบิกตาของคนตาบอด พระเจ้าทรงยกคนที่ตกต่ำให้ลุกขึ้น พระเจ้าทรงรักคนชอบธรรม พระเจ้าทรงเฝ้าดูคนต่างด้าว พระองค์ทรงชูลูกกำพร้าพ่อและหญิงม่าย แต่พระองค์ทรงพลิกทางของคนอธรรม (สดุดี 146:7-9).

What a great picture of God is given in the Psalms!

ภาพของพระเจ้าที่ปรากฏอยู่ในพระธรรมสดุดีช่างยิ่งใหญ่จริงๆ

A God of Faithfulness

In spite of God's greatness, Israel wandered away from Him most of the time (Leviticus 26, Deuteronomy 28).

พระเจ้าผู้สัตย์จริง

ถึงแม้ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าแล้วก็ตาม คนอิสราเอลก็ยังหลงเจิ่นไปจากพระองค์เสียเป็นส่วนใหญ่ (เลวีนิติ 26, เฉลยธรรมบัญญัติ 28)

God is depicted as loving Israel as a husband loves his wife. The book of Hosea poignantly illustrates God's faithfulness in the face of flagrant unfaithfulness and rejection. God's continuing forgiveness reveals His character of unconditional love.

ภาพของพระเจ้าที่แสดงออกในความรักต่ออิสราเอล เหมือนสามีรักภรรยาของเขา พระธรรมโฮเชยาบรรยายภาพให้เห็นได้อย่างแหลมคมมากถึงความสัตย์จริงของพระเจ้า เมื่อเผชิญกับความไม่สัตยซื่อและการถูกปฏิเสธที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด การให้อภัยอย่างต่อเนื่องของพระเจ้า เปิดเผยให้เห็นถึงพระอุปนิสัยความเป็นองค์ผู้ทรงรักโดยไม่มีเงื่อนไขของพระองค์

Though God permitted her to experience the calamities caused by her unfaithfulness—attempting to correct Israel's ways—He still embraced her with His mercy. He assured her,

ถึงแม้ว่าพระเจ้าทรงยอมให้คนอิสราเอลได้รับหายนะภัยต่าง ๆ ที่เกิดจากความไม่ซื่อสัตย์ของประชาชน เพื่อเป็นสิ่งตีสอนให้หันกลับมาเดินบนหนทางที่ถูกต้อง พระองค์ก็ยังทรงเปิดพระหัตถ์กว้างพร้อมโอบอุ้มพวกเขาด้วยพระเมตตาของพระองค์ พระเจ้าทรงให้หลักประกันว่า

"'You are My servant, I have chosen you and have not cast you away: Fear not, for I am with you; be not dismayed, for I am your God. I will strengthen you, yes, I will help you, I will uphold you with My righteous right hand'" (Isa. 41:9, 10).

“เจ้าผู้ซึ่งเรายุดไว้จากที่สุดปลายแผ่นดินโลก และเรียกมาจากที่ไกลสุดของโลก กล่าวแก่เจ้าว่า “เจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา เราได้เลือกเจ้าและไม่เหวี่ยงเจ้าออกไป” อย่ากลัวเลย เพราะเราอยู่กับเจ้า อย่าขยาด เพราะเราเป็นพระเจ้าของเจ้า เราจะหนุนกำลังเจ้า เออ เราจะช่วยเจ้า เออ เราจะชูเจ้าด้วยมือขวาอันมีชัยของเรา (อิสยาห์ 41:9, 10)

In spite of their unfaithfulness, He tenderly promised, "'If they confess their iniquity and the iniquity of their fathers, with their unfaithfulness in which they were unfaithful to Me. . . .

ถึงแม้คนเหล่านั้นไม่สัตย์ซื่อต่อพระเจ้า พระองค์ก็ยังทรงให้คำสัญญาด้วยความรักว่า "แต่ถ้าเขาทั้งหลายสาร‍ภาพความชั่วของเขา และความชั่วของบรรพ‍บุรุษ ซึ่งทำผิดต่อเราด้วยการทร‍ยศของเขาทั้งหลายนั้น และที่ได้ประ‍พฤติขัดแย้งเรา....

if their uncircumcised hearts are humbled, and they accept their guilt—then I will remember My covenant with Jacob . . . with Isaac . . . with Abraham'" (Lev. 26:40-42; cf. Jer. 3:12).

ถ้าเมื่อนั้นจิตใจที่ดื้อรั้นของพวกเขาถ่อมลงและยอมรับเรื่องความชั่วของพวกเขาแล้ว เราจะระลึกถึงพันธ‍สัญญาของเราซึ่งมีต่อยา‍....ซึ่งมีต่ออิส‍อัค....ต่ออับ‍รา‍ฮัม " (เลวีนิติ 26:40-42 เยเรมีย์ 3:12).

God reminds His people of His redemptive attitude: "'O Israel, you will not be forgotten by Me! I have blotted out, like a thick cloud, your transgressions, and like a cloud, your sins. Return to Me, for I have redeemed you'" (Isa. 44:21, 22).

พระเจ้าทรงย้ำเตือนประชากรของพระองค์ทัศนะที่ดีทีจะไถ่พวกเขาว่า “โอ ยาโคบเอ๋ย จงจำสิ่งเหล่านี้ อิสราเอลเอ๋ย เพราะเจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา เราได้ปั้นเจ้า เจ้าเป็นผู้รับใช้ของเรา โอ อิสราเอลเอ๋ย เราจะไม่ลืมเจ้า เราได้ลบล้างการทรยศของเจ้าเสียเหมือนเมฆและลบล้างบาปของเจ้าเหมือนหมอก จงกลับมาหาเรา เพราะเราได้ไถ่เจ้าแล้ว” (อิสยาห์ 44:21, 22)

No wonder He could say, "'Look to Me, and be saved, all you ends of the earth! For I am God, and there is no other'" (Isa. 45:22).

มิน่าเล่าพระองค์จึงสามารถตรัสว่า “มวลมนุษย์ทั่วแผ่นดินโลกเอ๋ย จงหันมาหาเราและรับการช่วยให้รอด เพราะเราเป็นพระเจ้า และไม่มีอื่นใดอีก" (อิสยาห์ 45:22).

A God of Salvation and Vengeance.

The Old Testament description of God as a God of vengeance must be seen in the context of the destruction of His faithful people by the wicked. Through "the day of the Lord" theme the prophets reveal God's actions on behalf of His people at the end of time.

พระเจ้าแห่งความรอดและการตอบแทน

พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมได้บรรยายพระลักษณะของพระเจ้าว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งการตอบแทน เห็นได้จากผลการทำลายคนอธรรม ผู้เคยประสงค์ร้ายต่อประชากรของพระองค์ โดย “วันขององค์พระผู้เป็นเจ้า” หัวข้อหลักที่บรรดาผู้เผยพระวจนะเปิดเผยให้เห็นพระราชกิจของพระเจ้าเพื่อตอบแทนให้แก่ประชากรของพระองค์ในวาระสุดท้าย

It is a day of salvation for His people, but a day of vengeance on their enemies who will be destroyed. "Say to those who are fearful—hearted, 'Be strong, do not fear! Behold, your God will come with vengeance; with the recompense of God; He will come and save you'" (Isa. 35:4).

วันนั้นจะเป็นวันแห่งความรอดแห่งประชากรของพระเจ้า และเป็นวันแห่งการทำลายคนอธรรม “จงกล่าวกับคนที่มีใจคร้ามกลัวว่า “จงแข็งแรงเถอะ อย่ากลัว ดูเถิด พระเจ้าของท่านทั้งหลายจะเสด็จมาด้วยการแก้แค้นพระองค์จะเสด็จมาและช่วยท่านให้รอด" (Isa. 35:4).

A Father God.

Addressing Israel, Moses referred to God as their Father, who had redeemed them: "'Is He not your Father, who bought you?'" (Deut. 32:6).

พระเจ้าพระบิดา

เมื่อโมเสสกล่าวแก่คนอิสราเอล ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระผู้ไถ่เขา ผู้เป็นเช่นพระบิดาของเขาทั้งหลาย “พระองค์ไม่ใช่พระบิดา ผู้ทรงสร้างท่าน ผู้ทรงสรรค์ท่าน และสถา‍ปนาท่านไว้หรือ?'" (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:6)

Through redemption, God adopted Israel as His child. Isaiah wrote, "O Lord, you are our Father" (Isa. 64:8; cf. 63:16). Through Malachi, God affirmed, "'I am the Father'" (Mal. 1:6).

พระเจ้าทรงรับเอาคนอิสราเอลเป็นบุตรของพระองค์โดยการไถ่พวกเขา อิสยาห์บันทึกไว้ว่า “ข้าแต่พระเจ้า แต่พระองค์ยังทรงเป็นพระบิดาของข้าพระองค์" (อิสยาห์ 64:8; 63:16) พระเจ้าทรงยืนยันโดยมาลาคีว่า “เราเป็นพระบิดา" (มาลาคี 1:6)

Elsewhere, Malachi relates God's fatherhood to His role as Creator: "Have we not all one Father? Has not one God created us?" (Mal. 2:10). God is our Father through both Creation and redemption. What a glorious truth!

ในส่วนอื่นของพระธรรม มาลาคีกล่าวถึงความเป็นพระบิดาจากบทบาทในฐานะพระผู้สร้าง “พระเจ้าองค์เดียวได้ทรงสร้างเรามิใช่หรือ” (มาลาคี 2:10) พระเจ้าทรงเป็นพระบิดาของเราโดยผ่านการสร้างและการไถ่ นี่ช่างเป็นความจริงอันรุ่งโรจน์

God the Father in the New Testament

The God of the Old Testament does not differ from the God of the New Testament.

พระเจ้าพระบิดาในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่

พระเจ้าแห่งพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมไม่ได้แตกต่างไปจากพระเจ้าในพันธสัญญาใหม่แต่อย่างใด

God the Father is revealed as the originator of all things, the father of all true believers, and in a unique sense the father of Jesus Christ.

พระเจ้าพระบิดาทรงเปิดเผยพระองค์ในฐานะพระผู้ทรงริเริ่มสิ่งทั้งหลาย เป็นพระบิดาของผู้เชื่อแท้ทั้งหลาย และในลักษณะพิเศษ ทรงเป็นพระบิดาของพระเยซูคริสต์

The Father of All Creation.

Paul identifies the Father, distinguishing Him from Jesus Christ: "There is only one God, the Father, of whom are all things, . . . and one Lord Jesus Christ, through whom are all things, and through whom we live" (1 Cor. 8:6; cf. Heb.12:9; John 1:17).

พระบิดาแห่งสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง

เปาโลทรงบ่งชี้ว่าพระเจ้าทรงเป็นพระบิดา ทรงแยกพระองค์ให้เห็นว่าทรงแตกต่างไปจากพระเยซูคริสต์ “มีพระเจ้าองค์เดียวคือพระบิดา ทุกสิ่งเกิดมาจากพระองค์......มีพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ทุกสิ่งเกิดมาโดยพระองค์และเราก็เป็นมาโดยพระองค์" (1 โครินธ์ 8:6 ฮีบรู 12:9 ยอห์น 1:17)

He testifies, "I bow my knees to the Father of our Lord Jesus Christ, from whom the whole family in heaven and earth is named" (Eph. 3:14, 15).

เขาได้พิสูจน์ว่า “ข้าพเจ้าจึงคุกเข่าต่อพระบิดา (คำว่า บิดา ของทุกตระกูลในสวรรค์ก็ดี บนแผ่นดินโลกก็ดี มาจากคำว่า พระบิดา นี้)" (เอเฟซัส 3:14, 15).

The Father of All Believers.

In New Testament times this spiritual father-child relationship exists not between God and the nation of Israel but between God and the individual believer.

พระบิดาของบรรดาผู้เชื่อทั้งหลาย

ในสมัยพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ ความผูกพันระหว่างบิดาแห่งความเชื่อและบุตรนั้นเกิดขึ้นมิใช่ระหว่างพระบิดากับชนชาติอิสราเอล แต่เป็นความผูกพันระหว่างพระเจ้าและผู้เชื่อแต่ละคน

Jesus provides the guidelines for this relationship (Matt. 5:45; 6:6-15), which is established through the believer's acceptance of Jesus Christ (John 1:12, 13).

พระเยซูทรงให้คำชี้แนะเพื่อการมีความสัมพันธ์นี้ (มัทธิว 5:45; 6:6-15) ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการที่บรรดาผู้เชื่อเหล่านั้นได้รับเอาพระเยซูคริสต์ (ยอห์น 1:12, 13).

Through the redemption Christ has wrought, believers are adopted as God's children. The Holy Spirit facilitates this relationship.

โดยการไถ่ให้รอดนี้ พระคริสต์ได้นำเอาบรรดาผู้เชื่อเข้าไปเป็นบุตรของพระเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นผู้อำนวยให้ความสัมพันธ์นี้ราบรื่น

Christ came "to redeem those who were under the law, that we might receive the adoption as sons. And because you are sons, God has sent forth the Spirit of His Son into your hearts, crying out, 'Abba, Father!'" (Gal. 4:5, 6; cf. Rom. 8:15, 16).

พระคริสต์เสด็จมาเพื่อ “เพื่อจะทรงไถ่คนเหล่านั้นที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อให้เราได้รับฐานะเป็นบุตรและเพราะท่านทั้งหลายเป็นบุตรแล้ว พระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเรา ร้องว่า “อับบา (พ่อ)" (กาลาเทีย 4:5, 6 โรม 8:15, 16)

Jesus Reveals the Father

Jesus, God the Son, provided the most profound view of God the Father when He, as God's self-revelation, came inhuman flesh (John 1:1, 14).

พระเยซูทรงเปิดเผยพระบิดา

พระเยซู พระบุตรของพระเจ้า ทรงให้เห็นภาพของพระเจ้าพระบิดาได้อย่างชัดเจน เมื่อพระองค์ในฐานะเปิดเผยให้เห็นพระเจ้าโดยตัวของพระองค์เอง เมื่อเสด็จมาเกิดมีเนื้อหนังเหมือนมนุษย์ (ยอห์น 1:1, 14)

John states, "No one has seen God at any time. The only begotten Son . . . has declared Him" (John 1:18). Jesus said, "'I have come down from heaven'" (John 6:38); "'He who has seen Me has seen the Father'" (John 14:9). To know Jesus is to know the Father.

ยอห์นระบุว่า “ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย แต่พระบุตรองค์เดียวผู้สถิตในพระทรวงของพระบิดา ทรงสำแดงพระเจ้าแล้ว" (ยอห์น 1:18) พระเยซูทรงตรัสว่า "'เพราะว่าเราลงมาจากสวรรค์'" (ยอห์น 6:38) "' คนที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา'" (ยอห์น 14:9)การรู้จักพระเยซูก็เท่ากับรู้จักพระบิดา

The Epistle to the Hebrews stresses the importance of this personal revelation: "God, who at various times and in different ways spoke in time past to the fathers by the prophets, has in these last days spoken to us by His Son, whom He has appointed heir of all things, through whom also He made the worlds; . . . being the brightness of His glory and the express image of His person" (Heb.1:1-3).

จดหมายฝากที่ส่งไปยังพี่น้องฮีบรูได้เน้นถึงความสำคัญของการเปิดเผยพระองค์เอง นานมาแล้วพระเจ้าตรัสกับบรรพบุรุษของเราหลายครั้ง และหลายวิธีทางพวกผู้เผยพระวจนะ แต่ในวาระสุดท้ายนี้พระองค์ตรัสกับเราทางพระบุตร ผู้ที่พระองค์ทรงตั้งให้เป็นทายาทรับสิ่งทั้งปวง พระเจ้าทรงสร้างจักรวาลทางพระบุตร 3พระบุตรทรงเป็นแสงสว่างแห่งพระสิริของพระเจ้า ทรงมีแก่นแท้เดียวกับพระเจ้า" (ฮีบรู 1:1-3)

1. A God who gives.

Jesus revealed His Father as a giving God. We see His giving at Creation, at Bethlehem, and at Calvary.

1. พระเจ้าผู้ทรงประทาน.

พระเยซูได้ทรงเปิดเผยให้เห็นพระบิดาของพระองค์ในฐานะพระเจ้าผู้ทรงประทาน เราทั้งหลายได้เห็นการประทานนั้นจากการเนรมิตสร้าง ที่หมู่บ้านเบธเลเฮ็ม และที่บนภูเขาคาลวารี

In creating, the Father and the Son acted together. God gave us life in spite of knowing that doing so would lead to the death of His own Son.

พระเจ้าและพระบุตรทรงทำหน้าที่ร่วมกัน พระเจ้าทรงประทานชีวิตถึงแม้ทรงทราบว่าการทำเช่นนี้จะนำมาซึ่งความตายของพระบุตรก็ตามที

At Bethlehem, He gave Himself as He gave His Son. What pain the Father experienced when His Son entered our sin-polluted planet!

ที่หมู่บ้านเบธเลเฮ็ม การที่พระองค์ทรงประทานพระบุตรก็เท่ากับทรงมอบพระองค์เอง เมื่อพระบุตรของพระองค์เข้ามาในโลกที่สกปรกด้วยความบาป

Imagine the Father's feeling as He saw His Son exchange the love and adoration of angels for the hatred of sinners; the glory and bliss of heaven for the pathway of death.

พระบิดาทรงเจ็บปวดอย่างไร ลองจินตนาการถึงความรู้สึกขณะที่พระบิดาทอดพระเนตรพระบุตรทรงแลกเปลี่ยนความรักและการยกย่องสรรเสริญที่ทูตสวรรค์ถวายกับคนบาปที่เกลียดชังพระองค์ ทรงแลกพระสิริและความงดงามแห่งสวรรค์กับหนทางสู่ความมรณา

But it is Calvary that gives us the deepest insight into the Father. The Father, being divine, suffered the pain of being separated from His Son—in life and death—more acutely than any human being ever could.

แต่ที่ภูเขาคาลวารีได้ให้เราทั้งหลายได้เห็นถึงพระบิดาอย่างชัดเจนที่สุด พระบิดา ผู้เป็นพระเจ้าทรงทนทุกข์เจ็บปวดเมื่อถูกแยกออกจากพระบุตรของพระองค์ ทั้งในชีวิตและความตายอย่างแสนสาหัสยิ่งกว่ามนุษย์ผู้ใดเคยประสพ ที่นั่น

And He suffered with Christ in like measure. What greater testimony about the Father could be given! The cross reveals—as nothing else can—the truth about the Father.

พระบิดาทรงทนทุกข์อันสนสาหัสที่ไม่มีเคยประสพมาก่อนร่วมกับพระคริสต์ มีคำพยานใดอีกเกี่ยวกับพระบิดาที่ต้องแสดงอีก ไม้กางเขนได้เปิดเผยให้เห็นถึงความจริงเกี่ยวกับพระบิดา ไม่มีสิ่งใดสามารถทำได้อีกแล้ว

2. A God of love.

Jesus' favorite theme was the tenderness and abundant love of God. "'Love your enemies,'" He said, "'bless those who curse you, do good to those who hate you, and pray for those who spitefully use you and persecute you, that you may be sons of your Father in heaven; for He makes His sun rise on the evil and on the good, and sends rain on the just and the unjust'" (Matt. 5:44, 45).

2 . พระเจ้าแห่งความรัก

คำสอนหลักที่พระเยซูทรงชื่นชอบ คือความรักอันเต็มล้นด้วยพระเมตตาของพระเจ้า ทรงตรัสว่า “จงรักศัตรูของท่าน และจงอธิษฐานเพื่อบรรดาคนที่ข่มเหงพวกท่าน เพื่อว่าพวกท่านจะเป็นบุตรของพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ เพราะว่าพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและคนชั่วเสมอกัน และให้ฝนตกแก่คนชอบธรรมและคนอธรรม” (มัทธิว 5:44, 45) .

"'And your reward will be great, and you will be sons of the Highest. For He is kind to the unthankful and evil. Therefore be merciful, just as your Father also is merciful'" (Luke 6:35, 36).

"'แล้วบำเหน็จของท่านทั้งหลายจะมีบริบูรณ์ แล้วท่านจะเป็นบุตรขององค์ผู้สูงสุด เพราะว่าพระองค์ทรงพระกรุณาทั้งต่อคนอกตัญญูและคนชั่ว พวกท่านจงมีใจเมตตากรุณาเหมือนอย่างพระบิดาของท่านมีพระทัยเมตตากรุณา'" (ลูกา 6:35, 36)

In stooping down and washing the feet of His betrayer (John 13:5, 10-14), Jesus revealed the loving nature of the Father. When we see Christ feeding the hungry (Mark 6:39-44; 8:1-9), healing the deaf (Mark 9:17-29),

เมื่อทรงคุกเข่าลงและล้างเท้าให้แก่ผู้ทรยศต่อพระองค์ (ยอห์น 13:5, 10-14) พระเยซูได้ทรงเปิดเผยให้เห็นความรักอันเป็นพระลักษณะของพระบิดา เมื่อเราเห็นพระคริสต์ทรงเลี้ยงอาหารแก่ประชาชนที่หิวกระหาย (มาระโก 6:39-44; 8:1-9) รักษาคนหูหนวก (มาระโก 9:17-29)

giving speech to the dumb (Mark 7:32-37), opening the eyes of the blind (Mark 8:22-26), lifting up the palsied (Luke 5:18-26), curing the lepers (Luke 5:12, 13), raising the dead (Mark 5:35-43; John 11:1-45), forgiving sinners (John 8:3-11), and casting out demons (Matt. 15:22-28; 17:14-21),

คนใบ้พูดได้ (มาระโก 7:32-37) เปิดตาแก่คนตาบอด (มาระโก 8:22-26) เรียกคนง่อยให้ลุกขึ้น (ลูกา 5:18-26) รักษาคนโรคเรื้อน (ลูกา 5:12, 13) เรียกคนตายให้ฟื้น (มาระโก 5:35-43 ยอห์น 11:1-45) ให้อภัยแก่คนบาป (ยอห์น 8:3-11) และขับผีออก (มัทธิว 15:22-28; 17:14-21)

we see the Father mingling among men, bringing them His life, setting them free, giving them hope, and pointing them to a restored new earth to come.

เราได้เห็นพระบิดาทรงคลุกคลีอยู่กับมนุษย์ นำเอาชีวิตของพระองค์มาสู่เขาเหล่านั้น ปลดปล่อยเขาให้เป็นอิสระ ให้ความหวังและชี้เขาไปที่โลกใหม่ที่จะได้รับการสร้างขึ้นใหม่ซึ่งกำลังจะมาถึง

Christ knew that revealing the precious love of His Father was the key to bringing people to repentance (Rom. 2:4).

พระคริสต์ทรงทราบดีว่าการเปิดเผยให้เห็นถึงความรักอันล้ำค่าของพระบิดา คือกุญแจที่จะนำคนทั้งหลายได้กลับใจเสียใหม่ (โรม 2:4)

Three of Christ's parables portray God's loving concern for lost humanity (Luke 15). The parable of the lost sheep teaches that salvation comes through God's initiative, and not because of our searching after Him.

คำอุปมาสามเรื่องของพระเยซูได้เปิดเผยให้เห็นถึงความรักห่วงใยของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ผู้หลงหาย (ลูกา 15) อุปมาเรื่องแกะหลงหายสอนให้เห็นถึงความรอดบาปที่ได้มาโดยการริเริ่มของพระเจ้า ไม่ใช่เพราะการที่เราทั้งหลายแสวงหาพระองค์

As a shepherd loves his sheep and risks his life when one is missing, so in even greater measure, does God manifest His yearning love for every lost person.

ในฐานะของผู้เลี้ยงแกะผู้รักลูกแกะของพระองค์ พร้อมเสี่ยงชีวิตเพื่อตัวที่หายไป ยิ่งไปกว่านั้นอีก พระเจ้าได้ทรงเปิดเผยพระองค์ให้เห็นถึงความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ที่เกินจะวัดได้ให้คนที่หลงหายได้เห็น

This parable also has cosmic significance—the lost sheep represents our rebellious world, a mere atom in God's vast universe.

คำอุปมานี้ยังมีความสำคัญเกินประมาณ แกะที่หลงหายเปรียบได้กับโลก ซึ่งเป็นเสมือนอะตอมเล็ก ๆ ท่ามกลางจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ได้กบฏต่อพระองค์

God's costly gift of His Son to bring our planet back into the fold indicates that our fallen world is as precious to Him as the rest of His creation.

การประทานพระบุตรของพระองค์เป็นของประทานอันล้ำค่า เพื่อนำเอาโลกนี้กลับคืนสู่คอก แสดงให้เห็นถึงโลกที่หลงไปในความบาปของเราว่ามีค่าสำหรับพระองค์ ยิ่งกว่าสิ่งทรงสร้างอื่น ๆ ทั้งหมดเพียงใด

The parable of the lost coin emphasizes what immense value God places on us sinners. And the parable of the prodigal son shows the enormous love of the Father, who welcomes home penitent children.

คำอุปมาของเหรียญที่หายเน้นให้เห็นว่าพระเจ้าได้ทรงนับสถานะคนบาปเช่นเราทั้งหลายอย่างเราว่ามีคุณค่าสูงส่งเพียงใด คำอุปมาเรื่องบุตรหลงหายแสดงให้เห็นความรักอันใหญ่หลวงของพระบิดา ผู้ทรงยินดีต้อนรับบุตรทั้งหลายที่กลับใจ

If there is joy in heaven over one sinner who repents (Luke 15:7), imagine the joy the universe will experience at our Lord's second coming.

ถ้าในสวรรค์ต่างชื่นชมยินดีเมื่อมีคนบาปคนหนึ่งกลับใจ (ลูกา 15:7) ลองจินตนาการถึงความชื่นชมยินดีที่จักรวาลจะได้รับเมื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าของเราเสด็จกลับมาครั้งที่สองว่าจะมีมากสักเพียงใด

The New Testament makes clear the Father's intimate involvement with His Son's return. At the Second Advent the wicked cry to the mountains and rocks,

ในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงความรักของพระบิดาได้อย่างชัดเจน ในการเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสด็จกลับมาของพระบุตร ในวันที่พระองค์เสด็จกลับมาครั้งที่สอง บรรดาคนอธรรมจะร้องต่อภูเขาและโขดหินทั้งหลายว่า

"'Fall on us and hide us from the face of Him who sits on the throne and from the wrath of the Lamb!'" (Rev. 6:16).

“จงล้มทับเราเถิด จงซ่อนเราไว้ ให้พ้นจากพระพักตร์ของพระองค์ผู้ประทับอยู่บนพระที่นั่ง และจากพระพิโรธของพระเมษโปดก” (วิวรณ์ 6:16)

Jesus said, "'For the Son of Man will come in the glory of His Father with His angels'" (Matt. 16:27), and "'you will see the Son of Man sitting at the right hand of the Power [the Father], and coming on the clouds of heaven'" (Matt. 26:64).

พระเยซูทรงตรัสว่าว “เพราะว่าเมื่อบุตรมนุษย์จะเสด็จมาด้วยพระรัศมีของพระบิดา พร้อมด้วยบรรดาทูตสวรรค์ของพระองค์” (มัทธิว 16:27) และ "'พวกท่านจะเห็น บุตรมนุษย์ ประทับข้างขวาของผู้ทรงฤทธิ์เดช และเสด็จมาบนเมฆแห่งฟ้าสวรรค์” (มัทธิว 26:64)

With a longing heart the Father anticipates the Second Advent, when the redeemed will finally be brought into their eternal home. Then His sending of "His only begotten Son into the world, that we might live through Him" (1 John 4:9)

พระบิดาทรงเฝ้ารอเพื่อจะมีส่วนร่วมในการเสด็จกลับมาครั้งที่สอง เมื่อบรรดาคนที่รอดแล้วจะถูกรับไปยังบ้านนิรันดร์ของเขา เมื่อนั้นการที่พระองค์ได้ “ทรงใช้พระบุตรองค์เดียวของพระองค์เข้ามาในโลก เพื่อเราจะได้ดำรงชีวิตโดยพระบุตร” (1 ยอห์น 4:9)

will clearly not have been in vain. Only unfathomable, unselfish love explains why, though we were enemies "we were reconciled to God through the death of His Son" (Rom. 5:10).

จะได้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้เป็นการสูญเปล่าแต่อย่างใด ความรักที่ไม่อาจหยั่งได้ รักที่ไม่เห็นแก่ตัวเท่านั้นที่จะสามารถอธิบาย

ได้ว่าเพราะเหตุใด แม้เราทั้งหลายเป็นศัตรูกับพระองค์ “เราได้กลับคืนดีกับพระองค์ โดยที่พระบุตรของพระองค์สิ้นพระชนม์ ยิ่งกว่านั้นอีกเมื่อกลับคืนดีแล้ว เราก็จะรอดโดยพระชนม์ชีพของพระองค์” (โรม 5:10)

How could we spurn such love and fail to acknowledge Him as our Father?

เช่นนี้แล้ว เราจะไม่ใยดีต่อความรักนี้และไม่ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระบิดาของเราทั้งหลายได้อย่างไร?