God the Eternal Son became incarnate in Jesus Christ. Through Him all things were created, the character of God is revealed, the salvation of humanity is accomplished, and the world is judged. Forever truly God, He became also truly man, Jesus the Christ. He was conceived of the Holy Spirit and born of the virgin Mary. He lived and experienced temptation as a human being, but perfectly exemplified the righteousness and love of God. By His miracles He manifested God's power and was attested as God's promised Messiah. He suffered and died voluntarily on the cross for our sins and in our place, was raised from the dead, and ascended to minister in the heavenly sanctuary in our behalf. He will come again in glory for the final deliverance of His people and the restoration of all things.—Fundamental Beliefs, 4

พระเจ้าพระบุตรผู้ทรงดำรงอยู่นิรันดร์ได้เสด็จมาเกิดเป็นมนุษย์คือพระเยซูคริสต์ พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่ง พระองค์ทรงสำแดงพระลักษณะของพระเจ้า ทรงทำให้การไถ่มนุษย์ให้รอดพ้นบาปสำเร็จ และโลกได้รับการพิพากษา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแท้ตลอดนิรันดรกาล และทรงเสด็จมาเป็นมนุษย์แท้ พระเยซูผู้ทรงเป็นพระคริสต์ พระองค์ทรงถือกำเนิดขึ้นมาโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์และประสูติจากมารีย์ หญิงพรหมจารี พระองค์ทรงดำเนินชีวิต ได้ผ่านการทดลองในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง แต่ทรงเป็นแบบอย่างของความชอบธรรมและความรักของพระเจ้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ พระองค์ทรงแสดงให้เห็นถึงฤทธานุภาพของพระเจ้าจากการอัศจรรย์ต่าง ๆ และพระเจ้าได้ทรงพิสูจน์ว่าพระองค์คือพระเมสสิยาห์ตามพระสัญญาของพระเจ้า พระองค์ได้ทรงยอมทนทุกข์ทรมานและสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อชำระบาปและตายแทนเราทั้งหลายด้วยความยินดีเสียสละ ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายและเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะมหาปุโรหิตเพื่อเราทั้งหลาย พระองค์จะเสด็จกลับมาอีกครั้งด้วยพระรัศมี เพื่อการไถ่ประชากรของพระองค์ให้รอดเป็นครั้งสุดท้าย และจะทรงนำเอาสรรพสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิมอีกครั้ง - หลักข้อเชื่อข้อที่ 4


Chapter 4 - บทที่ 4
God the Son
พระเจ้าพระบุตร

The wilderness had become a nightmare of vipers. Snakes slithered under cooking pots, coiled around tent pegs. They lurked among children's toys, lay in wait in the sleeping pallets. Their fangs sank deep, injecting deadly poison.

ป่ากันดารกลายเป็นฝันร้ายเพราะงูพิษที่มีอยู่อย่างมากมาย พวกมันเลื้อยไปในหม้ออาหาร ขดตัวอยู่ตามหมุดเต็นท์ พวกมันเลื้อยหลบอยู่ตามของเล่นเด็ก มันนอนหลับอยู่ในรางหญ้า ฟันที่มันใช้กัดลึกลงไปในเนื้อ จากนั้นจึงปล่อยพิษอันร้ายกาจออกไป

The wilderness, which once had been Israel's refuge, became its graveyard. Hundreds lay dying. Realizing their predicament, terrorized parents hurried to Moses' tent, pleading for help. "Moses prayed for the people."

ป่ากันดารซึ่งครั้งหนึ่ง เคยเป็นที่หลบภัยของคนอิสราเอล บัดนี้กลับกลายเป็นสุสานของพวกเขา คนนับร้อยนับพันนอนเจ็บป่วยใกล้ตาย เมื่อตระหนักถึงสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก พ่อแม่หลายคนจึงรีบไปยังเต็นท์ของโมเสส ร้องขอความช่วยเหลือ “โมเสส โปรดอธิษฐานเผื่อประชาชนด้วย”

God's answer? Mold a serpent, and lift it high—and all who looked on it would live. "So Moses made a bronze serpent, and put it on a pole; and . . . if a serpent had bitten anyone, when he looked at the bronze serpent, he lived" (Num. 21:9).

พระเจ้าตอบคำอธิษฐานหรือไม่? ก็โดยให้หล่อรูปปั้นงูและยกขึ้นสูง ใครที่มองไปยังงูตัวนั้นจะมีชีวิตรอด “ดังนั้นโมเสสจึงทำงูทองสัมฤทธิ์ตัวหนึ่งและติดไว้ที่เสา แล้วถ้างูกัดคนใดถ้าเขามองดูงูทองสัมฤทธิ์นั้นเขาก็มีชีวิตอยู่ได้” (กันดารวิถี 21:9)

The serpent has always been Satan's symbol (Genesis 3; Revelation 12), representing sin. The camp had been plunged into Satan's hands. God's remedy? Not looking at a lamb on the sanctuary altar, but beholding a bronze serpent.

งูมักเป็นสัญลักษณ์หมายถึงซาตานเสมอ (ปฐมกาล 3 วิวรณ์ 12) หมายถึงความบาป เมื่อค่ายพักตกอยู่ในมือของซาตาน นี่คือการรักษาของพระเจ้าหรือ? แทนที่จะมองไปที่ลูกแกะที่แท่นบูชา กลับให้มองไปที่งูทองสัมฤทธิ์แทน

It was a strange symbol of Christ. Just as the likeness of the serpents that stung was lifted up on a pole, Jesus, made "in the likeness of sinful flesh" (Rom. 8:3), was to be lifted up on the shameful cross (John 3:14, 15).

นี่เป็นสัญลักษณ์แทนพระคริสต์ที่แปลก พระเยซูทรงอยู่ “ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป” (โรม 8:3) เหมือนกับสัญลักษณ์ของงูที่กัดคน ถูกยกขึ้นบนเสา พระองค์จะถูกยกขึ้นบนไม้กางเขนอันน่าละอาย (ยอห์น 3:14, 15)

He became sin, taking upon Himself all the sins of everyone who has lived or will live. "For He made Him who knew no sin to be sin for us, that we might become the righteousness of God in Him" (2 Cor. 5:21). By looking to Christ hopeless humanity can find life.

พระองค์กลายเป็นคนบาป ทรงรับเอาบาปของทุกคนที่มีชีวิตอยู่มาก่อนหรือจะมีชีวิตอยู่ในวันข้างหน้า “เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงกระทำพระองค์ผู้ทรงไม่มีบาปให้บาปเพราะเห็นแก่เรา เพื่อเราจะได้เป็นคนชอบธรรมของพระเจ้าทางพระองค์” (2 โครินธ์ 5:21) เมื่อมนุษย์ผู้สิ้นหวังมองไปยังพระคริสต์เขาจะพบชีวิต

How could the incarnation bring salvation to humanity? What effect did it have on the Son? How could God become a human being and why was it necessary?

การมาเกิดเป็นมนุษย์สามารถนำเอาความรอดบาปมาสู่มนุษย์ได้อย่างไร? มีผลอะไรต่อพระบุตร? พระเจ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ได้อย่างไรและทำไมพระองค์จำเป็นต้องทำอย่างนั้น?

The Incarnation: Predictions and Fulfillment

God's plan to rescue those who strayed from His all-wise counsel (John 3:16; 1 John 4:9) convincingly demonstrates His love.

คำพยากรณ์ในการมาเกิดเป็นมนุษย์และ สำเร็จตามที่ได้ยากรณ์ไว้

แผนงานของพระเจ้าในการช่วยกู้บรรดาผู้หลงหายไปจากคำแนะนำด้วยพระปัญญาของพระองค์ (ยอห์น 3:16, 1 ยอห์น 4:9) ที่แสดงออกด้วยการโน้มน้าวให้เห็นถึงความรักของพระองค์

In this plan His Son was "foreordained before the foundation of the world" as the sacrifice for sin, to be the hope of the human race (1 Peter 1:19, 20). He was to bring us back to God and provide deliverance from sin through the destruction of the works of the devil (1 Peter 3:18; Matt. 1:21; 1 John 3:8).

ในแผนงานนี้พระบุตร “ได้ทรงกำหนด.....ไว้ก่อนทรงสร้างโลก” ในฐานะเครื่องบูชาความบาป เพื่อเป็นความหวังของเผ่าพันธุ์มนุษย์ (1 เปโตร 1:19, 20) พระองค์จะเป็นผู้นำเรากลับไปสู่พระเจ้าและประทานการช่วยกู้ให้รอดพ้นจากบาป โดยการทำลายกิจการของมาร (1 เปโตร 3:18; มัทธิว 1:21; 1 ยอห์น 3:8)

Sin had severed Adam and Eve from the source of life, and should have resulted in their immediate death. But in accordance with the plan laid before the foundation of the world (1 Peter 1:20, 21), the "counsel of peace" (Zech. 6:13),

ความบาปได้หยุดยั้งไม่ให้อาดัมและเอวาเข้าถึงแหล่งชีวิต และได้รับผลของความตายซึ่งเป็นผลของบาปทันที ทว่า ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่การวางรากฐานของโลกนั้น (1 เปโตร 1:20, 21) ได้มี “หารือกันอย่างศานติ” (เศคาริยาห์ 6:13)

God the Son stepped between them and divine justice, bridging the gulf and restraining death. Even before the cross, then, His grace kept sinners alive and assured them of salvation. But to restore us fully as sons and daughters of God, He had to become a man.

พระเจ้าพระบุตรได้ก้าวมาอยู่ระหว่างทั้งสองฝ่าย และความยุติธรรมของพระเจ้า เชื่อมต่อช่องว่างอันกว้างใหญ่และควบคุมความตายไว้ สิ่งนี้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์บนไม้กางเขน จากนั้น พระคุณที่ช่วยคนบาปให้มีชีวิตอยุ่ได้ และให้หลักประกันความรอด ไม่เพียงเท่านี้ พระองค์ได้นำเราทั้งหลายกลับไปสู่สถานะความเป็นบุตรชายและบุตรหญิงของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้พระองค์จะต้องมาเกิดเป็นมนุษย์

Immediately after Adam and Eve sinned, God gave them hope by promising to introduce a supernatural enmity between the serpent and the woman, between his seed and hers. In the cryptic statement of Genesis 3:15 the serpent and its offspring represent Satan and his followers; the woman and her seed symbolize God's people and the Saviour of the world.

ทันทีหลังจากที่อาดัมและเอวาทำบาป พระเจ้าได้ประทานความหวังแก่เขาโดยทรงแสดงให้เห็นความเป็นศัตรูที่เหนือธรรมชาติระหว่างงูและผู้หญิง ระหว่างพงศ์พันธุ์ของหญิงและเผ่าพันธุ์ของงู ในถ้อยแถลงที่ซ่อนเงื่อนของพระธรรมปฐมกาล 3:15 งูและเผ่าพันธุ์ของหญิงหมายถึง ซาตานและบรรดาผู้ติดตามของมัน ผู้หญิงและพงศ์พันธ์ของเธอหมายถึงประชากรของพระเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของโลก

This statement was the first assurance that the controversy between good and evil would end in victory for God's Son.

ข้อความนี้เป็นหลักประกันแรกของการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ระหว่างความดีและความชั่ว ซึ่งจะสิ้นสุดในชัยชนะของพระบุตรพระเจ้า

The victory, however, would be painful: "'He [the Saviour] shall bruise your [Satan's] head, and you [Satan] shall bruise His [the Saviour's] heel'" (Gen. 3:15). No one would come out unscathed.

อย่างไรก็ตาม ชัยชนะนี้จะได้มาด้วยความเจ็บปวด “เขา (พระผู้ช่วยให้รอด) จะทำให้หัวของเจ้า (ซาตาน) แหลกและเจ้า (ซาตาน) จะทำให้ส้นเท้าของเขา (พระผู้ช่วยให้รอด) ฟกช้ำ” (ปฐมกาล 3:15) ไม่มีใครออกมาจากความขัดแย้งนี้โดยไม่มีบาดแผลติดมาด้วย

From that moment, mankind looked for the Promised One. The Old Testament unfolds that search. Prophecies foretold that when the Promised One arrived, the world would have evidence to confirm His identity.

นับจากวินาทีนั้นเป็นต้นมา มนุษยชาติได้เฝ้ารอคอยพระองค์ผู้ทรงสัญญาไว้ พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมได้เปิดเผยเรื่องราวการค้นหา คำพยากรณ์มากมายได้บอกไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อไรพระองค์ผู้ทรงสัญญาไว้จะเข้ามา เพื่อโลกจะมีหลักฐานยืนยันว่านี่คือพระองค์ผู้นั้น

A Prophetic Dramatization of Salvation

After sin entered, God instituted animal sacrifices to illustrate the mission of the Saviour to come (see Gen. 4:4). This symbolic system dramatized the manner in which God the Son would eradicate sin.

การสาธิตให้เห็นภาพแผนการแห่งความรอด

หลังจากที่ความบาปเข้ามาในโลก พระเจ้าได้ทรงกำหนดให้มีการถวายสัตวบูชา เพื่อเป็นการสาธิตให้เห็นพระราชกิจของพระผู้ช่วยให้รอดผู้จะเสด็จมา (ดูปฐมกาล 4:4) การใช้สัญลักษณ์ที่เป็นระบบเพื่อฉายให้เห็นภาพวิธีที่พระเจ้าพระบุตรจะทรงกำจัดบาป

Because of sin—he transgression of God's law—the human race faced death (Gen. 2:17; 3:19; 1 John 3:4; Rom. 6:23). God's law demanded the life of the sinner. But in His infinite love God gave His Son, "'that whoever believes in Him should not perish but have everlasting life'" (John 3:16).

เพราะความบาปจึงทำให้มนุษย์ละเมิดพระบัญญัติของพระเจ้า ทำให้พงษ์พันธุ์ของมนุษย์ต้องตาย (ปฐมกาล 2:17; 3:19; 1 ยอห์น 3:4; โรม 6:23) คนบาปจะต้องชดใช้การละเมิดพระบัญญัติของพระเจ้าด้วยชีวิตของเขา แต่ด้วยความรักอันไม่มีสิ้นสุดของพระเจ้า พระองค์จึงประทนพระบุตรมา “เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์” (ยอห์น 3:16)

What an incomprehensible act of condescension! God the eternal Son, Himself pays vicariously the penalty for sin, so that He can provide us forgiveness and reconciliation to the Godhead.

ช่างเป็นการแสดงออกของการยอมถ่อมตัวลงมาอันหาที่เปรียบมิได้ เมื่อพระเจ้าพระบุตร ผู้ทรงดำรงอยู่นิรันดร์ ยอมชำระค่าไถ่โทษบาปด้วยการทดแทนด้วยตัวของพระองค์เอง เพื่อจะทรงสามารถมอบการให้อภัยและการกลับคืนดีสู่พระเจ้าทั้งสามพระภาคแก่เราทั้งหลาย

After Israel's exodus from Egypt, the sacrificial offerings were conducted in a tabernacle as part of a covenant relationship between God and His people. Built by Moses according to a heavenly pattern, the sanctuary and its services were instituted to illustrate the plan of salvation (Ex. 25:8, 9, 40; Heb. 8:1-5).

หลังจากที่คนอิสราเอลอพยพออกจากประเทศอียิปต์ ได้มีการถวายสัตวบูชาขึ้นในเต็นท์ (พลับพลา) เป็นส่วนหนึ่งของการทำพันธสัญญาความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าและประชากรของพระองค์ โมเสสได้สร้างขึ้นตามแบบของสถานศักดิ์สิทธิ์ในสวรรค์ พิธีกรรมต่าง ๆ ได้กำหนดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงแผนการไถ่ให้รอด (อพยพ 5:8, 9, 40; ฮีบรู 8:1-5)

To obtain forgiveness, a repentant sinner brought a sacrificial animal that had no blemishes—a representation of the sinless Saviour. The sinner then would place his hand upon the innocent animal and confess his sins (Lev. 1:3, 4).

การจะได้รับการอภัยบาปนั้น คนบาปที่กลับใจใหม่จะนำเอาสัตว์ที่ไร้มลทิน ซึ่งเป็นตัวแทนขอพระผู้ช่วยให้รอดผู้ไม่มีบาป จากนั้นคนบาปผู้นั้นจะวางมือของเขาลงบนหัวของสัตว์ที่ไม่มีความผิดและสารภาพบาปของตน (เลวีนิติ 1:3, 4)

This act symbolized the transfer of the sin from the guilty sinner to the innocent victim, depicting the substitutionary nature of the sacrifice. Since "without shedding of blood there is no remission" of sins (Heb. 9:22),

การกระทำนี้เป็นสัญลักษณ์ของการโอนย้ายบาปจากชีวิตของคนบาปผู้กระทำผิดไปสู่สัตว์ที่ไม่มีความผิด แสดงให้เห็นภาพของการใช้สัตวบูชาแทนที่ ในเมื่อ “ถ้าไม่มีโลหิตไหลออกแล้ว ก็จะไม่มีการยกโทษบาปเลย” (ฮีบรู 9:22)

the sinner then killed the animal, making the deadly nature of sin evident. A sorrowful way to express hope, but the sinner's only way to express faith. After the priestly ministry (Leviticus 4-7),

จากนั้นคนบาปจึงฆ่าสัตว์ตัวนั้น ทำให้เห็นหลักฐานลักษณะแท้จริงของบาป นี่คือวิธีอันน่าเศร้าที่แสดงออกถึงความหวัง แต่เป็นวิธีเดียวที่คนบาปจะแสดงออกถึงความเชื่อของเขาออกมา หลังจากที่ปุโรหิตทำหน้าที่แล้ว (เลวีนิติบทที่ 4-7)

the sinner received forgiveness of sins through his faith in the substitutionary death of the coming Redeemer, which the animal sacrifice symbolized (cf. Lev. 4:26, 31, 35).

คนบาปได้รับการอภัยโทษบาปทั้งหลายของเขาโดยความเชื่อที่มีรอยู่ในความตาย (ของสัตว์) ที่ทดแทนความตายขอพระผู้ไถ่ ซึ่งสัตว์ที่ถวายบูชาเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ชี้ถึงพระองค์ (เลวินิติ 4:26, 31, 35)

The New Testament recognizes Jesus Christ, the Son of God, as "the Lamb of God who takes away the sin of the world" (John 1:29). Through His precious blood, "as of a lamb without blemish and without spot" (1 Peter 1:19), He obtained for the human race redemption from the ultimate penalty of sin.

พระคริสต์พันธสัญญาใหม่ยอมรับเอาพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าว่าเป็น “พระเมษโปดก[ แปลว่า ลูกแกะ ] ของพระเจ้า ผู้ทรงรับบาปของโลกไป” (ยอห์น 1:29) โดยพระโลหิตอันล้ำค่าของพระองค์ “พระโลหิตล้ำค่าของพระคริสต์ ดังเลือดลูกแกะที่ไร้ตำหนิและไร้จุดด่างพร้อย” (1 เปโตร 1:19) ทำให้พระองค์ได้การไถ่มนุษย์ทั้งหลายจากโทษสูงสุดของความบาป

Predictions About a Saviour.

God promises that the Saviour-Messiah—the Anointed One—would come through Abraham's line: "'In your seed all the nations of the earth shall be blessed'" (Gen. 22:18; cf.12:3).

คำพยากรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกัพระผู้ช่วยให้รอด

พระเจ้าทรงสัญญาว่พระผู้ช่วยให้รอด พระเมสสิยาห์ หรือผู้ทรงเจิมไว้ จะเสด็จมาในเชื้อสายของอับราฮัม “ประชาชาติทั้งหลายทั่วโลกจะได้พรเพราะเชื้อสายของเจ้า” (ปฐมกาล 22:18; 12:3)

Isaiah prophesied that the Saviour would come as a male child, and would be both human and divine: "For unto us a Child is born, unto us a Son is given; and the government will be upon His shoulder. And His name will be called Wonderful, Counselor, Mighty God, Everlasting Father, Prince of Peace" (Isa. 9:6).

อิสยาห์ได้พยากรณ์ว่พระผู้ช่วยให้รอดจะเสด็จมา เป็นเด็กชาย และจะมาเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระเจ้า “ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่ที่บ่าของท่าน และท่านจะเรียกนามของท่านว่า “ที่ปรึกษามหัศจรรย์ พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ พระบิดานิรันดร์ องค์สันติราช” (อิสยาห์ 9:6)

This Redeemer would ascend the throne of David and establish an everlasting government of peace (Isa. 9:7). Bethlehem would be His birthplace (Micah 5:2).

พระผู้ไถ่พระองค์นี้จะทรงครอบครองบัลลังก์ของดาวิดและสถาปนาการปกครองแห่งสันติภาพไม่มีที่สิ้นสุด (อิสยาห์ 9:7) พระองค์จะมาเกิดที่หมู่บ้านเบธเลเฮ็ม (มีคาห์ 5:2)

The birth of this divine-human person would be supernatural. Citing Isaiah 7:14, the New Testament states, "'Behold, a virgin shall be with child, and bear a Son, and they shall call His name Immanuel,' which is translated, 'God with us'" (Matt. 1:23).

การมาบังเกิดของพระองค์ผู้ทรงเป็นพระเจ้าและมนุษย์จะเกิดขึ้นเหนือธรรมชาติ ตามบันทึกในพระธรรมอิสยาห์ 7:14 พระคริสต์พันธสัญญาใหม่กล่าวซ้ำอีกครั้งว่า “นี่แน่ะ หญิงพรหมจารีคนหนึ่งจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และเขาจะเรียกนามของท่านว่าอิมมานูเอล (แปลว่าพระเจ้าสถิตกับเรา)” (มัทธิว 1:23)

The Saviour's mission is expressed in these words: "'The Spirit of the Lord God is upon Me, because the Lord has anointed Me to preach good tidings to the poor; He has sent Me to heal the broken-hearted, to proclaim liberty to the captives, and opening of the prison to those who are bound; to proclaim the acceptable year of the Lord'" (Isa. 61:1, 2; cf. Luke 4:18, 19).

พันธกิจของพระผู้ช่วยให้รอดแสดงออกให้เห็นได้จากถ้อยคำเหล่านี้ “พระวิญญาณแห่งพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้เพื่อนำข่าวดีมายังผู้ที่ทุกข์ใจ พระองค์ทรงใช้ข้าพเจ้ามาให้เล้าโลมคนที่ชอกช้ำระกำใจ และร้องประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย และบอกการเปิดเรือนจำออก[ หรือ การเบิกตา แต่ฮีบรูว่า การเปิด ] ให้แก่ผู้ที่ถูกจำจอง เพื่อประกาศปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า” (อิสยาห์ 61:1-2, ลูกา 4:18-19)

Amazingly the Messiah would suffer rejection. He would be perceived as "a root out of dry ground." "He has no form or comeliness, and when we see Him, there is no beauty that we should desire Him. . . . Despised and rejected by men, a man of sorrows and acquainted with grief. . . . We did not esteem Him" (Isa. 53:2-4).

สิ่งที่น่าอัศจรรย์ใจก็คือ พระเมสสิยาห์จะต้องทนทุกข์เพราะไม่ได้รับการยอมรับ พระองค์จะถูกมองว่าเหมือนกับ “อย่างต้นไม้อ่อน และเหมือนรากแตกหน่อมาจากพื้นดินแห้ง ท่านไม่มีรูปร่างหรือความสวยงาม ซึ่งเราทั้งหลายจะมองท่าน และไม่มีความงามที่เราจะพึงปรารถนาท่าน.....ท่านถูกดูหมิ่น และเราทั้งหลายไม่ได้นับถือท่าน” (อิสยาห์ 53:2-4)

A close friend would betray Him (Ps. 41:9) for thirty pieces of silver (Zech. 11:12). During His trial He would be spat upon and beaten (Isa. 50:6). Those who executed Him would gamble for the very clothes He wore (Ps. 22:18). None of His bones were to be broken (Ps. 34:20), but His side was to be pierced (Zech. 12:10).

พระองค์จะถูกมิตรใกล้ชิดทรยศ (สดุดี 41:9) ขายไปด้วยเงินสามสิบแผ่น (เศคาริยาห์ 11:12) ขณะที่พระองค์ถูกตัดสินคดีความจะถูกถ่มน้ำลายรดและเฆี่ยนตี (อิสยาห์ 50:6) คนที่ประหารพระองค์จะพนันเอาฉลองพระองค์ที่ทรงสวมใส่ (สดุดี 22:18) ไม่มีกระดูกส่วนไหนของพระองค์หัก (สดุดี 34:20) แต่สีข้างของพระองค์จะถูกแทง (เศคาริยาห์ 12:10)

In His afflictions He would not resist, but "as a sheep before its shearers is silent, so He opened not His mouth" (Isa. 53:7).

ในความทุกข์ของพระองค์นั้น พระองค์ไม่ต่อสู้ขัดขวาง แต่ “เหมือนลูกแกะที่ถูกนำไปฆ่า และเหมือนแกะที่เป็นใบ้อยู่หน้าผู้ตัดขนของมันฉันใด ท่านก็ไม่ปริปากของท่านเลยฉันนั้น” (อิสยาห์ 53:7)

The innocent Saviour would suffer immensely for sinners. "Surely He has borne our griefs and carried our sorrows; . . . He was wounded for our transgressions, He was bruised for our iniquities; the chastisement for our peace was upon Him, and by His stripes we are healed. . . . And the Lord has laid on Him the iniquity of us all. . . . He was cut off from the land of the living; for the transgressions of My people He was stricken" (Isa. 53:4-8).

พระผู้ช่วยให้รอดผู้ทรงบริสุทธิ์จะต้องมารับทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพื่อคนบาป “แน่ทีเดียวท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย และหอบความเจ็บปวดของเราไป... .ท่านถูกบาดเจ็บเพราะความทรยศของเราทั้งหลาย ท่านฟกช้ำเพราะความบาปผิดของเรา การตีสอนอันทำให้เราทั้งหลายสมบูรณ์นั้น ตกแก่ท่าน ที่ท่านต้องฟกช้ำนั้นก็ให้เราหายดี…พระเจ้าทรงวางลงบนท่าน....ท่านต้องถูกตัดออกไปจากแดนคนเป็น ต้องถูกตีเพราะการทรยศของชนชาติของเรา” (อิสยาห์ 53:4-8)

The Saviour Identified.

Only Jesus Christ has fulfilled these prophecies. Scriptures trace His genealogy to Abraham, calling Him the Son of Abraham (Matt. 1:1),

พระผู้ช่วยให้รอดทรงเผยตัวให้รู้

มีเพียงพระเยซูคริสต์เท่านั้นผู้ทำให้คำพยากรณ์เหล่านี้สำเร็จตามที่กล่าวไว้ พระคัมภีร์ได้บันทึกย้อนหลังเชื้อสายของพระองค์ไปจนถึงอับราฮัม เรียกพระองค์ว่าบุตรของอับราฮัม (มัทธิว 1:1)

and Paul affirms that the promise to Abraham and his seed was fulfilled in Christ (Gal. 3:16). The Messianic title "Son of David" was widely applied to Him (Matt. 21:9). He was identified as the promised Messiah, who would occupy the throne of David (Acts 2:29, 30).

เปาโลยืนยันว่าคำสัญญาที่ให้ไว้กับอับราฮัมและพงศ์พันธุ์ของเขาได้ทำให้พระสัญญาสำเร็จในพระคริสต์ (กาลาเทีย 3:16) พระนามที่ยกย่องว่า “บุตรดาวิด” หมายถึงพระองค์ (มัทธิว 21:9) พระองค์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าทรงเป็นพระเมสสิยาห์ผู้จะเสด็จมาครอบครองบัลลังก์ของดาวิดตามพระสัญญา (กิจการ 2:29, 30)

Jesus' birth was miraculous. The virgin Mary "was found with child of the Holy Spirit" (Matt. 1:18-23). A Roman decree brought her to Bethlehem, the predicted birthplace (Luke 2:4-7).

การมาประสูติของพระเยซูเป็นสิ่งอัศจรรย์ เมื่อหญิงมารีย์หญิงพรหมจารี “มีครรภ์แล้วด้วยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์” (มัทธิว 1:18-23) การออกกฎหมายของรัฐบาลโรมันทำให้เธอต้องกลับไปที่หมู่บ้านเบธเลเฮ็ม สถานที่พยากรณ์ไว้ว่าพระองค์จะประสูติที่นั่น (ลูกา 2:4-7)

One of Jesus' names was Immanuel, or "God With Us," which reflected His divine-human nature and illustrated God's identification with humanity (Matt. 1:23). His common name, Jesus, focused on His mission of salvation: "'And you shall call His name Jesus, for He will save His people from their sins'" (Matt. 1:21).

อีกพระนามหนึ่งของพระเยซูคือ อิมมานูเอล หรือ “พระเจ้าสถิตกับเรา” ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเป็นพระเจ้าและเป็นมนุษย์ในคนเดียวกันของพระองค์ และแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงนับพระองค์เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ (มัทธิว 1:23) พระเยซูคือพระนามสามัญของพระองค์ ที่เน้นถึงราชกิจแห่งความรอด “เธอจะให้พระกำเนิดบุตรชาย แล้วจงเรียกนามท่านว่า เยซู เพราะว่าท่านจะทรงช่วยชนชาติของท่านให้รอดจากบาปของพวกเขา” (มัทธิว 1:21)

Jesus identified His mission with that of the Messiah predicted in Isaiah 61:1, 2: "'Today this Scripture is fulfilled in your hearing'" (Luke 4:17-21).

พระเยซูทรงแสดงให้เห็นถึงราชกิจของพระเมสสิยาห์ตามที่พยากรณ์ไว้ในพระธรรมอิสยาห์ 61:1, 2 เมื่อทรงตรัสว่า “พระคัมภีร์ตอนนี้ที่พวกท่านได้ยินกับหูก็สำเร็จแล้วในวันนี้” (ลูกา 4:17-21)

Although He made a profound impact on His people, His message was generally rejected (John 1:11; Luke 23:18). With few exceptions He was not recognized as the world's Saviour. Instead of acceptance, He met death threats (John 5:16; 7:19; 11:53).

แม้ว่าพระองค์ได้ทรงกระทำหลายสิ่งที่มีผลต่อชีวิตประชากรของพระองค์ (อิสราเอล) อย่างมากมายก็ตาม แต่ข่าวสารของพระองค์กลับไม่ได้รับการยอมรับ (ยอห์น 1:11 ลูกา 23:18) มีคนจำนวนน้อยที่ยอมรับ พระองค์ถูกปฏิเสธการเป็พระผู้ช่วยให้รอดของโลก แทนที่เป็นที่ยอมรับพระองค์กลับได้รับความตายอันน่ากลัวเป็นการตอบแทน (ยอห์น 5:16; 7:19; 11:53)

Toward the end of Jesus' three-and-a-half-year ministry, Judas Iscariot, a disciple, betrayed Him (John 13:18; 18:2) for thirty pieces of silver (Matt. 26:14, 15). Instead of resisting, He rebuked His disciples for trying to defend Him (John 18:4-11).

เมื่อใกล้เวลาแห่งการรับใช้เป็นเวลาสามปีครึ่งของพระเยซู ยูดาสอิสคาริโอท อัครสาวกคนหนึ่งได้ทรยศพระองค์ (ยอห์น 13:18; 18:2) ด้วยเงินสามสิบเหรียญ (มัทธิว 26:14, 15) แทนการต่อสู้ พระองค์ทรงตำหนิอัครสาวกของพระองค์ที่พยายามปกป้องพระองค์ (ยอห์น 18:4-11)

Though innocent of any crime, less than twenty-four hours after He was arrested He had been spat upon, beaten, tried, condemned to death, and crucified (Matt. 26:67; John 19:1-16; Luke 23:14, 15). Soldiers gambled for His clothing (John 19:23, 24). During His crucifixion none of His bones was broken (John 19:32, 33, 36), and after He died soldiers pierced His side with a spear (John 19:34, 37).

ถึงแม้พระองค์ไม่ได้กระทำความผิดใด ภายหลังจากถูกจับตัวไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมง พระองค์ถูกถ่มน้ำลายรด ถูกเฆี่ยนตี ถูกสอบสวน ลงโทษถึงตายและถูกนำไปตรึงกางเขน (มัทธิว 26:67 ยอห์น 19:1-16 ลูกา 23:14, 15) ทหารนำฉลองพระองค์มาจับฉลาก (ยอห์น 19:23, 24) ขณะที่ถูกตรึงอยู่นั้นไม่มีกระดูกส่วนใดของพระองค์หัก (ยอห์น 19:32, 33, 36) และหลังจากสิ้นพระชนม์แล้ว ทหารได้แทงสีข้างของพระองค์ด้วยทวน (ยอห์น 19:34, 37)

Christ's followers recognized His death as the only sacrifice of avail to sinners. "God demonstrates His own love toward us, in that while we were still sinners, Christ died for us" (Rom. 5:8). "Walk in love," he wrote, "as Christ also has loved us and given Himself for us, an offering and a sacrifice to God for a sweet-smelling aroma" (Eph. 5:2).

บรรดาผู้เชื่อพระองค์ยอมรับว่าความมรณาของพระเยซูคือ เครื่องบูชาเดียวที่มีไว้เพื่อคนบาปทั้งหลาย “พระเจ้าทรงสำแดงความรักของพระองค์แก่เรา คือขณะที่เรายังเป็นคนบาปอยู่นั้น พระคริสต์สิ้นพระชนม์เพื่อเรา” (โรม 5:8) เปาโลกล่าวว่า “จงดำเนินชีวิตในความรักเช่นเดียวกับที่พระคริสต์ทรงรักเรา และประทานพระองค์เองเพื่อเรา ให้เป็นเครื่องถวายและเครื่องบูชาที่ทรงโปรดปรานแด่พระเจ้า” (เอเฟซัส 5:2)

The Time of His Ministry and Death.

The Bible reveals that God sent His Son to earth in "the fullness of the time" (Gal. 4:4). When Christ began His ministry He proclaimed, "The time is fulfilled" (Mark 1:15). These references to time indicate that the Saviour's mission proceeded in harmony with careful prophetic planning.

เวลาแห่งการประกอบพระราชกิจและความมรณา

พระคัมภีร์ได้เปิดเผยให้เห็นว่าพระเจ้าได้ประทานพระบุตรของพระองค์มาในโลก “เมื่อครบกำหนดแล้ว” (กาลาเทีย 4:4) เมื่อพระคริสต์ทรงเริ่มพระราชกิจของพระองค์นั้น ทรงประกาศว่า “เวลากำหนดมาถึงแล้ว” (มาระโก 1:15) คำอ้างอิงระบุให้รู้ว่าพระราชกิจของพระผู้ช่วยให้รอดเริ่มขึ้นและสอดคล้องตามคำพยการณ์ที่กำหนดไว้ในแผนงาน

More than five centuries earlier, through Daniel, God had prophesied the exact time of the beginning of Christ's ministry and the time of His death.1

ห้าร้อยปีก่อนหน้านี้ พระเจ้าได้ทรงพยากรณ์ผ่านดาเนียลถึงเวลาเริ่มพระราชกิจและการสิ้นพระชนม์ที่พระคริสต์ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน1

Toward the end of the 70 years of Israel's captivity in Babylon, God told Daniel that He had allocated to the Jews and the city of Jerusalem a probationary period of 70 weeks.

เมื่อสิ้นสุด 70 ปีที่คนอิสราเอลตกเป็นเชลยอยู่ในอาณาจักรบาบิโลน พระเจ้าได้แจ้งแก่ดาเนียลว่า พระองค์จะให้ชาวยิวได้กลับไปยังบ้านเมืองและสร้างกรุงเยรูซาเล็มขึ้นมาใหม่ เมื่อครบ 70 ปี ตามกำหนดเวลาแห่งการกำหนดโทษของพระเจ้าแล้ว

During this time, by repenting and preparing themselves for the Messiah's coming, the Jewish nation was to fulfill God's purposes for them.

ในระหว่างนี้ เป็นเวลาที่ทุกคนต้องกลับใจและเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรอการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ ชนชาวยิวจะเป็นผู้ทำให้พระประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จ

Daniel also wrote of "'reconciliation for iniquity'" and a bringing in of "'everlasting righteousness'" as marking this period. These Messianic activities indicate that the Saviour was to come within this time (Dan. 9:24).

ดาเนียลบันทึกไว้ด้วยว่า “เสร็จสิ้นการทรยศ ให้บาปจบสิ้น” และนำมาซึ่ง “ความชอบธรรมนิรันดร์” ซึ่งเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่านี่คือเวลานั้น พระราชกิจของพระเมสสิยาห์เป็นสิ่งบอกให้ทราบว่าพระองค์คืพระผู้ช่วยให้รอด ผู้จะเสด็จมาในเวลานี้ (ดาเนียล 9:24)

Daniel's prophecy specified that the Messiah would appear "'seven weeks and sixty-two weeks"', or a total of 69 weeks, after "'the going forth of the command to restore and build Jerusalem'" (Dan. 9:25). After the sixty-ninth week the Messiah would be "'cut off, but not for Himself'" (Dan.9:26)

คำพยากรณ์ของดาเนียลระบุไว้ชัดเจนว่าพระเมสสิยาห์จะเสด็จมาปรากฏ “เวลาเจ็ดสัปตะ” หรือเวลารวม 69 สัปดาห์ หลังจาก “เยรูซาเล็มจะถูกสร้างขึ้น” (ดาเนียล 9:25) หลังจากหกสิบเก้าสัปดาห์ พระเมสสิยาห์ (หรือผู้หนึ่งที่ถูกเจิม) ไว้จะ “ต้องถูกตัดออกและจะไม่มีอะไรสำหรับท่าน” (ดาเนียล 9:26)

—a reference to His vicarious death. He was to die in the middle of the seventieth week, bringing '" an end to sacrifice and offering'" (Dan. 9:27).

นี่คือข้ออ้างอิงที่กล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ในฐานะผู้มาตายแทนของพระองค์ เมื่อพระองค์จะต้องสิ้นพระชนม์เมื่อกำหนดครึ่งสัปดาห์มาถึง เพื่อ “กระทำให้การถวายสัตวบูชา และเครื่องบูชาอื่นๆ หยุดไป” (ดาเนียล 9:27)

The key to understanding time prophecies lies in the Biblical principle that a day in prophetic time is equivalent to a literal solar year (Num. 14:34; Eze. 4:6).2 According to this year-day principle, the 70 weeks (or 490 prophetic days) then represent 490 literal years.

กุญแจที่ไขไปสู่ความเข้าใจเวลาในคำพยากรณ์นี้มีอยู่ในพระคัมภีร์ เป็นหลักการที่ยึดถือในการตีความหมายคำพยากรณ์ หนึ่งวันเท่ากับหนึ่งปี (กันดารวิถี 14:34 เอเสเคียล 4:6)2 ตามหลักการตีความหนึ่งวันเท่ากับหนึ่งปี 70 สัปดาห์ (สัปตะหรือ 490 วันตามคำพยากรณ์) ก็เท่ากับ 490 ปี

Daniel states that this period was to begin with "'the going forth of the command to restore and build Jerusalem'" (Dan. 9:25). This decree, giving the Jews full autonomy, was issued in the seventh year of the Persian King Artaxerxes and became effective in the fall of 457 B.C. (Ezra 7:8, 12-26; 9:9).3

ดาเนียลได้ระบุไว้ว่าเวลานั้นเริ่มต้นเมื่อ “ถ้อยคำนั้นออกไป ให้สร้างกรุงเยรูซาเล็มขึ้นใหม่” (ดาเนียล 9:25) เมื่อมีการออกกฤฎีกา (กฎหมาย) ให้คนยิวมีอำนาจเต็ม ประกาศใช้ในปีที่เจ็ดสิบของพระราชาอารทาเซอร์ซิส แห่งอาณาจักรเปอร์เซีย และมีผลบังคับเมื่อฤดูใบไม้ผลิปี 457 ก่อนคริสตศักราช (เอสรา 7:8, 12-26; 9:9)3

According to the prophecy, 483 years (69 prophetic weeks) after the decree "'Messiah the Prince'" would appear. Four hundred and eighty-three years after 457 B.C. brings us to the fall of A.D. 27, when Jesus was baptized and began His public ministry.4

ตามคำพยากรณ์นี้ 483 ปี (69 สัปดาห์) หลังจากการออกกฎหมาย “สมัยผู้ถูกเจิมไว้ ผู้เป็นประมุข” (หรือพระเมสสิยาห์) จะปรากฏกาย สี่ร้อยแปดสิบสามปีหลังจากปี 457 ก่อนคริสตศักราช (ก.ค.ศ.) สิ้นสุดลงในฤดูใบไม้ร่วง ปี คริสตศักราช (ค.ศ.) 27 เมื่อพระเยซูทรงรับบัพติศมาและเริ่มพระราชกิจแก่ประชาชน4

HOME

(สุภาพ ใช้คำแปลนี้แทนภาษาอังกฤษ)

70 สัปดาห์ = 490 ปี

538/537 ก.ค.ศ. - ดาเนียล 9

7 สัปดาห์ = 49 ปี

62 สัปดาห์ = 434 ปี

1 สัปดาห์ =7 ปี (457 - 408 )

Accepting these dates of 457 B.C. and A.D. 27, Gleason Archer comments that this was "a most remarkable exactitude in the fulfillment of such an ancient prophecy. Only God could have predicted the coming of His Son with such amazing precision; it defies all rationalistic explanation."5

การยอมรับว่าปี 457 ก.ค.ศ. และ ค.ศ. 27 กลีสัน อาร์เชอร์ ได้อธิบายไว้ว่า “เป็นคำพยากรณ์ที่ตรงอย่างน่าอัศจรรย์ที่สุดของคำพยากรณ์โบราณที่สำเร็จตามนั้น มีพระเจ้าเท่านั้นผู้ทรงพยากรณ์การเสด็จมาของพระบุตรพระองค์ได้อย่างเที่ยงอย่างน่าประหลาดใจ เป็นการอธิบายทุกอย่างได้อย่างมีเหตุมีผลที่สุด”5

At His baptism in the Jordan, Jesus was anointed by the Holy Spirit and received God's recognition as the "Messiah" (Hebrew) or the "Christ" (Greek)—both meaning the "anointed one" (Luke 3:21, 22; Acts 10:38; John 1:41). Jesus' proclamation, "'the time is fulfilled'" (Mark 1:15), refers to the fulfillment of this time prophecy.

เมื่อพระเยซูทรงรับบัพติศมาที่แม่น้ำจอร์แดน พระองค์ได้รับการทรงเจิมโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์และรับการยอมรับว่าทรงเป็น “พระเมสสิยาห์” (ภาษาฮีบรู) หรือ “พระคริสต์” (ภาษากรีก) ทั้งสองคำมีความหมายเดียวกันว่า “ผู้ได้รับการเจิม” (ลูกา 3:21, 22 กิจการ 10:38 ยอห์น 1:41) พระเยซูทรงประกาศว่า “เวลากำหนดมาถึงแล้ว” (มาระโก 1:15) หมายถึงคำพยากรณ์ดังที่กล่าวมานี้สำเร็จจริงตามนั้น

In the middle of the seventieth week, in the spring of A.D. 31, exactly 3 1/2 years after Christ's baptism, the Messiah brought the system of sacrifices to an end by giving His life. At the moment of His death the veil of the Temple was supernaturally "torn in two from top to bottom" (Matt. 27:51), indicating the divine abolition of all Temple services.

ในระหว่างกลางสัปดาห์ ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 31 หรือสามปีครึ่งหลังจากที่พระคริสต์ทรงรับบัพติศมาแล้ว พระเมสสิยาห์ได้ทำให้แบบแผนการถวายบูชาที่เคยกระทำมาในอดีตสิ้นสุดลง ด้วยการยอมสละชีวิตของพระองค์ ขณะที่ทรงสิ้นพระชนม์นั้น ผ้าม่านที่กั้นในพระวิหารได้ “ฉีกขาดออกเป็นสองท่อนตั้งแต่บนตลอดล่าง” อย่างเหลือเชื่อ (มัทธิว 27:51) บ่งบอกให้ทราบว่าพระเจ้าได้ทรงล้มเลิกพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดของพระวิหารแล้ว

All the offerings and sacrifices had pointed forward to the all-sufficient sacrifice of the Messiah. When Jesus Christ, the true Lamb of God, was sacrificed at Calvary as a ransom for our sins (1 Peter 1:19), type met antitype, and shadow melded into reality. The earthly sanctuary services were no longer necessary.

เครื่องถวายบูชาทุกอย่างต่างชี้ไปที่พระเมสสิยาห์ ผู้ทรงเครื่องบูชาทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อพระเยซูคริสต์ พระเมษโปดก (ลูกแกะ) แท้ของพระเจ้าได้ถูกถวายบูชาที่ภูเขาคาลวารี เพื่อเป็นค่าไถ่แก่คนบาปทั้งหลาย (1 เปโตร 1:19)ของจริงได้มาแทนที่ของจำลองแล้ว เงาได้หายไปเมื่อตัวจริงมาแล้ว พิธีกรรมต่าง ๆ ของสถานศักดิ์สิทธิ์บนโลกไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

At the exact time prophesied during the Passover festival, He died. "Indeed," Paul said, "Christ, our Passover, was sacrificed for us" (1 Cor. 5:7).

เปาโลกล่าวว่า เมื่อถึงเวลากำหนดตามคำพยากรณ์ ในระหว่างเทศกาลปัสกานั้น พระองค์สิ้นพระชนม์ “พระคริสต์ผู้ทรงเป็นปัสกาของเราถูกถวายบูชาแล้ว” (1 โครินธ์ 5:7)

This amazingly accurate time prophecy gives one of the strongest evidences of the fundamental historic truth that Jesus Christ is the long-predicted Saviour of the world.

เวลาแห่งคำพยากรณ์ที่เกิดขึ้นตรงตามนั้นอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นหนึ่งในหลักฐานแห่งความจริงประวัติศาสตร์อันยาวนานที่สำคัญชัดเจนที่สุด ว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็พระผู้ช่วยให้รอดของโลกตามที่ได้พยากรณ์ไว้ตั้งแต่โบราณกาล

The Resurrection of the Saviour

The Bible predicted not only the Saviour's death but also His resurrection. David prophesied "that His soul was not left in Hades, nor did His flesh see corruption" (Acts 2:31; cf. Ps.16:10).

การฟื้นพระชนม์จากความตายขอพระผู้ช่วยให้รอด

พระคัมภีร์มิได้พยากรณ์ความมรณาของพระผู้ช่วยให้รอดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ได้กล่าวถึงการฟื้นพระชนม์จากความตายของพระองค์ด้วย ดาวิดได้พยากรณ์ไว้ว่า “พระเจ้าไม่ทรงละพระองค์ไว้ในแดนคนตาย ทั้งพระกายของพระองค์ ก็ไม่ทรงเปื่อยเน่าไป” (กิจการ 2:31 สดุดี 16:10)

Although Christ had raised others from the dead (Mark 5:35-42; Luke 7:11-17; John 11), His own resurrection demonstrated the power behind His claim to be Saviour of the world: "'I am the resurrection and the life. He who believes in Me, though he may die, he shall live. And whoever lives and believes in Me shall never die'" (John 11:25, 26).

ถึงแม้ว่าพระคริสต์ได้ทรงเรียกหลายคนให้ฟื้นจากความตาย (มาระโก 5:35-42 ลูกา 7:11-17 ยอห์น 11) ทว่าการฟื้นพระชนม์ของพระองค์เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงฤทธานุภาพเหนือคำกล่าวอ้างว่าพระองค์คืพระผู้ช่วยให้รอดของโลก “ว่า “เราเป็นชีวิตและการเป็นขึ้นจากตาย คนที่วางใจในเราจะมีชีวิตอีกแม้ว่าเขาจะตายไป และทุกคนที่มีชีวิตและวางใจในเราจะไม่ตายเลย” (ยอห์น 11:25, 26)

After His resurrection He proclaimed, "'Do not be afraid; I am the First and the Last. I am He who lives, and was dead, and behold, I am alive forevermore. Amen. And I have the keys of Hades and of Death'" (Rev. 1:17, 18).

หลังจากการฟื้นพระชนม์แล้ว พระองค์ทรงตรัสว่า “อย่ากลัวเลย เราเป็นเบื้องต้นและเป็นเบื้องปลาย 18เป็นผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ เราได้ตายแล้ว แต่ นี่แน่ะ เรายังดำรงชีวิตอยู่ตลอดไปเป็นนิตย์ และเราถือลูกกุญแจทั้งหลายแห่งความตายและแห่งแดนคนตาย” (วิวรณ์ 1:17, 18)

The Two Natures of Jesus Christ

In stating, "The Word became flesh and dwelt among us" (John 1:14) John set forth a profound truth. The incarnation of God the Son is a mystery. Scripture calls God's being manifested in the flesh "the mystery of godliness" (1 Tim. 3:16).

พระลักษณะสองด้านของพระเยซูคริสต์

ในถ้อยคำที่กล่าวไว้ว่า “พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา” (ยอห์น 1:14) ยอห์นได้ตั้งความจริงอันล้ำลึกยิ่งไว้ การมาเกิดเป็นมนุษย์ของพระเจ้าพระบุตรนับเป็นสิ่งล้ำลึกเกินเข้าใจ พระคัมภีร์เรียกเหตุการณ์นี้ว่า พระเจ้าทรงสำแดงพระองค์ในเนื้อหนังว่า “ความล้ำลึกแห่งความเชื่อของเรานั้นยิ่งใหญ่” (1 ทิโมธี 3:16)

The Creator of worlds, He in whom was the fullness of the Godhead, became the helpless babe in the manger. Far superior to any of the angels, equal with the Father in dignity and glory, and yet He condescended to wear the garb of humanity!

พระผู้สร้างโลกทั้งหลาย พระองค์ผู้ทรงเป็นหนึ่งในพระเจ้าทั้งสามพระภาคผู้ทรงบริบูรณ์พร้อม ได้เสด็จมาเป็นทารกผู้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ นอนอยู่ในรางหญ้า พระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่เหนือกว่าบรรดาทูตสวรรค์ ผู้ทรงมีพระเกียรติยศและพระรัศมีเท่าเทียมกับพระบิดา ถึงกระนั้นพระองค์ได้ทรงยอมถ่อมลงมารับสภาพของมนุษย์ธรรมดา

One can barely grasp the meaning of this sacred mystery, and then only by calling on the Holy Spirit for enlightenment. In trying to comprehend the incarnation it is well to remember that "'the secret things belong to the Lord our God, but those things which are revealed belong to us and to our children'" (Deut. 29:29).

น้อยคนนักสามารถเข้าใจความหมายของสิ่งล้ำลึกอันศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ นอกจากทูลขอให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงประทานความเข้าใจ เมื่อใดที่พยามเสาะหาเพื่อการหยั่งรู้ถึงการมาเกิดเป็นมนุษย์ โปรดจำไว้เสมอว่า “สิ่งลี้ลับทั้งปวงเป็นของพระยาห์เวห์พระเจ้าของเราทั้งหลาย แต่สิ่งที่ทรงสำแดงนั้นเป็นของเราทั้งหลายและของลูกหลานของเราเป็นนิตย์” (เฉลยธรรมบัญญัติ 29:29)

Jesus Christ Is Truly God.

What is the evidence that Jesus Christ is divine? How did He perceive Himself? Did people recognize His divinity?

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้าแท้

มีอะไรเป็นหลักฐานทำให้เห็นชัดว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า พระองค์ทรงเข้าใจว่าพระองค์คือใคร คนทั้งหลายยอมรับความเป็นพระเจ้าของพระองค์หรือไม่

1. His divine attributes.

Christ possesses divine attributes. He is omnipotent. He said the Father has given Him "'all authority . . . in heaven and on earth'" (Matt. 28:18; John 17:2).

1. สภาพความเป็นพระเจ้าของพระองค์

พระคริสต์ทรงมีคุณสมบัติความเป็นพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นองค์ผู้ทรงสรรพานุภาพ (มีอำนาจไม่มีสิ้นสุด) ทรงตรัสว่าพระบิดาได้ทรง ตรัสว่า “สิทธิอำนาจทั้งหมดในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว” (มัทธิว 28:18 ยอห์น 17:2)

He is omniscient. In Him, Paul said, "are hidden all the treasures of wisdom and knowledge" (Col. 2:3). Jesus asserted His omnipresence with the assurances "'Lo, I am with you always, even to the end of the age'" (Matt. 28:20) and "'Where two or three are gathered together in My name, I am there in the midst of them'" (Matt. 18:20).

พระองค์ทรงเป็นองค์สรรพัญญู (รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง) เปาโลกล่าวว่า ในพระองค์ “คลังสติปัญญาและความรู้ทุกอย่างซ่อนอยู่” (โคโลสี 2:3) พระเยซูทรงอ้างสิทธิ์ว่าทรงเป็นองค์สากลสถิต (ประทับอยู่ทุกหนแห่ง) โดยทรงให้ความั่นใจว่า “นี่แน่ะ เราจะอยู่กับท่านทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นยุค” (มัทธิว 28:20) และ “เพราะว่ามีสองสามคนประชุมกันที่ไหนในนามของเรา เราจะอยู่ท่ามกลางพวกเขาที่นั่น” (มัทธิว 18:20)

Although His divinity has the natural ability of omnipresence, the incarnate Christ has voluntarily limited Himself in this respect. He has chosen to be omnipresent through the ministry of the Holy Spirit (John 14:16-18).

ถึงแม้ว่าความเป็นพระเจ้าของพระองค์ทำให้ทรงมีความสามารถสถิตอยู่ที่ไหนก็ได้ การอาสาเสด็จลงมาเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสต์ ทำให้พระองค์ทรงจำกัดอำนาจนี้ลง พระองค์ทรงเลือกเป็นองค์สากลสถิตโดยพระราชกิจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (ยอห์น 14:16-18)

Hebrews attests to His immutability, stating, "Jesus Christ is the same yesterday, today, and forever" (Heb. 13:8). His self-existence was evident when He claimed life in Himself (John 5:26)

พระธรรมฮีบรูได้เป็นพยานพิสูจน์ให้เห็นฤทธิ์อำนาจที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นี้ ด้วยการระบุว่า “พระเยซูคริสต์ทรงเหมือนเดิมทั้งวานนี้ และวันนี้ และตลอดไปเป็นนิตย์” (ฮีบรู 13:8) การทรงดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง (มีชีวิตอยู่โดยไม่ได้ถูกสร้าง) มีให้เห็นอย่างชัดเจนเมื่อทรงอ้างว่าทรงเป็นชีวิต (ยอห์น 5:26)

and John testified "In Him was life, and the life was the light of men" (John 1:4). Christ's announcement "'I am the resurrection and the life'" (John 11:25) affirmed that in Him is "life, original, unborrowed, underived."6

ยอห์นได้พิสูจน์ว่า “พระองค์ทรงเป็นแหล่งชีวิตและชีวิตนั้นเป็นความสว่างของมนุษย์ ” (ยอห์น 1:4) พระคริสต์ทรงประกาศว่า “เราเป็นชีวิตและการเป็นขึ้นจากตาย” (ยอห์น 11:25) ยืนยันว่าในพระองค์ทรง “เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิต ไม่ได้ขอยืมมาจากไหน ไม่ได้มาจากที่อื่นใด”6

Holiness is a part of His nature. At the annunciation, the angel said to Mary, "'The Holy Spirit will come upon you, and the power of the Highest will overshadow you; therefore, also, that Holy One who is to be born will be called the Son of God'" (Luke 1:35).

พระลักษณะอีกอย่างหนึ่งของพระองค์คือ ทรงเป็นองค์บริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ ทูตสวรรค์ได้ประกาศแก่มารีย์ว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จลงมาเหนือเธอ และฤทธิ์เดชของผู้สูงสุดจะปกเธอ เพราะฉะนั้นองค์บริสุทธิ์ที่เกิดมานั้นจะได้ชื่อว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้า” (ลูกา 1:35)

At the sight of Jesus demons cried out, "'Let us alone! . . . I know who You are—the Holy One of God'" (Mark 1:24).

เมื่อฝีร้ายที่เข้าสิงในคนเห็นพระเยซู มันร้องขึ้นว่า “พระองค์มายุ่งกับเราทำไม....ข้ารู้ว่าพระองค์เป็นใคร พระองค์เป็นองค์บริสุทธิ์ของพระเจ้า” (มาระโก 1:24)

He is love. "By this we know love," John wrote, "because He laid down His life for us" (1 John 3:16).

พระองค์ทรงเป็นความรัก ยอห์นกล่าวว่า “เช่นนี้แหละเราจึงรู้จักความรัก โดยที่พระองค์ได้ทรงยอมสละพระชนม์ของพระองค์เพื่อเรา” (ยอห์น 3:16)

He is eternal. Isaiah called Him "Everlasting Father" (Isa. 9:6). Micah referred to Him as the One "'whose goings forth have been from of old, from everlasting'" (Micah 5:2).

พระองค์ทรงเป็นนิรันดร์ อิสยาห์เรียกพระองค์ว่า “พระบิดานิรันดร์” (อิสยาห์ 9:6) มีคาห์กล่าวถึงพระองค์ว่าทรงเป็นผู้ “ดั้งเดิมของท่านมาจากสมัยเก่า จากสมัยโบราณกาล” (มีคาห์ 5:2)

Paul dated His existence "before all things" (Col. 1:17), and John concurred: "He was in the beginning with God. All things were made through Him, and without Him nothing was made that was made" (John 1:2, 3).7

เปาโลบอกถึงเวลาการดำรงอยู่ของพระองค์ว่า “ทรงดำรงอยู่ก่อนทุกสิ่ง” (โคโลสี 1:17) และยอห์นเห็นพ้องว่า “ในปฐมกาลพระองค์ทรงอยู่กับพระเจ้า พระเจ้าทรงสร้างสรรพสิ่งขึ้นมาโดยพระวาทะ ในบรรดาสิ่งที่เป็นอยู่นั้น ไม่มีสักสิ่งเดียวที่เป็นอยู่นอกเหนือพระวาทะ” (ยอห์น 1:2, 3)7

2. His divine powers and prerogatives.

The works of God are ascribed to Jesus. He is identified as both the Creator (John 1:3; Col. 1:16) and the Sustainer or Upholder—"in Him all things consist" (Col. 1:17; Heb. 1:3).

2. ฤทธิ์อำนาจความเป็นพระเจ้าและราชอำนาจพิเศษ

พระราชกิจต่าง ๆ ของพระเจ้าแสดงให้เห็นว่าพระเยซูทรงเป็นพระผู้สร้าง (ยอห์น 1:3 โคโลสี 1:16) และผู้ทรงผดุงทุกสิ่งไว้ “ทุกสิ่งถูกยึดเข้าด้วยกันโดยพระองค์ (โคโลสี 1:17 ฮีบรู 1:3)

He is able to raise the dead with His voice (John 5:28, 29) and will judge the world at the end of time (Matt. 25:31, 32). He forgave sin (Matt. 9:6; Mark 2:5-7).

พระองค์ทรงสามารถเรียกคนตายให้ฟื้นด้วยพระสุรเสียงของพระองค์ (ยอห์น 5:28, 29) และเมื่อถึงวาระสุดท้ายพระองค์จะทรงพิพากษาโลกนี้ (มัทธิว 25:31, 32) พระองค์ทรงอภัยบาป (มัทธิว 9:6 มาระโก 2:5-7)

3. His divine names.

His names reveal His divine nature. Immanuel means "God with us" (Matt. 1:23). Both believers and demons addressed Him as Son of God (Mark 1:1; Matt. 8:29; cf. Mark 5:7).

3. พระนามแห่งพระเจ้าของพระองค์

พระนามต่างๆ ของพระองค์แสดงให้เห็นถึงพระลักษณะความเป็นพระเจ้าของ

พระองค์ อิมมานูเอล หมายถึง “พระเจ้าสถิตกับเรา” (มัทธิว 1:23) ทั้งคนที่เชื่อและผีร้ายต่างเรียกพระองค์ว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้า (มาระโก 1:1 มัทธิว 8:29 มาระโก 5:7)

The sacred Old Testament name of God, Jehovah, or Yahweh, is applied to Jesus. Matthew used the words of Isaiah 40:3, "'Prepare the way of the Lord,'" to describe the preparatory work for Christ's mission (Matt. 3:3). And John identified Jesus with the Lord of hosts sitting on His throne (Isa. 6:1, 3; John 12:41).

พระเยโฮวาห์หรือยาห์เวย์ พระนามอันบริสุทธิ์ของพระเจ้าในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ได้นำมาใช้เป็น พระเยซู มัทธิวใช้ถ้อยคำของอิสยาห์ 40:3 ว่า “จงเตรียมมรรคา[ คำราชาศัพท์หมายถึง ทาง ] แห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า[ หมายถึง พระเจ้า ]” บรรยายถึงการเตรียมงานไว้เพื่อพระราชกิจของพระคริสต์ (มัทธิว 3:3) และยอห์นได้ชี้ให้เห็นว่าพระเยซูและพระเจ้าจอมโยธาทรงประทับบนพระที่นั่ง (อิสยาห์ 6:1, 3 ยอห์น 12:41)

4. His divinity acknowledged.

John depicted Jesus as the divine Word that "became flesh" (John 1:1, 14). Thomas acknowledged the resurrected Christ as "'My Lord and my God!'" (John 20:28).

4. การยอมรับความเป็นพระเจ้า

ยอห์นได้ฉายภาพให้เห็นพระเยซูในฐานะพระวาทะของพระเจ้า “พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์” (ยอห์น 1:1, 14) โธมัสยอมรับว่าพระคริสต์ผู้ทรงเป็นขึ้นมาจากความตายว่า “ “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์” (ยอห์น 20:28)

Paul referred to Him as the One "who is over all, the eternally blessed God" (Rom. 9:5); and Hebrews addressed Him as God and Lord of Creation (Heb. 1:8, 10).8

เปาโลกล่าวถึงพระองค์ว่าทรงเป็น “เป็นพระเจ้า เหนือสารพัดเป็นนิตย์” (โรม 9:5) และพระธรรมฮีบรูกล่าวถึงพระองค์ว่าทรงเป็นพระเจ้าและองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสร้าง (ฮีบรู 1:8, 10)8

5. His personal testimony.

Jesus Himself claimed equality with God. He identified Himself as the "'I AM'" (John 8:58), the God of the Old Testament. He called God "'My Father'" instead of "our Father" (John 20:17).

5. คำพยานของพระเยซูเอง

พระเยซูเองทรงอ้างถึงความมีคุณสมบัติของพระเจ้าในตัวพระองค์เอง พระองค์ทรงถือว่าทรงเป็นเสมือน องค์ “เราเป็น” (ยอห์น 8:58) พระเจ้าแห่งพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม พระองค์ทรงเรียกพระเจ้าว่า “พระบิดาของเรา” (หรือพระบิดาของฉัน) แทนที่จะเรียกว่า “พระบิดาของเราทั้งหลาย” (ยอห์น 20:17)

And His statement "'I and My Father are one'" (John 10:30) sets forth the claim that He was of "one substance" with the Father, "possessing the same attributes."9

และถ้อยคำที่ตรัสว่า “เรา (ฉัน) กับพระบิดาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” เป็นการกล่าวอ้างให้เห็นว่าพระองค์ทรง “หนึ่งใน” องค์พระบิดา (เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระบิดา) “มีคุณลักษณะเช่นเดียวกัน” (กับพระบิดา)9

6. His equality with God assumed.

His equality with God the Father is taken for granted in the baptismal formula (Matt. 28:19), the full apostolic benediction (2 Cor.13:14), His parting counsel (John 14-16), and Paul's exposition of the spiritual gifts (1 Cor. 12:4-6).

6. พระองค์ทรงแสดงตนว่ามีความเท่าเทียมกับพระเจ้า

ความเท่ามเทียมกับพระเจ้าพระบิดาของพระเยซูทรงประกาศเมื่อทรงบอกให้นำคนมารับบัพติศมา (มัทธิว 28:19) ในคำอำนวยพรของอัครทูต (2 โครินธ์ 13:14) ในคำแนะนำของพระองค์ (ยอห์น บทที่ 14-16) และคำพรรณนาของเปาโลเกี่ยวกับของประทานฝ่ายจิตวิญญาณ (1 โครินธ์ 12:4-6)

Scripture describes Jesus as the brightness of God's glory and "the express image of His person" (Heb. 1:3). And when asked to reveal God the Father, Jesus replied, "'He who has seen Me has seen the Father'" (John 14:9).

พระคัมภีร์ได้บรรยายไว้ว่าพระเยซูทรงเป็นความสว่างแห่งพระสิริของพระเจ้าว่า “พระบุตรทรงเป็นแสงสว่างแห่งพระสิริของพระเจ้า” (ฮีบรู 1:3) เมื่อมีผู้ทูลขอให้ทรงสำแดงพระบิดา พระเยซูทรงตอบว่า “คนที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา” (ยอห์น 14:9)

7. He is worshiped as God.

People worshiped Him (Matt. 28:17; cf. Luke 14:33). "'All the angels of God worship Him'" (Heb. 1:6). Paul wrote that "at the name of Jesus every knee should bow, . . . and that every tongue should confess that Jesus Christ is Lord" (Phil. 2:10, 11). Several benedictions accord to Christ the "glory forever and ever" (2 Tim. 4:18; Heb. 13:21; cf. 2 Peter 3:18).

7. พระองค์ทรงได้รับการนมัสการเช่นพระเจ้า

ประชาชนนมัสการพระองค์ (มัทธิว 28:17 ลูกา 14:33) “เพื่อที่ว่าเพราะพระนามของพระเยซูนั้น ทุกชีวิต[ ภาษากรีกแปลตรงตัวว่า ทุกเข่า ...เพื่อที่ว่าทุกลิ้นจะยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า” (ฟีลิปปี 2:10, 11) ในคำอำนวยพรหลายครั้งมีการนำเอาพระนามพระคริสต์เพื่อการยกย่องว่า “ขอพระสิริมีแด่พระองค์สืบๆไปชั่วนิตย์นิรันดร์” (2 ทิโมธี 4:18 ฮีบรู 13:21; 2 เปโตร 3:18)

8. His divine nature a necessity.

Christ reconciled humanity to God. People needed a perfect revelation of God's character in order to develop a personal relationship with Him. Christ filled this need by displaying God's glory (John 1:14).

8. ความจำเป็นที่พระองค์ต้องมีสภาพของพระเจ้า

พระคริสต์ทรงนำเอามนุษย์ทั้งหลายคืนดีกับพระเจ้า มนุษย์จำเป็นต้องเห็นการเปิดพระลักษณะอันสมบูรณ์แบบของพระเจ้า เพื่อเขาจะได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระองค์ได้ พระคริสต์ทรงเติมความต้องการนี้ให้เต็ม ด้วยการสำแดงพระสิริของพระเจ้า (ยอห์น 1:14)

"No one has seen God at any time. The only begotten Son, who is in the bosom of the Father, He has declared Him" (John 1:18; cf.17:6). Jesus testified, "'He who has seen Me has seen the Father'" (John 14:9).

“ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย แต่พระบุตรองค์เดียวผู้สถิตในพระทรวงของพระบิดา ทรงสำแดงพระเจ้าแล้ว” (ยอห์น 1:18; 17:6) พระเยซูทรงเป็นพยานว่า “คนที่ได้เห็นเราก็ได้เห็นพระบิดา” (ยอห์น 14:9)

In total dependence on the Father (John 5:30) Christ used divine power to reveal God's love. With divine power He revealed Himself as the loving Saviour sent by the Father to heal, restore, and forgive sins (Luke 6:19; John 2:11; 5:1-15, 36; 11:41-45; 14:11; 8:3-11).

ในการวางใจพึ่งพาพระบิดา (ยอห์น 5:30) พระคริสต์ทรงใช้ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าเพื่อเปิดเผยให้เห็นความรักของพระเจ้าพระบิดา การใช้ฤทธิ์อำนาจนี้ทำให้พระเยซูแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็พระผู้ช่วยให้รอดผู้ทรงรักเรา ผู้ที่พระบิดาทรงส่งมาเพื่อรักษาเราให้หาย เพื่อนำกลับคืนและเพื่ออภัยบาป (ลูกา 6:19 ยอห์น 2:11; 5:1-15, 36; 11:41-45; 14:11; 8:3-11)

Never, however, did He perform a miracle to spare Himself from the personal hardship and sufferings that other people would have experienced if placed in similar circumstances. Jesus Christ is "one in nature, in character, in purpose" with God the Father. 10 He truly is God.

อย่างไรก็ตาม เมื่อตกอยู่ในสภาพที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ พระเยซูไม่เคยกระทำการอัศจรรย์เพื่อให้พระองค์พ้นจากความทุกข์ยากหรือปัญหาใดๆ ที่มนุษย์คนอื่นต้องได้รับ พระเยซูคริสต์จึง “พระลักษณะ พระอุปนิสัยและพระประสงค์เดียวกันกับพระเจ้าพระบิดา”10

Jesus Christ Is Truly Man.

The Bible testifies that in addition to His divine nature, Christ has a human nature. The acceptance of this teaching is crucial. Every one who "confesses that Jesus Christ has come in the flesh is of God" and every one who does not "is not of God" (1 John 4:2, 3).

พระเยซูคริสต์ทรงเป็นมนุษย์แท้

พระคัมภีร์เป็นพยานเพิ่มเติมจากความเป็นพระเจ้าของพระองค์ ว่าพระคริสต์ทรงมีสภาพความเป็นมนุษย์ การยอมรับเอาคำสอนของพระองค์จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด ด้วยว่า “วิญญาณทุกดวงที่ยอมรับว่าพระเยซูคริสต์ได้เสด็จมาเป็นมนุษย์ วิญญาณนั้นก็มาจากพระเจ้า และวิญญาณทุกดวงที่ไม่ยอมรับพระเยซู วิญญาณนั้นก็ไม่ได้มาจากพระเจ้า” (1 ยอห์น 4:2, 3)

Christ's human birth, development, characteristics, and personal testimony provide evidence of His humanity.

การมาเกิดเป็นมนุษย์ของพระคริสต์ การเติบโตขึ้น พระลักษณะนิสัยและคำพยานส่วนตัวของพระองค์ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนถึงความเป็นมนุษย์ของพระองค์

1. His human birth.

"The Word became flesh and dwelt among us" (John 1:14). Here "flesh" means "human nature," a nature inferior to His heavenly one. In plain language Paul says, "God sent forth His Son, born of a woman" (Gal. 4:4; cf. Gen. 3:15).

1. การประสูติเป็นมนุษย์ของพระองค์

"พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา” (ยอห์น 1:14) ในที่นี้คำว่า “มนุษย์” (หรือเนื้อหนัง) หมายถึงลักษณะความเป็นคน ซึ่งมีความด้อยกว่าสภาพของพระองค์เมื่ออยู่บนสวรรค์ เปาโลกล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยภาษาง่ายๆ ว่า “พระเจ้าก็ทรงใช้พระบุตรของพระองค์มา ประสูติจากสตรีเพศ” (กาลาเทีย 4:4 ดูปฐมกาล 3:15)

Christ was made in "the likeness of men" and "in human form" (Phil. 2:7, 8, RSV). This manifestation of God in human nature is "the mystery of godliness" (1 Tim. 3:16).

พระคริสต์ทรง “สละพระองค์เองและทรงรับสภาพทาส ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์ และทรงปรากฏอยู่ในสภาพมนุษย์” (ฟีลิปปี 2:7, 8) การเปิดเผยให้เห็นความเป็นพระเจ้าในร่างของมนุษย์นี้ทำให้เห็นว่า “ความล้ำลึกแห่งความเชื่อของเรานั้นยิ่งใหญ่” (1 ทิโมธี 3:16)

Christ's genealogy refers to Him as "the Son of David," and "the Son of Abraham" (Matt. 1:1). According to His human nature He "was born of the seed of David" (Rom.1:3; 9:5) and was the "Son of Mary" (Mark 6:3).

ในลำดับพงศ์พันธุ์ของพระคริสต์ได้บ่งบอกว่าพระองค์ทรงเป็น “บุตรของดาวิด” และ “บุตรของอับราฮัม” (มัทธิว 1:1) ดังนั้น ในความเป็นมนุษย์ของพระองค์ พระเยซูจึง “ทรงบังเกิดมาโดยสืบเชื้อสายจากดาวิดทางฝ่ายเนื้อหนัง” (โรม 1:3; 9:5) และทรงเป็น “ลูกของมารีย์” (มาระโก 6:3)

Though He was born of a woman as is every other child, there was a great difference, a uniqueness. Mary was a virgin, and this Child was conceived of the Holy Spirit (Matt. 1:20-23; Luke 1:31-37). He could claim true humanity through His mother.

ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงเกิดมาจากหญิงดังเช่นเด็กทุกคน แต่การมาประสูติของพระองค์นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เป็นการเกิดที่พิเศษสุด มารีย์เป็นหญิงพรหมจารี และทารกผู้นี้ได้ถือกำเนิดในครรภ์ของเธอโดยเดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (มัทธิว 1:20-23 ลูกา 1:31-37) ดังนั้น พระเยซูจึงทรงสามารถอ้างความเป็นมนุษย์แท้จากการมาเกิดในครรภ์มารดาของพระองค์

2. His human development.

Jesus was subject to the laws of human development; He "grew and became strong in spirit, filled with wisdom" (Luke 2:40, 52).

2. พัฒนาการอย่างเดียวกับมนุษย์

ในการเติบโตฝ่ายร่างกาย พระเยซูทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ชีวิตเดียวกับมนุษย์ทุกคน พระองค์ทรง “พระกุมารนั้นก็เจริญวัยแข็งแรงขึ้น เต็มเปี่ยมด้วยสติปัญญา และพระคุณของพระเจ้าอยู่กับท่าน” (ลูกา 2:40, 52)

At the age of 12 He became aware of His divine mission (Luke 2:46-49). Throughout His boyhood He was subject to His parents (Luke 2:51).

เมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ทรงทราบดีถึงพระราชกิจความเป็นพระเจ้าของพระองค์ (ลูกา 2:46-49) ตลอดเวลาของความเป็นเด็ก พระเยซูทรงยอมอยู่ใต้การดูแลของบิดามารดา (ลูกา 2:51)

The road to the cross was one of constant growth through suffering, which played an important role in His development. "He learned obedience by the things which He suffered. And having been perfected, He became the author of eternal salvation to all who obey" (Heb. 5:8, 9; 2:10, 18). Yet though He experienced development, He did not sin.

หนทางไปสู่ไม้กางเขนคือหนึ่งในการเจริญขึ้นผ่านความทุกข์ยากแสนสาหัส ซึ่งได้มีผลต่อการเจริญขึ้นของพระองค์อย่างสำคัญ “ถึงแม้ว่าพระองค์เป็นพระบุตร พระองค์ก็ทรงเรียนรู้ที่จะเชื่อฟังโดยการทนทุกข์ต่างๆ เมื่อพระเจ้าทรงทำให้พระเยซูเพียบพร้อมแล้ว พระเยซูจึงทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งความรอดนิรันดร์สำหรับทุกคนที่เชื่อฟังพระองค์” (ฮีบรู 5:8, 9; 2:10, 18) ถึงแม้พระองค์ได้รับประสบการณ์ในการพัฒนาขั้นต่าง ๆ ของความเป็นมนุษย์อย่างไรก็ตาม พระเยซูก็หาได้ผิดบาปไม่

3. He was called a "man."

John the Baptist and Peter refer to Him as "a Man" (John 1:30; Acts 2:22). Paul speaks of "the grace of the one Man, Jesus Christ" (Rom. 5:15).

3. พระองค์ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “มนุษย์”

ยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาและเปโตรกล่าวถึงพระองค์ว่า “ผู้หนึ่ง” (หรือ “มนุษย์คนหนึ่ง”) (ยอห์น 1:30 กิจการ 2:22) เปาโลกล่าวว่า “ของประทานโดยพระคุณของพระองค์ (หรือมนุษย์) ผู้เดียวนั้น คือพระเยซูคริสต์” (โรม 5:15)

He is the "Man" who brought "the resurrection of the dead" (1 Cor. 15:21); the "one Mediator between God and men, the Man Christ Jesus" (1 Tim. 2:5). In addressing His enemies, Christ refers to Himself as Man: "You seek to kill Me, a Man who has told you the truth which I heard from God" (John 8:40).

พระองค์คือ “มนุษย์” คนหนึ่ง ผู้นำเอา “การเป็นขึ้นจากความตายก็เกิดขึ้นโดยมนุษย์คนหนึ่ง” มาให้เรา (1 โครินธ์ 15:21) ทรงเป็น “คนกลางก็มีแต่เพียงผู้เดียวระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ คือพระเยซูคริสต์ผู้ทรงสภาพมนุษย์” (1 ทิโมธี 2:5) เมื่อพระองค์ทรงกล่าวต่อบรรดาศัตรู พระคริสต์ทรงเรียกพระองค์เองว่าเป็นมนุษย์ “พวกท่านหาโอกาสฆ่าเราซึ่งเป็น (มนุษย์คนหนึ่ง) ผู้บอกท่านถึงสัจจะที่เราได้ยินมาจากพระเจ้า” (ยอห์น 8:40)

Jesus' favorite self-designation, one He used 77 times, was "Son of Man" (cf. Matt. 8:20; 26:2). The title Son of God focuses the attention on His relationship within the Godhead. The name Son of man emphasizes His solidarity with the human race through His incarnation.

พระเยซูทรงนิยมใช้ชื่อที่เรียกตัวของพระองค์เองว่า “บุตรมนุษย์” ถึง 77 ครั้ง (ดูตัวอย่างในมัทธิว 8:20; 26:2) นาม “บุตรมนุษย์” นี้เน้นความสนใจไปที่ความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระเจ้าทั้งสามพระภาค พระนาม “บุตรมนุษย์” ยังเน้นไปที่ความเป็นหนึ่งเดียวกับเชื้อสายมนุษย์อื่น ๆ จากการที่พระองค์ทรงมาเกิดเป็นมนุษย์

4. His human characteristics.

God made humans "a little lower than the angels" (Ps. 8:5). Similarly Scripture presents Jesus as One "who was made a little lower than the angels" (Heb. 2:9). His human nature was created and did not possess superhuman powers.

4. สภาพความเป็นมนุษย์ของพระองค์

พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ “ให้ต่ำกว่า พระเจ้าแต่หน่อยเดียว” (สดุดี 8:5) ลักษณะเดียวกันนี้พระคัมภีร์ชี้ให้เห็นว่า “พระเยซู ผู้ที่พระองค์ทรงทำให้ต่ำกว่าพวกทูตสวรรค์เพียงชั่วระยะหนึ่ง” (ฮีบรู 2:9) พระลักษณะความเป็นมนุษย์ของพระองค์ที่ได้รับการสร้างขึ้นนั้นไม่ได้มีอำนาจเหนือมนุษย์คนอื่นเลย

Christ was to be truly human; this was part of His mission. Being so required that He possess the essential characteristics of human nature He was "flesh and blood" (Heb. 2:14).

พระคริสต์จึงเป็นมนุษย์แท้ นี่คือส่วนหนึ่งของพระราชกิจของพระองค์ ที่มีข้อกำหนดว่าพระองค์จะต้องรับสภาพต่าง ๆ ตามลักษณะธรรมชาติสำคัญเฉกเช่นมนุษย์ทุกคน พระองค์ทรง “มีเลือดและเนื้อเช่นกัน” กับเรา (ฮีบรู 2:14)

"In all things," Christ was made "like" His fellow human beings (Heb. 2:17). His human nature possessed the same mental and physical susceptibilities as the rest of humanity: hunger, thirst, weariness, and anxiety (Matt. 4:2; John 19:28; 4:6; cf. Matt. 26:21; 8:24).

ดังนั้น “พระองค์จึงต้องเป็นเหมือนกับพี่น้อง (มนุษย์) ทุกอย่าง” (ฮีบรู 2:17) สภาพความเป็นมนุษย์ที่พระองค์มีจึงเหมือนกันทั้งด้านจิตใจและสภาพร่างกายที่มีความอ่อนไหวเช่นเดียวกับมนุษย์ทุกคนในโลก มีความหิว กระหาย เหนื่อยล้าและกังวลใจ (มัทธิว 4:2 ยอห์น 19:28; 4:6 ดูมัทธิว 26:21; 8:24)

In His ministry to others He revealed compassion, righteous anger, and grief (Matt. 9:36; Mark 3:5). At times He felt troubled, and sorrowful, and He even wept (Matt. 26:38; John 12:27; 11:33, 35; Luke 19:41).

ในการรับใช้คนทั้งหลาย พระองค์ได้ทรงแสดงออกถึงพระเมตตา ความโกรธอันชอบธรรมและทรงเศร้าพระทัย (มัทธิว 9:36 มาระโก 3:5) หลายครั้งที่ทรงรู้สึกเป็นทุกข์ และโศกเศร้าหรือแม้กระทั่งทรงกรรแสง (ร้องไห้) (มัทธิว 26:38 ยอห์น 12:27; 11:33, 35 ลูกา 19:41)

He prayed with cries, and tears, once to the point of perspiring blood (Heb. 5:7; Luke 22:44). His life of prayer expressed His complete dependence on God (Matt. 26:39-44; Mark 1:35; 6:46; Luke 5:16; 6:12).

พระองค์ทรงอธิษฐานด้วยการร้องไห้และด้วยน้ำตาไหล ครั้งหนึ่งถึงกับหลั่งพระเสโท (เหงื่อ) ออกมาเป็นเลือด (ฮีบรู 5:7 ลูกา 22:44) ชีวิตอธิษฐานของพระองค์แสดงออกให้เห็นว่าทรงพึ่งพาพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง (มัทธิว 26:39-44 มาระโก 1:35; 6:46 ลูกา 5:16; 6:12)

Jesus experienced death (John 19:30, 34). He was resurrected, not as a spirit, but with a body (Luke 24:36-43).

พระเยซูทรงผ่านประสบการณ์ความตาย (ยอห์น 19:30, 34) พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย ไม่ใช่วิญญาณ แต่เป็นขึ้นมามีร่างกาย (ลูกา 24:36-43)

5. The extent of His identification with human nature.

The Bible reveals that Christ is the second Adam, He lived "in the likeness of sinful flesh" or "in the likeness of sinful man" (Rom. 8:3; 8:3, NIV).

5. การพิสูจน์พระองค์ว่ามีสภาพมนุษย์ที่ขยายให้เห็นมากขึ้น

พระคัมภีร์เปิดเผยให้เห็นว่าพระคริสต์ทรงเป็นอาดัมคนที่สอง พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่ “ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป” (โรม 8:3)

To what extent did He identify with or become identical to fallen humanity? A correct view of the expression "the likeness of sinful flesh," or sinful man, is crucial. Inaccurate views have brought dissension and strife throughout the history of the Christian church.

พระองค์ทรงพิสูจน์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์มากกว่านี้อย่างไร ความคิดเห็นที่ถูกต้องของ “ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป” หรือสภาพของมนุษย์คนบาป นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้องได้นำไปสู่ความแตกแยกและการถกเถียงรุนแรงในคริสตจักรของคริสตเตียนตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา

a. He was "in the likeness of sinful flesh."

The uplifted serpent in the desert, described earlier, provides an understanding of Christ's human nature. the brass image made in the likeness As the poisonous serpents was lifted up for the people's healing, so the Son of God made "in the likeness of sinful flesh" was to be the Saviour of the world.

ก. พระองค์ “ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป”

การยกงูขึ้นในป่ากันดาร ที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ทำให้เราได้รับความเข้าใจถึงสภาพความเป็นมนุษย์ของพระเยซู งูทองสัมฤทธิ์ที่สร้างขึ้นเหมือนกับงูพิษ ได้ถูกยกขึ้นเพื่อการรักษาคนทั้งหลายอย่างไร พระบุตรของพระเจ้าก็ทรงอยู่ “ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป” คือผู้มาเป็พระผู้ช่วยให้รอดของโลก

Before the incarnation Jesus was "in the form of God," that is to say the divine nature was His from the beginning (John 1:1; Phil. 2:6, 7 NIV, NEB). In taking the "form of a servant" He laid aside divine prerogatives. He became His Father's servant (Isa. 42:1), to carry out the Father's will (John 6:38; Matt. 26:39, 42).

ก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์นั้นพระเยซูทรงมี “สภาพของพระเจ้า” ซึ่งกล่าวได้ว่า พระสภาพความเป็นพระเจ้าของพระองค์ทรงมีมาตั้งแต่ปฐมกาล (ยอห์น 1:1 ฟิลิปปี 2:6, 7) ในการรับเอา “สภาพทาส” พระองค์ได้ทรงวางสิทธิพิเศษความเป็นพระเจ้าไว้ จากนั้นเสด็จมาเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า (อิสยาห์ 42:1) เพื่อทำตามพระประสงค์ของพระบิดาของพระองค์ (ยอห์น 6:38 มัทธิว 26:39, 42)

He clothed His divinity with humanity, He was made in the "likeness of sinful flesh," or "sinful human nature," or "fallen human nature," (cf. Rom. 8:3).11

พระองค์ทรงเป็นมนุษย์ผู้ปกคลุมด้วยความเป็นพระเจ้า พระองค์ทรงเกิดมา “ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป” หรือในสภาพ “มนุษย์ผู้เป็นคนบาป” (โรม 8:3)11

This in no way indicates that Jesus Christ was sinful, or participated in sinful acts or thoughts. Though made in the form or likeness of sinful flesh, He was sinless and His sinlessness is beyond questioning.

นี่จึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่าพระเยซูไม่มีบาปเลย หรือมีส่วนร่วมในการทำบาปหรือคิดทำบาปเลย ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงถูกสร้างขึ้นมามีร่างกายเหมือนกับมนุษย์คนบาป พระองค์กลับไม่มีบาป จึงไม่มีคำถามว่าพระองค์ทรงมีความเป็นคนบาปหรือไม่

b. He was the second Adam.

The Bible draws a parallel between Adam and Christ, calling Adam the "first man" and Christ the "last Adam" or "second Man" (1 Cor.15:45, 47).

ข. พระองค์ทรงเป็นอาดัมคนที่สอง

พระคัมภีร์ได้ฉายภาพคู่ขนานระหว่าง อาดัมและพระคริสต์ เรียกอาดัมว่า “มนุษย์คนแรก” และพระคริสต์ทรงเป็น “อาดัมสุดท้าย” หรือ “มนุษย์คนที่สอง” (1 โครินธ์ 15:45, 47)

But Adam had the advantage over Christ. At the Fall he lived in paradise. He had a perfect humanity possessing full vigor of body and mind.

แต่อาดัมได้เปรียบพระเยซู เมื่อครั้งที่เขาหลงทำผิดบาปนั้นเขาอยู่ในสวนสวรรค์ (เอเดน) เขามีชีวิตที่สมบูรณ์แบบทุกประการ ทั้งร่างกายและจิตใจ

Not so with Jesus. When He took on human nature the race had already deteriorated through 4, 000 years of sin on a sin-cursed planet. So that He could save those in the utter depths of degradation, Christ took a human nature that, compared with Adam's unfallen nature, had decreased in physical and mental strength—though He did so without sinning.12

ส่วนพระเยซูไม่เป็นอย่างนั้น เมื่อพระองค์ทรงรับสภาพของมนุษย์นั้น ทุกสิ่งของมนุษย์ได้เสื่อมถอยมาแล้วกว่า 4,000 ปี เพราะผลแห่งคำแช่งสาปของบาปที่มีต่อโลก ดังนั้น พระองค์จึงสามารถช่วยเหลือบรรดาผู้ตกต่ำในที่ลึกของความเสื่อมถอยได้ พระคริสต์ทรงรับเอาสภาพลักษณะตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกอย่าง พระองค์จึงมีสภาพเหมือนกับอาดัมเมื่อครั้งที่ยังไม่มีบาป ถึงแม้ว่าสภาพร่างกายและจิตใจของพระองค์อยู่ในสภาพที่ถดถอยตามสภาพมนุษย์ทั่วไป ถึงกระนั้นพระองค์ก็ไม่มีบาป12

When Christ took the human nature that bore the consequences of sin, He became subject to the infirmities and weaknesses that all experience. His human nature was "beset by weakness" or "compassed with infirmity" (Heb. 5:2; 5:2, KJV; Matt. 8:17; Isa. 53:4).

เมื่อพระคริสต์ทรงรับสภาพของมนุษย์ที่ได้รับผลร้ายของความบาป พระองค์จึงตกอยู่ในสภาพที่ทำบาปได้ทุกเมื่อ และมีความอ่อนแอเหมือนกับมนุษย์ทุกคนประสบ ความเป็นมนุษย์ของพระองค์ “ท่านเองก็มีความอ่อนแอ” (ฮีบรู 5:2 มัทธิว 8:17 อิสยาห์ 53:4)

He sensed His weakness. He had to offer "prayers and supplications, with vehement cries and tears to Him who was able to save Him from death" (Heb. 5:7), thus identifying Himself with the needs and weaknesses so common to humanity.

พระองค์ทรงรู้สึกถึงความอ่อนแอนี้ดี จึงได้ทูลอธิษฐาน “ถวายคำอธิษฐาน และคำร้องขอด้วยเสียงดังและน้ำพระเนตรไหล ต่อพระเจ้าผู้ทรงสามารถช่วยพระองค์ให้พ้นจาก[ ภาษากรีกแปลตรงตัวว่า ให้ออกจาก ] ความตาย” (ฮีบรู 5:7) ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงนับว่าทรงเป็นมนุษย์คนหนึ่งผุ้มีความต้องการ มีความอ่อนแอ่เฉกเช่นคนทั่วไป

Thus "Christ's humanity was not the Adamic humanity, that is, the humanity of Adam before the fall; nor fallen humanity, that is, in every respect the humanity of Adam after the fall.

ด้วยเหตุดังกล่าว “ความเป็นมนุษย์ของพระคริสต์จึงไม่ใช่มนุษย์แบบอาดัม นั่นก็คือ ลักษณะความเป็นมนุษย์ของอาดัมก่อนการหลงทำบาป หรือเหมือนกับมนุษย์ที่หลงทำผิดบาปแล้ว ซึ่งก็หมายถึงลักษณะความเป็นมนุษย์ของอาดัมหลังจากที่เขาหลงทำบาปแล้ว

It was not the Adamic, because it had the innocent infirmities of the fallen. It was not the fallen, because it had never descended into moral impurity. It was, therefore, most literally our humanity, but without sin."13

ดังนั้น พระเยซูจึงไม่เหมือนอาดัม เพราะในความอ่อนแอที่ทำให้หลงทำผิดบาปได้นั้นพระองค์ทรงไร้ความผิด พระองค์ไม่มีสภาพของคนที่หลงผิดทำบาป เพราะพระองค์ไม่เคยทำผิดหรือมีมลทินใด ๆ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงมีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง แต่ปราศจากบาป”13

c. His experience with temptations.

How did temptations affect Christ? Was it easy or difficult for Him to resist them? The way He experienced temptations proves that He was truly human.

ค. พระองค์ทรงประสบกับการทดลอง

การทดลองมีผลอะไรต่อชีวิตของพระคริสต์ พระองค์ทรงต่อสู้ได้ง่ายหรือได้อย่างยากเย็น การได้ประสบการทดลองของพระองค์พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพระองค์ทรงเป็นมนุษย์แท้

i. "In all points tempted as we are."

That Christ was "in all points tempted as we are" (Heb. 4:15), shows that He was a partaker of human nature. Temptation and the possibility of sinning were real to Christ.

1. “ถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง

ว่าพระคริสต์ทรง “ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง” (ฮีบรู 4:15) แสดงให้เห็นว่าพระองค์ได้ทรงมีส่วนในสภาพของมนุษย์ พระคริสต์ทรงมีผ่านเข้าไปในการทดลองและมีความเป็นไปได้ที่พระองค์จะทำบาปจริง

If He could not sin He would have been neither human nor our example. Christ took human nature with all its liabilities, including the possibility of yielding to temptation.

ถ้าพระองค์ไม่ทำบาป ก็เท่ากับว่าถ้าพระองค์ไม่ใช่มนุษย์ ก็ทรงเป็นแบบอย่างแก่เราทั้งหลาย พระคริสต์ทรงรับเอาสภาพของมนุษย์พร้อมด้วยสภาพที่ตกทอดมาทุกอย่าง รวมทั้งความเป็นไปได้ที่จะทำตามการทดลองด้วย

How could He have been tempted "in all points" as we are?

พระองค์ทรงถูกทดลอง “เราทุกอย่าง” ได้อย่างไร?

Obviously "in all points" or "in every way" (NIV) does not mean that He met the identical temptations we meet today. He was never tempted to watch demoralizing TV programs, or to break the speed limit in an automobile.

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า “ทุกอย่าง” ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ได้ผ่านการทดลองอย่างเดียวกับที่เราประสบในทุกวันนี้ พระองค์ไม่เคยถูกทดลองให้ดูรายการโทรทัศน์ที่ทำลายศีลธรรมดีงามหรือขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด

The basic issue underlying all temptations is the question of whether to surrender the will to God. In His encounter with temptation Jesus always maintained His allegiance to God. Through continual dependence on divine power He successfully resisted the fiercest temptations even though He was human.

ประเด็นเบื้องต้นอยู่ที่ การทดลองทุกอย่างเป็นคำถามว่า ต่างยอมมอบให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้าหรือเปล่า ในการต่อสู้กับการทดลองนั้น พระเยซูทรงรักษาความจงรักภักดีที่มีต่อพระเจ้าไว้เสมอ การที่ทรงพึ่งพิงฤทธานุภาพของพระเจ้า ทำให้พระองค์สามารถต่อสู้กับการทดลองที่น่าสะพรึงกลัวได้ แม้ว่าพระองค์เป็นมนุษย์

Christ's victory over temptation qualified Him to sympathize with human weaknesses.

ชัยชนะเหนือการทดลองของพระคริสต์ทำให้พระองค์มีทุกอย่างพร้อมในการแสดงความเห็นอกเห็นใจในความอ่อนแอของมนุษย์

Our victory over temptation comes by maintaining dependence upon Him. "God is faithful, who will not allow you to be tempted beyond what you are able, but with the temptation will also make the way of escape, that you may be able to bear it" (1 Cor. 10:13).

ชัยชนะเหนือการทดลองของเรามาจากการที่พึ่งพาพระองค์อย่างต่อเนื่องตลอดไป “พระเจ้าทรงซื่อสัตย์ พระองค์จะไม่ทรงให้พวกท่านต้องถูกทดลองเกินกว่าที่ท่านจะทนได้ และเมื่อถูกทดลอง พระองค์จะทรงให้มีทางออกด้วย เพื่อพวกท่านจะมีกำลังทนได้” (1 โครินธ์ 10:13)

It must be recognized that in the end "it is a mystery that is left unexplained to mortals that Christ could be tempted in all points like as we are, and yet be without sin."14

จงตระหนักเสมอว่า สุดท้ายแล้ว “การที่พระคริสต์ทรงถูกทดลองทุกอย่างเหมือนเราทั้งหลาย ถึงกระนั้นยังปราศจากบาป เป็นสิ่งที่ล้ำลึกที่ไม่มีคำอธิบายแก่มนุษย์ผู้ต้องตาย”14

ii . "Suffered, being tempted."

Christ suffered while subjected to temptation (Heb. 2:18). He was made "perfect through sufferings" (Heb. 2:10).

2. “ เพราะพระองค์เองได้ทรงทนทุกข์และถูกทดลอง”

ขณะที่พระคริสต์ทรงอยู่ภายใต้การทดลอง พระองค์ต้องทนทุกข์ทรมาน (ฮีบรู 2:18) พระองค์ทรงกำเนิดมา “สมบูรณ์โดยความทุกข์ทรมานต่างๆ” (ฮีบรู 2:10)

Because He Himself faced the power of temptation, we can know that He understands how to help anyone who is tempted. He was one with humanity in suffering the temptations to which human nature is subjected.

เพราะพระองค์ได้เผชิญหน้ากับอำนาจของการทดลอง เราจึงทราบว่าพระองค์ทรงเข้าใจวิธีช่วยเหลือคนที่ถูกทดลอง พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในจำนวนมนุษย์ทั้งหลายที่ต้องทนทุกข์ในการทดลองซึ่งมนุษย์ตกอยู่ภายใต้อำนาจนี้

How did Christ suffer under temptation? Though He had "the likeness of sinful flesh," His spiritual faculties were free from any taint of sin.

พระคริสต์ทรงทนทุกข์ภายใต้การทดลองอย่างไร แม้ว่าพระองค์ทรงอยู่ “ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป” (โรม 8:3) พระองค์ทรงมีความสามารถด้านจิตวิญญาณที่ไม่มีด่างพร้อยของบาปเลยแม้แต่น้อย

Consequently His holy nature was extremely sensitive. Any contact with evil pained Him. So, because He suffered in proportion to the perfection of His holiness, temptation brought more suffering to Jesus than to anyone else.15

ผลที่ตามมาก็คือ พระองค์ทรงมีพระลักษณะที่มีความรู้สึกไวอย่างยิ่ง การเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งชั่วร้าย ทำให้พระองค์เจ็บปวด ดังนั้น เพราะพระองค์ได้ทนทุกข์ในฐานะที่มีส่วนถูกทดลองความบริบูรณ์แห่งความบริสุทธิ์ของพระองค์ ทำให้การทดลองนั้นนำความทุกข์ที่มากขึ้นมาสู่พระเยซูมากกว่าใครทุกคน15

How much did Christ suffer? His experience in the wilderness, Gethsemane, and Golgotha reveal that He resisted temptation to the point of shedding His blood (cf. Heb. 12:4).

พระเยซูทรงทุกข์ทรมานมากเท่าใด ประสบการณ์ในป่ากันดาร ในสวนเกทเสมนี และที่เนินเขากลโกธาของพระองค์เผยให้เห็นว่าพระองค์ทรงต่อสู้การทดลองจนต้องหลั่งพระโลหิต (ดู ฮีบรู 12:4)

Christ not only suffered more in proportion to His holiness, He faced stronger temptations than we humans have to. B. F. Wescott notes, "Sympathy with the sinner in his trial does not depend on the experience of sin but on the experience of the strength of the temptation to sin which only the sinless can know in its full intensity. He who falls yields before the last strain."16

พระคริสต์ไม่เพียงต้องทนทุกข์มากขึ้นเพราะความเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น พระองค์ทรงเผชิญกับการทดลองที่รุนแรงกว่าที่มนุษย์อย่างเราได้เผชิญ บี. เอฟ. เวสคอร์ด สังเกตว่า “ความเห็นอกเห็นใจคนบาปที่ถูกทดลองไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีประสบการณ์กับความบาป แต่อยู่ที่ประสบการณ์ในความเข้มแข็งต่อการทดลองให้ทำบาป ซึ่งคนที่ไม่มีบาปเท่านั้นที่สามารถรู้ได้อย่างเต็มที่ ผู้ใดที่หลงผิดไปยอมพ่ายแพ้ในความพยายามสุดท้าย”16

F. F. Bruce concurs by stating, "Yet He endured triumphantly every form of testing that man could endure, without any weakening of His faith in God or any relaxation of His obedience to Him. Such endurance involves more, not less, than ordinary human suffering"17

เอฟ. เอฟ. บรูซ ให้ความคิดเห็นว่า “แม้ว่าเดี๋ยวนี้พระองค์ทรงอดทนผ่านพ้นจนมีชัยชนะการทดสอบทุกรูปแบบที่มนุษย์จะต้องพานพบ โดยที่ไม่ได้ทำให้ความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าของพระองค์หรือทำให้หย่อนความเชื่อฟังที่มีต่อพระเจ้าลดลงก็ตาม ความอดทนนั้นเกี่ยวข้องกับความทุกข์ยากที่มนุษย์ทั่วไปต้องประสบอย่างมาก ไม่น้อยไปกว่าพวกเขาเลย”17

Christ also faced a powerful temptation never known to man—the temptation to use His divine power on His own behalf. E. G. White states, "He had received honor in the heavenly courts, and was familiar with absolute power.

นอกจากนี้พระคริสต์ยังต้องเผชิญกับอำนาจของการทดลองที่มนุษย์ไม่มีโอกาสรู้เลย คือการทดลองให้ใช้ฤทธิ์อำนาจของความเป็นพระเจ้าเพื่อประโยชน์ของพระองค์เอง นางเอลเลน จี. ไว้ท์ กล่าวว่า “พระองค์ได้รับเกียรติในราชวังแห่งสวรรค์ ผู้ทรงคุ้นเคยกับสิทธิอำนาจอย่างเต็มสมบูรณ์

It was as difficult for Him to keep the level of humanity as it is for men to rise above the low level of their depraved natures, and be partakers of the divine nature."18

จึงเป็นการยากยิ่งสำหรับพระองค์ที่จะรักษาระดับความเป็นมนุษย์ เหมือนกับที่มนุษย์ที่ต้องก้าวไปสูงกว่าระดับความตกต่ำของเขา และก้าวขึ้นไปมีส่วนร่วมความเป็นพระเจ้า”18

d. Could Christ sin?

Christians differ on the question of whether Christ could sin. We agree with Philip Schaff, who said, "Had he [Christ] been endowed from the start with absolute impeccability, or with the impossibility of sinning, he could not be a true man, nor our model for imitation:

ง. พระคริสต์ทำบาปได้หรือไม่?

คริสตเตียนต่างมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันต่อคำถามที่ว่าพระคริสต์ทำบาปได้หรือไม่ เราเห็นด้วยกับฟีลิป ชาฟฟ์ ที่กล่าวว่า “หากว่าพระองค์ (พระคริสต์) ได้รับสภาพที่ไม่อาจทำบาปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ที่จะทำบาป พระองค์ก็ไม่สามารถเป็นมนุษย์แท้ได้ หรือไม่อาจเป็นแบบอย่างที่เราจะเลียนแบบ

his holiness, instead of being his own self-acquired act and inherent merit, would be an accidental or outward gift and his temptations an unreal show."19

ความบริสุทธิ์ของพระองค์ได้ แทนที่จะถือสิทธิ์การกระทำและเป็นผู้มีคุณความดีของตนเอง ก็เท่ากับว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่อุบัตึ้น หรือเป็นของประทานที่แสดงออกมาภายนอก และการทดลองที่พระองค์ได้รับก็เป็นเพียงสิ่งที่แสดง ไม่ใช่ความจริงแต่อย่างไร”

Karl Ullmann adds, "The history of the temptation, however it may be explained, would have no significancy; and the expression in the Epistle to the Hebrews 'he was tempted in all points as we,' would be without meaning"20

คาร์ล อูลมานน์ เพิ่มเติมว่า “เรื่องราวของการทดลองในอดีตผ่านมา แม้ว่าจะอธิบายอย่างไร ก็ไม่มีความสำคัญใดๆ และสิ่งที่แสดงออกให้เห็นในจดหมายฝากฮีบรูที่กล่าวว่า “ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง” ก็ไม่มีความหมายใดๆ”20

6. The sinlessness of Jesus Christ's human nature.

It is self-evident that the divine nature of Jesus was sinless. But what about His human nature?

6. ความเป็นผู้ไม่มีบาปของพระเยซูคริสต์ในลักษณะความเป็นมนุษย์

การที่พระเยซูทรงเป็นผู้ไม่มีบาป ด้วยหลักฐานของชีวิตพระองค์ที่เผยให้เห็นในฐานะที่ทรงเป็นพระเจ้า แต่ความเป็นมนุษย์ของพระองค์มีหลักฐานอะไร?

The Bible portrays Jesus' humanity as sinless. His birth was supernatural—He was conceived of the Holy Spirit (Matt. 1:20). As a newborn baby He was described as "that Holy One" (Luke 1:35).

พระคัมภีร์ได้เผยให้เห็นคาวมเป็นมนุษย์ของพระเยซูในฐานะของผู้ไม่มีบาป การมาประสูติที่เหนือธรรมชาติ เมื่อพระองค์ทรงปฏิสนธิในครรภ์โดยเดชแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ (มัทธิว 1:20) ในฐานะทารกที่เกิดใหม่ พระองค์ได้รับการบรรยายไว้ว่าทรงเป็น “องค์บริสุทธิ์” (ลูกา 1:35)

He took the nature of man in its fallen state, bearing the consequences of sin, not its sinfulness. He was one with the human race, except in sin.

พระองค์ทรงรับสภาพความเป็นมนุษย์ในสภาพที่ตกอยู่ใต้อำนาจบาป ต้องรับเอาผลของบาป แต่ไม่ได้รับเอาตัวบาป พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในเผ่าพันธุ์คนบาป ยกเว้นพระองค์ไม่มีบาป

Jesus was "in all points tempted as we are, yet without sin," being "holy, harmless, undefiled, separate from sinners" (Heb. 4:15; 7:26). Paul wrote that He "knew no sin" (2 Cor. 5:21). Peter testified that He "'committed no sin, nor was guile found in His mouth'" (1 Peter 2:22),

พระเยซู “ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป” ทรง “เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากอุบาย ไร้มลทิน แยกจากคนบาปทั้งหลาย” (ฮีบรู 4:15; 7:26) เปโตรพิสูจน์ให้เห็นว่า “พระองค์ไม่ได้ทรงทำบาปเลย และไม่พบการล่อลวงในพระโอษฐ์ของพระองค์เลย” (1 เปโตร 2:22)

and compared Him with "a lamb without blemish and without spot" (1 Peter 1:19; Heb. 9:24). "In Him," John said, "there is no sin. . . . He is righteous" (1 John 3:5-7).

และเปรียบพระองค์ว่าเป็นดัง “ลูกแกะที่ไร้ตำหนิและไร้จุดด่างพร้อย” (1 เปโตร 1:19 ฮีบรู 9:24) ยอห์นกล่าวว่า “ไม่มีบาปอยู่ในพระองค์เลย.... พระองค์ทรงชอบธรรม” (1 ยอห์น 3:5-7)

Jesus took upon Himself our nature with all its liabilities, but He was free from hereditary corruption or depravity and actual sin. He challenged His opponents, "'Which of you convicts Me of sin?'" (John 8:46).

พระเยซูทรงรับเอาลักษณะความเป็นมนุษย์ทุกอย่างของเรา พร้อมทั้งโอกาสที่จะทำผิดได้ แต่พระองค์ทรงเป็นอิสระจากมรดกของความเลวร้ายทั้งหลายหรือความเสื่อมทราม และความบาปอย่างแท้จริง พระเยซูทรงท้าทายฝ่ายตรงกันข้ามกับพระองค์ว่า “มีใครในพวกท่านที่อาจชี้ให้เห็นว่าเรามีบาป?” (ยอห์น 8:46)

When facing His severest trial, He declared, "'The ruler of this world is coming, and he has nothing in Me'" (John 14:30).

เมื่อเผชิญหน้าการทดลองที่เลวร้ายที่สุด พระองค์ทรงประกาศว่า “เพราะว่าผู้ครองโลกกำลังจะมา ผู้นั้นไม่มีสิทธิอำนาจอะไรเหนือเรา” (ยอห์น 14:30)

Jesus had no evil propensities or inclinations or even sinful passions. None of the avalanche of temptations could break His allegiance to God. Jesus never made a confession of sin or offered a sacrifice. He did not pray, "Father, forgive Me," but rather, "'Father, forgive them'" (Luke 23:34).

พระเยซูไม่มีลักษณะนิสัยที่ชอบทำผิดหรือมีแนวโน้มว่าจะทำผิด หรือมีใจปรารถนาทำบาป ไม่มีการทดลองที่มีอยู่อย่างมากมายใดๆ สามารถเจาะทะลุความจงรักภักดีที่ทรงมีต่อพระเจ้าของพระองค์ได้ พระเยซูไม่เคยสารภาพบาปหรือถวายเครื่องบูชา (เพื่อไถ่บาป) ใดๆ พระองค์ไม่เคยอธิษฐานว่า “ขอพระบิดาทรงโปรดอภัยข้าพระองค์” แต่ทรงทูลว่า “พระบิดาเจ้าข้า ขอทรงยกโทษพวกเขา” (ลูกา 23:34)

Always seeking to do His Father's will, not His own, Jesus constantly maintained His dependence on the Father (cf. John 5:30).

พระองค์ทรงแสวงหาการทำตามพระประสงค์ของพระบิดาอยู่เสมอ ไม่ทำตามพระทัยของพระองค์ พระเยซูทรงเฝ้าพึ่งพาพระบิดาด้วยความไว้วางใจเสมอ (ดู ยอห์น 5:30)

Unlike that of fallen humanity, Jesus' "spiritual nature" is pure and holy, "free from every taint of sin."21

พระเยซูทรงแตกต่างจากมนุษย์ผู้หลงผิดบาป “พระลักษณะจิตวิญญาณ” ของพระองค์บริสุทธิ์และปราศจากด่างพร้อยของ “มลทินบาป” ใดๆ ทั้งสิ้น”21

It would be a mistake to think He is "altogether human" as we are. He is the second Adam, the unique Son of God. Nor should we think of Him "as a man with the propensities of sin."

การคิดว่าพระองค์เป็น “มนุษย์ทั้งหมด” เหมือนกับเราเป็นการคิดผิด พระองค์คืออาดัมคนที่สอง เป็นพระบุตรผู้พิเศษไม่เหมือนใครของพระเจ้า ขณะเดียวกันก็ไม่ควรคิดว่าพระองค์ “เป็นมนุษย์ผู้มีแนวโน้มไปสู่การทำบาปได้”

While His human nature was tempted in all points in which human nature is tempted, He never fell, He never sinned. Never was there in Him an evil propensity.22

ขณะที่ความเป็นมนุษย์ของพระองค์ได้ถูกทดลองทุกอย่าง พระองค์ไม่เคยหลงทำตาม พระองค์ไม่เคยทำบาป ในพระองค์ไม่เคยมีแนวโน้มทำความชั่ว22

Indeed, Jesus is humanity's highest, holiest example. He is sinless, and all He did demonstrated perfection. Truly He was the perfect example of sinless humanity.

ที่แท้จริงแล้ว พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ผู้เป็นแบบอย่างที่สูงส่งที่สุดและบริสุทธิ์ที่สุด พระองค์ไม่มีบาป และทุกสิ่งที่พระองค์แสดงออกให้เห็นล้วนสมบูรณ์แบบ ดังนั้นพระองค์จึงเป็นแบบอย่างอันสมบูรณ์แบบที่สุดของมนุษย์ผู้ปราศจากบาปใดๆ

7. The necessity of Christ's taking human nature.

The Bible gives various reasons as to why Christ had to have a human nature.

7. ความจำเป็นที่ต้องรับสภาพมนุษย์ของพระเยซู

พระคัมภีร์ให้เหตุผลว่าทำไมพระคริสต์จะต้องมารับสภาพอย่างมนุษย์หลายประการด้วยกัน

a. To be the high priest for the human race.

As Messiah, Jesus had to occupy the position of high priest or mediator between God and man (Zech. 6:13; Heb. 4:14-16). This function required human nature. Christ met the qualifications:

ก. เพื่อจะเป็นมหาปุโรหิตของมนุษย์

ในฐานะพระเมสสิยาห์ พระเยซูต้องรับหน้าที่ในตำแหน่งมหาปุโรหิตหรือคนกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ (เศคาริยาห์ 6:13 ฮีบรู 4:14-16) การทำหน้าที่ตำแหน่งนี้จำเป็นต้องเป็นมนุษย์ พระคริสต์จึงมีคุณสมบัตินี้

(i) He could have "compassion on those who are ignorant and going astray" because He was "beset by weaknesses" or "compassed with infirmity" (Heb. 5:2, 5:2, KJV).

(1) พระองค์จึง “สามารถปฏิบัติอย่างนุ่มนวลต่อคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และที่หลงผิด เพราะท่านเองก็มีความอ่อนแอ” (ฮีบรู 5:2)

(ii) He is "merciful and faithful" because He was in all things made "like His brethren" (Heb. 2:17).

(2) พระองค์ทรง “เปี่ยมด้วยความเมตตาและความซื่อสัตย์” เพราะพระองค์ทรงเป็น “เหมือนกับพี่น้องทุกอย่าง” (ฮีบรู 2:17)

(iii) He "is able to aid them who are tempted" because "He Himself has suffered, being tempted" (Heb. 2:18).

(3) พระองค์ “สามารถช่วยผู้ที่ถูกทดลองได้” (ฮีบรู 2:18)

(iv) He sympathizes with weaknesses because He "was in all points tempted as we are, yet without sin" (Heb. 4:15).

(4) พระองค์ทรงเห็นอกเห็นใจในความอ่อนแอ เพราะ “ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป” (ฮีบรู 4:15)

b. To save even the most degraded person.

To reach people where they are and rescue the most hopeless, He descended to the level of a servant (Phil. 2:7).

ข. เพื่อช่วยแม้คนที่ตกต่ำที่สุด

เพื่อยื่นมือช่วยเหลือไม่ว่าคนนั้นจะอยู่ที่ไหน และกู้เขาขึ้นมาจากความสิ้นหวังอันเลวร้าย พระองค์จึงเสด็จลงมารับสภาพทาส (ฟีลิปปี 2:7)

c. To give His life for the sins of the world.

Christ's divine nature cannot die. In order to die, then, Christ had to have a human nature. He became man and paid the penalty for sin, which is death (Rom. 6:23; 1 Cor. 15:3). As a human being He tasted death for everyone (Heb. 2:9).

ง. เพื่อมอบชีวิตของพระองค์เพื่อบาปของโลก

ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ทำให้พระองค์ไม่สามารถตายได้ พระคริสต์จึงต้องมีสภาพของมนุษย์ พระองค์จึงมาเป็นมนุษย์และใช้ชีวิตเป็นค่าไถ่โทษบาป คือความตาย (โรม 6:23; 1 โครินธ์ 15:3) ในฐานะของมนุษย์ พระองค์ได้ชิมประสบการณ์ของความตายเพื่อทุกคนแล้ว (ฮีบรู 2:9)

d. To be our example.

To set the example as to how people should live, Christ must live a sinless life as a human being. As the second Adam He dispelled the myth that humans cannot obey God's law and have victory over sin. He demonstrated that it is possible for humanity to be faithful to God's will.

จ. เพื่อเป็นแบบอย่างของเรา

เพื่อสร้างแบบอย่างให้เห็นว่ามนุษย์ควรดำรงชีวิตอย่างไร พระคริสต์จะต้องดำรงชีวิตของมนุษย์ผู้ปราศจากบาป ในฐานะของอาดัมคนที่สอง พระองค์ได้ปัดเป่าความสงสัยความเชื่อที่โกหกมาตลอดว่ามนุษย์ไม่สามารถเชื่อฟังพระบัญญัติของพระเจ้าได้ และมนุษย์ไม่สามารถเอาชนะความบาปได้ พระองค์ได้แสดงให้เห็นว่าการที่มนุษย์จะเชื่อฟังพระประสงค์ของพระเจ้านั้นสามารถทำได้

Where the first Adam fell, the second Adam gained the victory over sin and Satan and became both our Saviour and our perfect example. In His strength His victory can be ours (John 16:33).

สิ่งใดที่อาดัมคนแรกสูญเสียไป อาดัมคนที่สองได้กอบกู้เอาชัยชนะเหนือความบาปและซาตาน และได้ขึ้นมาเป็นทั้งพระผู้ช่วยให้รอดและแบบอย่างอันสมบูรณ์ของเรา เราทั้งหลายสามารถรับเอาความแข็งแกร่งในชัยชนะของพระองค์มาเป็นของเราได้ (ยอห์น 16:33)

By beholding Him, people "are being transformed into the same image from glory to glory" (2 Cor. 3:18). "Let us fix our eyes on Jesus, the author and perfecter of our faith. . . .

การเพ่งมองไปที่พระองค์ ทำให้ “เราก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเหมือนพระฉายาของพระองค์” (2 โครินธ์ 3:18) “โดยจับตามองที่พระเยซูผู้เบิกทางความเชื่อ และผู้ทรงทำให้ความเชื่อนั้นสมบูรณ์....

Consider him who endured such opposition from sinful men, so that you will not grow weary and lose heart" (Heb. 12:2, 3, NIV). Truly, Christ "suffered for us, leaving us an example, that you should follow His steps" (1 Peter 2:21; cf. John 13:15).

ท่านทั้งหลายจงคิดถึงพระองค์ผู้ทรงยอมทนต่อการคัดค้านของคนบาป เพื่อ ท่านจะไม่รู้สึกท้อใจ” (ฮีบรู 12:2, 3) จริงดังที่ว่า พระคริสต์ “ทรงทนทุกข์เพื่อพวกท่าน พระองค์ทรงวางแบบอย่างแก่พวกท่าน เพื่อท่านจะได้ดำเนินตามรอยพระบาทของพระองค์” (1 เปโตร 2:21 ยอห์น 13:15)

The Union of the Two Natures

The person of Jesus Christ has two natures: divine and human. He is the Godman. But note that the incarnation involved the eternal Son of God taking on Himself human nature, not the man Jesus acquiring divinity. The movement is from God to man, not man to God.

การรวมกันระหว่างพระลักษณะทั้งสอง

ความเป็นบุคคลของพระเยซูคริสต์ประกอบด้วยพระลักษณะหรือสภาพสองประการ คือ ความเป็นพระเจ้าและความเป็นมนุษย์ พระองค์คือ พระเจ้ามนุษย์ แต่ให้สังเกตให้ดีว่า การมาเกิดเป็นมนุษย์นั้น พระบุตรนิรันดร์ของพระเจ้าได้รับสภาพลักษณะของมนุษย์เข้าไว้ในพระองค์ ไม่ใช่ชายที่ชื่อเยซูแสวงหาเพื่อให้ได้ความเป็นพระเจ้ามาไว้กับตัวเอง กระบวนการนี้เกิดมาจากพระเจ้า ไม่ใช่จากมนุษย์ไปสู่พระเจ้า

In Jesus, these two natures were merged into one person. Note the following Biblical evidence:

คุณสมบัติทั้งสองนี้ได้ร่วมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกันในพระเยซู ให้ดูจากหลักฐานในพระคัมภีร์ดังต่อไปนี้

Christ Is a Union of Two Natures.

The plurality associated with the triune God is not present in Christ. The Bible describes Jesus as one person, not two. Various texts refer to the divine and human nature, yet speak of only one person. Paul described the person Jesus Christ as God's Son (divine nature) who is born of a woman (human nature; Gal. 4:4).

พระคริสต์ทรงเป็นผู้มีลักษณะความเป็นบุคคลที่รวมของสองประการ

การรวมกันทั้งสามพระภาคของตรีอากานุภาพ (พระเจ้า พระบุตร พระวิญญาณ) ไม่ปรากฏอยู่ในตัวของพระคริสต์ พระคัมภีร์บรรยายให้เห็นว่า พระเยซูทรงเป็นบุคคลหนึ่ง ไม่ใช่สองคน ข้อพระธรรมหลายข้อได้กล่าวถึงสภาพความเป็นพระเจ้าและความเป็นมนุษย์ของพระองค์ กระนั้นก็ตามข้อความเหล่านั้นหมายถึงบุคคลผู้เดียว เปาโลได้บรรยายความเป็นบุคคลของพระเยซูคริสต์ว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้า (สภาพของพระเจ้า) ผู้มาเกิดจากหญิงคนหนึ่ง (สภาพของมนุษย์ กาลาเทีย 4:4)

Thus Jesus, "being in the form of God, did not consider it robbery to be equal with God" (divine nature), "but made Himself of no reputation, taking the form of a servant, and coming in the likeness of men" (human nature; Phil. 2:6, 7).

ดังนั้น พระเยซูจึง “ผู้ทรงสภาพเป็นพระเจ้า ไม่ทรงถือว่าความทัดเทียมกับพระเจ้า (พระลักษณะของพระเจ้า) เป็นสิ่งที่จะต้องยึดไว้ แต่ทรงสละพระองค์เองและทรงรับสภาพทาส ทรงถือกำเนิดเป็นมนุษย์ และทรงปรากฏอยู่ในสภาพมนุษย์ (ลักษณะของมนุษย์ ฟีลิปปี 2:6, 7)

Christ's dual nature is not composed of an abstract divine power or influence that is connected with His humanity. "The Word," John said, "became flesh and dwelt among us, and we beheld His glory, the glory as of the only begotten of the Father, full of grace and truth" (John 1:14).

การมีสภาพสองอย่างของพระคริสต์ไม่ใช่การประกอบกันขึ้นของส่วนย่อยของฤทธิ์อำนาจความเป็นพระเจ้า หรืออิทธิอำนาจที่เข้ามาเชื่อมกับความเป็นมนุษย์ของพระองค์ ยอห์นกล่าวว่า “พระวาทะทรงเกิดเป็นมนุษย์และทรงอยู่ท่ามกลางเรา เราเห็นพระสิริของพระองค์ คือ พระสิริที่สมกับพระบุตรองค์เดียวของพระบิดา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง” (ยอห์น 1:14)

Paul wrote, God sent "His own Son in the likeness of sinful flesh" (Rom. 8:3); "God was manifest in the flesh" (1 Tim. 3:16; 1 John 4:2).

เปาโลบันทึกไว้ว่า พระเจ้าทรงให้ “พระองค์ทรงปรากฏเป็นมนุษย์” (1 ทิโมธี 3:16; 1 ยอห์น 4:2)

The Blending of the Two Natures.

At times the Bible describes the Son of God in terms of His human nature. God purchased His church with His own blood (Acts. 20:28; cf. Col. 1:13, 14). At other instances it characterizes the Son of Man in terms of His divine nature (cf. John 3:13; 6:62; Rom. 9:5)

สภาพทั้งสองอย่างผสมผสานเข้าด้วยกัน

หลายครั้งที่พระคัมภีร์บรรยายพระลักษณะพระบุตรของพระเจ้าด้วยถ้อยคำที่แสดงถึงสภาพความเป็นมนุษย์ของพระองค์ พระเจ้าทรงได้คริสตจักรของพระองค์ด้วยพระโลหิต (กิจการ 20:28 อ่านโคโลสี 1:13, 14) ในข้ออื่นๆ บอกพระลักษณะด้วยคำว่า บุตรมนุษย์ เมื่อกล่าวถึงสภาพความเป็นพระเจ้า (ตัวอย่างเช่น ยอห์น 3:13; 6:62 โรม 9:5)

When Christ came into the world, "a body" had been prepared for Him (Heb. 10:5). When He took upon Himself humanity, His divinity was clothed with humanity.

เมื่อพระคริสต์เสด็จมาในโลกในสภาพ “กาย” ที่เตรียมไว้สำหรับพระองค์ (ฮีบรู 10:5) เมื่อพระองค์สวมสภาพมนุษย์ สภาพพระเจ้าของพระองค์ก็ถูกปกคลุมด้วยสภาพมนุษย์

This was not accomplished by changing humanity into divinity or divinity into humanity. He did not go out of Himself to another nature, but took humanity into Himself. Thus divinity and humanity were combined.

นี่ไม่ใช่ความสำเร็จในการเปลี่ยนสภาพจากมนุษย์ไปอยู่ในสภาพของพระเจ้า หรือเปลี่ยนสภาพของพระเจ้ามาอยู่ในสภาพของมนุษย์ พระองค์ไม่ได้ออกไปจากตัวเองเพื่อไปสู่สภาพอีกอย่างหนึ่ง แต่ทรงรับเอาความเป็นมนุษย์เข้ามาสู่พระองค์ ดังนั้น ความเป็นพระเจ้าและความเป็นมนุษย์จึงมารวมกัน

When He became incarnate, Christ did not cease to be God, nor was His divinity reduced to the level of humanity. Each nature kept its standing. "In Him,"

เมื่อพระองค์ทรงมาเกิดเป็นมนุษย์ ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ไม่ได้หมดไป หรือความเป็นพระเจ้ามาลดทอนความเป็นมนุษย์ลงแต่อย่างใด แต่ละสภาพต่างคงไว้อย่างเดิม

Paul says, "dwells all the fullness of the Godhead bodily" (Col. 2:9). At the crucifixion His human nature died, not His deity, for that would have been impossible.

เปาโลกล่าวว่า “ความเป็นพระเจ้าที่ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้นดำรงอยู่ในพระกายของพระองค์” (โคโลสี 2:9) เมื่อทรงถูกตรึงบนไม้กางเขน สภาพมนุษย์ของพระองค์ตาย ไม่ใช่สภาพของพระเจ้า เป็นไปไม่ได้สำหรับสภาพของพระเจ้า

The Necessity of the Union of the Two Natures.

An understanding of the interrelationship of Christ's two natures gives a vital insight into Christ's mission and our very salvation.

ความจำเป็นที่สภาพทั้งสองต้องรวมกัน

ความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ของสภาพทั้งสองอย่างของพระคริสต์รวมเข้าด้วยกันนั้น ทำให้มองเห็นความเข้าใจพระราชกิจของพระคริสต์และความรอดพ้นบาปของเราได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

1. To reconcile humanity with God.

Only a divine-human Saviour could bring salvation. At the incarnation Christ, in order to impart His divine nature to believers, brought humanity into Himself. Through the merits of the blood of the God-man believers can partake of the divine nature (2 Peter 1:4).

1. เพื่อการคืนดีของมนุษย์และพระเจ้า

มีเพียพระผู้ช่วยให้รอดผู้เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์เท่านั้นที่สามารถนำเอาความรอดบาปมาสู่มนุษย์ได้ การประสูติเป็นมนุษย์ของพระคริสต์ ก็เพื่อนำเอาสภาพพระเจ้าของพระองค์มามอบให้แก่บรรดาผู้เชื่อของพระองค์ เพื่อนำเอามนุษย์กลับไปหาพระองค์ โดยทางคุณความดีของพระโลหิตของพระเจ้า-มนุษย์ ทำให้บรรดาผู้เชื่อต่างสามารถเข้ารับเอาสภาพพระเจ้าของพระองค์ได้ (2 เปโตร 1:4)

The ladder in Jacob's dream, symbolizing Christ, reaches us where we are. He took human nature and overcame, that we through taking His nature might overcome. His divine arms grasp the throne of God, while His humanity embraces the race, connecting us with God, earth with heaven.

บันไดในความฝันของยาโคบ เป็นสัญลักษณ์ถึงพระคริสต์ ผู้ทรงยื่นพระองค์มาสู่โลกที่เราอาศัยอยู่ พระองค์ทรงรับเอาสภาพมนุษย์และเอาชนะได้ เมื่อเรารับเอาสภาพของพระองค์ก็จะสามารถเอาชนะได้เช่นกัน พระหัตถ์แห่งความเป็นพระเจ้าของพระองค์ยึดพระที่นั่งของพระเจ้าไว้ ขณะที่พระหัตถ์ของความเป็นมนุษย์โอบกอดมนุษย์ไว้ เชื่อมเราทั้งหลายเข้าหาพระเจ้า เชื่อมโลกและสวรรค์เข้าด้วยกัน

The combined divine-human nature makes effective Christ's atoning sacrifice. The life of a sinless human being or even an angel could not atone for the sins of the human race. Only the divine-human Creator could ransom humanity.

การรวมความเป็นพระเจ้าและมนุษย์เข้าด้วยกัน ทำให้การเป็นเครื่องบูชาลบบาปของพระคริสต์บังเกิดผล ชีวิตของมนุษย์ผู้ไร้บาปหรือแม้แต่ทูตสวรรค์ก็ไม่สามารถลบบาปของเผ่าพันธุ์มนุษย์ได้ มีเพียงพระผู้สร้างผู้ทรงเป็นพระเจ้า-มนุษย์เท่านั้น ผู้สามารถชำระค่าไถ่มนุษยชาติได้

2. To veil divinity with humanity.

Christ veiled His divinity with the garb of humanity, laying aside His celestial glory and majesty, so that sinners would be able to exist in His presence without being destroyed. Though He was still God, He did not appear as God (Phil. 2:6-8).

2. เพื่อคลุมสภาพพระเจ้าด้วยสภาพมนุษย์

พระคริสต์ทรงคลุมสภาพพระเจ้าของพระองค์ด้วยสวมสภาพของมนุษย์ ทรงวางพระสิริอันงดงามและพระราชอำนาจของพระองค์ลง เพื่อคนบาปทั้งหลายจะสามารถเข้าไปถึงพระพักตร์ของพระองค์ได้โดยไม่ถูกทำลาย ถึงแม้ว่าพระองค์ยังทรงความเป็นพระเจ้าอยู่ พระเยซูกลับไม่ได้ปรากฏพระองค์เหมือนกับพระเจ้า (ฟีลิปปี 2:6-8)

3. To live victoriously.

Christ's humanity alone could never have endured the powerful deceptions of Satan. He was able to overcome sin because in Him dwelt "all the fullness of the Godhead bodily" (Col. 2:9).

3. เพื่อดำรงชีวิตอยู่ด้วยชัยชนะ

ความเป็นมนุษย์ของพระคริสต์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้พระองค์มีกำลังต่อสู้กับอำนาจการหลอกลวงของซาตานได้ พระองค์ทรงสามารถเอาชนะความบาปได้เพราะในพระองค์มี “ความเป็นพระเจ้าที่ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้นดำรงอยู่ในพระกายของพระองค์” (โคโลสี 2:9)

Relying completely upon the Father, (John 5:19, 30; 8:28), His "divine power combined with humanity gained in behalf of man an infinite victory." 23

ทรงวางพระทัยในพระบิดาจนหมดสิ้น (ยอห์น 5:19, 30; 8:28) “ฤทธิ์เดชแห่งความเป็นพระเจ้าของพระองค์ รวมเข้ากับสภาพมนุษย์ทรงได้มาเพื่อมนุษย์ทั้งหลายจะได้ชัยชนะที่แน่นอน”23

Christ's experience in victorious living is not His exclusive privilege. He exercised no power that humanity cannot exercise. We may also "be filled with all the fullness of God" (Eph. 3:19).

ประสบการณ์ในชัยชนะในการดำรงชีวิตของพระคริสต์ ไม่ใช่สิทธิของพระองค์เพียงผู้เดียว พระองค์ไม่ได้ใช้อำนาจใดที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ เราทั้งหลายสามารถ “ได้รับความบริบูรณ์ของพระเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม” ได้เช่นกัน (เอเฟซัส 3:19)

Through Christ's divine power we can have access to "all things that pertain to life and godliness." The key to this experience is faith in the "exceeding great and precious promises" through which we "may be partakers of the divine nature, having escaped the corruption that is in the world through lust" (2 Peter 1:3, 4).

โดยฤทธิ์เดชความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ทำให้เราสามารถเข้าถึง “ฤทธิ์เดชของพระเจ้าได้ให้ทุกสิ่งแก่เรา ที่จำเป็นต่อชีวิตและต่อการดำเนินตามทางพระเจ้า....โดยสิ่งเหล่านี้.....พวกท่านจะพ้นจากความเสื่อมทราม ที่มีอยู่ในโลกอันเกิดจากความปรารถนาชั่ว” (2 เปโตร 1:3, 4)

He offers the same power by which He overcame so that all may faithfully obey and have a victorious life.

พระองค์ทรงยื่นฤทธิ์เดชเดียวกันนี้ที่ทำให้พระองค์สามารถเอาชนะ เพื่อทุกคนที่เชื่อฟังด้วยความสัตย์ซื่อจะมีชัยชนะในชีวิตได้เช่นเดียวกัน

Christ's comforting promise is one of victory: '" To him who overcomes I will grant to sit with Me on My throne, as I also overcame and sat down with My Father on His throne'" (Rev. 3:21).

พระสัญญาแห่งการปลอบโยนของพระคริสต์เป็นชัยชนะอย่างหนึ่ง “คนที่ชนะ เราจะให้เขานั่งกับเราบนพระที่นั่งของเรา เหมือนอย่างที่เรามีชัยชนะแล้ว และได้นั่งกับพระบิดาของเราบนพระที่นั่งของพระองค์” (วิวรณ์ 3:21)

The Offices of Jesus Christ

The offices of prophet, priest, and king were unique, generally requiring a consecration service through anointing (1 Kings 19:16; Ex. 30:30; 2 Sam. 5:3).

ตำแหน่งหน้าที่ของพระเยซูคริสต์

ตำแหน่งหน้าที่ของผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และกษัตริย์ เป็นตำแหน่งพิเศษแตกต่างจากตำแหน่งอื่นใด ผู้ที่จะรับหน้าที่นี้ต้องได้ผ่านพิธีชำระด้วยการเจิมแต่งตั้งเสียก่อน (1 พงศ์กษัตริย์ 19:16 อพยพ 30:30; 2 ซามูเอล 5:3)

The coming Messiah, the Anointed One—prophecies pointed out—was to hold all three of these offices. Christ performs His work as mediator between God and us through the offices of prophet, priest, and king.

การเสด็จมาของพระเมสสิยาห์ ผู้ได้รับการเจิมแต่งตั้ง ได้มีคำพยากรณ์ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน ว่าพระองค์จะทรงมารับตำแหน่งหน้าที่ทั้งสามที่กล่าวมา พระคริสต์ทรงทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับเรา โดยตำแหน่งของผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิตและกษัตริย์

Christ the Prophet proclaims God's will to us, Christ the Priest represents us to God and vice versa, and Christ the King wields God's gracious authority over His people.

พระคริสต์ผู้ทรงเป็นผู้เผยพระวจนะประกาศพระประสงค์ของพระเจ้าเพื่อเรา พระคริสต์ผู้ทรงเป็นปุโรหิตทรงเป็นผู้แทนของเราต่อพระพักตร์พระเจ้าและหน้าที่อื่นๆ และพระคริสต์ผู้เป็นกษัตริย์ทรงใช้อำนาจด้วยพระคุณเพื่อบรรดาประชากรของพระองค์

Christ the Prophet.

God revealed Christ's prophetic office to Moses: "I will raise up for them a Prophet like you from among their brethren, and will put My words in His mouth, and He shall speak to them all that I command Him" (Deut. 18:18). Christ's contemporaries recognized the fulfillment of this prediction (John 6:14; 7:40; Acts. 3:22, 23).

พระคริสต์ในตำแหน่งผู้เผยพระวจนะ

พระเจ้าทรงสำแดงตำแหน่งผู้เผยพระวจนะของพระคริสต์ให้แก่โมเสส “เราจะให้มีผู้เผยพระวจนะอย่างเจ้าเกิดขึ้นในหมู่พวกพี่น้องของเขา และเราจะใส่ถ้อยคำของเราในปากของเขา และเขาจะกล่าวทุกสิ่งที่เราบัญชาเขาไว้นั้นแก่พวกเขา” (เฉลยธรรมบัญญัติ 18:18) พระคริสต์ทรงยอมรับคำพยากรณ์นี้ว่าพระองค์ทรงทำให้สำเร็จ (ยอห์น 6:14; 7:40 กิจการ 3:22, 23)

Jesus referred to Himself as "prophet" (Luke 13:33). He proclaimed with prophetic authority (Matt. 7:29) the principles of God's kingdom (Matthew 5-7; 22:36-40), and revealed the future (Matt. 24:1-51; Luke 19:41-44).

พระเยซูทรงบอกว่าพระองค์ทรงเป็น “ผู้เผยพระวจนะ” (ลูกา 13:33) พระองค์ทรงประกาศด้วยสิทธิอำนาจในการพยากรณ์ (มัทธิว 7:29) กฎเกณฑ์แห่งแผ่นดินของพระเจ้า (มัทธิว บทที่ 5-7; 22:36-40) และทรงเปิดเผยถึงอนาคต (มัทธิว 24:1-51 ลูกา 19:41-44)

Before His incarnation Christ filled the Bible writers with His Spirit and gave them prophecies about His sufferings and subsequent glories (1 Peter 1:11).

ก่อนการมาประสูติเป็นมนุษย์ของพระองค์ พระเยซูทรงประทานพระวิญญาณของพระองค์ให้ผู้เขียนพระคัมภีร์อย่างเต็มล้น และประทานคำพยากรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการทนทุกข์และพระสิริที่จะได้รับในภายหลังแก่คนเหล่านั้น (1 เปโตร 1:11)

After His ascension He continued to reveal Himself to His people. Scripture says He gives His "testimony"—"the spirit of prophecy"—to His faithful remnant (Rev. 12:17; 19:10; see chapter 17 of this book).

หลังจากที่พระองค์เสด็จคืนสู่สววรค์ พระองค์ก็ยังทรงสำแดงพระองค์เองแก่ผู้เชื่อของพระองค์ พระคัมภีร์กล่าวว่า พระองค์ทรงประทาน “คำพยาน” “หัวใจแห่งการเผยพระวจนะ” (หรือวิญญาณแห่งคำพยากรณ์) ของพระองค์แก่บรรดาผู้เชื่อที่เหลืออยู่ (วิวรณ์ 12:17; 19:10 ดูบทที่ 18 ของหนังสือนี้)

Christ the Priest.

A divine oath firmly established the Messiah's priesthood: "The Lord has sworn and will not relent, 'You are a priest forever according to the order of Melchizedek'" (Ps. 110:4).

พระคริสต์ในตำแหน่งปุโรหิต

คำปฏิญาณของพระเจ้าได้ยืนยันการแต่งตั้งตำแหน่งปุโรหิตแก่พระเมสสิยาห์ว่า “พระเจ้าทรงปฏิญาณแล้ว และจะไม่เปลี่ยนพระทัยของพระองค์ "เจ้าเป็นปุโรหิตเป็นนิตย์ ตามอย่างของเมลคีเซเดค" (สดุดี 110:4)

Christ was not a descendent of Aaron. Like Melchizedek, His right to the priesthood came by divine appointment (Heb. 5:6, 10; see chapter 7). His mediating priesthood had two phases: an earthly and a heavenly.

พระคริสต์ไม่ได้เป็นลูกหลานของอาโรน พระองค์เหมือนกับเมลคีเซเดค ตำแหน่งปุโรหิตของพระองค์เป็นสิ่งถูกต้องเพราะได้รับการแต่งตั้งจากพระเจ้า (ฮีบรู 5:6, 10 ดูบทที่ 7 ของหนังสือเล่มนี้) การเป็นปุโรหิต เป็นคนกลางนั้นมีหน้าที่ทั้งสองส่วน คือ ทั้งในโลกและบนสวรรค์

1. Christ's earthly priesthood.

The priest's role at the altar of burnt offering symbolized Jesus' earthly ministry. Jesus qualified perfectly for the office of priest: He was truly man, and He was "called by God" and acted "in things pertaining to God" with the special task of offering "gifts and sacrifices for sins" (Heb. 5:1, 4, 10).

1. พระคริสต์ในตำแหน่งปุโรหิตในโลก

หน้าที่ของปุโรหิตที่แท่นบูชาเป็นสัญลักษณ์ของพระราชกิจบนโลกของพระคริสต์ พระเยซูทรงมีคุณสมบัติสมบูรณ์แบบในฐานะปุโรหิต เพราะพระองค์ทรงเป็นมนุษย์แท้ และทรง “เลือกมาจากมนุษย์ และแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทนมนุษย์ ในบรรดาการซึ่งเกี่ยวกับพระเจ้า” ซึ่ง “พระเจ้าทรงเรียกเขา” ด้วยภารกิจพิเศษ “นำของถวายและเครื่องบูชามาถวาย เพื่อลบล้างบาป” (ฮีบรู 5:1, 4, 10)

The priest was to reconcile the worshipers to God through the sacrificial system, which represented the provision of atonement for sin (Lev. 1:4; 4:29, 31, 35; 5:10; 16:6; 17:11). Thus the continual sacrifices at the altar of burnt offering symbolized the availability of continual atonement.

ปุโรหิตมีหน้าที่นำเอาผู้เข้านมัสการกลับคืนดีกับพระเจ้า ผ่านทางพิธีกรรม ซึ่งเป็นตัวแทนเพื่อการลบบาปที่จัดเตรียมไว้ (เลวีนิติ 1:4; 4:29, 31, 35; 5:10; 16:6; 17:11) ดังนั้น การถวายเครื่องบูชาที่แท่นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสัญลักษณ์ของการลบบาปที่มีไว้พร้อมเสมอ อย่างต่อเนื่อง

These sacrifices were not sufficient. They could not make the offerer perfect, take away sins, or produce a clear conscience (Heb. 10:1-4; 9:9). They were simply a shadow of the good things to come (Heb. 10:1; cf. 9:9, 23, 24).

เครื่องบูชาเหล่านั้นไม่เพียงพอ เพราะไม่สามารถทำให้ผู้ถวายเป็นคนสมบูรณ์ ไม่อาจกำจัดบาปออกไปหรือทำให้จิตสำนึกผิดชอบบริสุทธิ์ขึ้นมาได้ (ฮีบรู 10:1-4; 9:9) สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงเงาของสิ่งดีที่กำลังจะมาถึง (ฮีบรู 10:1 ดูบทที่ 9:9, 23, 24)

The Old Testament said that the Messiah Himself would take the place of these animal sacrifices (Ps. 40:6-8; Heb.10:5-9).

พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมกล่าวว่า พระเมสสิยาห์คือผู้ที่มาแทนที่สัตวบูชาทั้งหลาย (สดุดี 40:6-8 ฮีบรู.10:5-9)

These sacrifices, then, pointed to the vicarious sufferings and atoning death of Christ the Saviour. He, the Lamb of God, became sin for us, a curse for us; His blood cleanses us from all sins (2 Cor. 5:21; Gal. 3:13; 1 John 1:7; cf. 1 Cor. 15:3).

ด้วยเหตุนี้ เครื่องบูชาทั้งหลายจึงชี้ไปที่ผู้ที่จะมาเป็นเครื่องบูชาแทนและลบความตาย คือพระคริสตพระผู้ช่วยให้รอด พระองค์คือลูกแกะของพระเจ้า ผู้ยอมเป็นคนบาปเพื่อเรา ทรงรับเอาคำแช่งสาปเพื่อเรา พระโลหิตของพระองค์ชำระเราทั้งหลายจากบาปทุกอย่าง (2 โครินธ์ 5:21 กาลาเทีย 3:13; 1 ยอห์น 1:7 ดู 1 Cor. 15:3)

So during His earthly ministry Christ was both priest and offering. His death on the cross was part of His priestly work. After His sacrifice at Golgotha, His priestly intercession centered in the heavenly sanctuary.

ดังนั้น ขณะที่พระคริสต์ทรงอยู่ในโลก พระองค์จึงเป็นทั้งปุโรหิตและเป็นเครื่องบูชา ความตายบนไม้กางเขนเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ความเป็นปุโรหิตของพระองค์ หลังจากการเป็นเครื่องบูชาที่กลโกธา การทำหน้าที่ปุโรหิต การเป็นผู้ทูลขอพระเจ้าเพื่อมนุษย์ได้รวมศูนย์อยู่ในสถานศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์

2. Christ's heavenly priesthood.

The priestly ministry Jesus began on earth He completes in heaven. His humiliation on earth as God's suffering servant qualified Him to be our High Priest in heaven (Heb. 2:17, 18; 4:15; 5:2).

2. พระคริสต์ในตำแหน่งปุโรหิตบนสวรรค์

หน้าที่การรับใช้ในฐานะปุโรหิตของพระคริสต์เริ่มต้นในโลก พระองค์ทรงทำให้สำเร็จบนสวรรค์ การถ่อมพระองค์ลงมาในโลกเพื่อเป็นผู้รับใช้ผู้ทนทุกข์ของพระเจ้าทำให้พระองค์มีคุณสมบัติพร้อม เพื่อเป็นมหาปุโรหิตในสวรรค์ของเรา (ฮีบรู 2:17, 18; 4:15; 5:2)

Prophecy reveals that the Messiah was to be a priest on God's throne (tech. 6:13). After His resurrection the humiliated Christ was exalted. Now our High Priest sits "at the right hand of the throne of the Majesty in the heavens," ministering in the heavenly sanctuary (Heb. 8:1, 2; cf. 1:3; 9:24).

คำพยากรณ์ได้เปิดเผยให้ทราบว่าพระเมสสิยาห์จะเป็นปุโรหิตแห่งพระที่นั่งของพระเจ้า (tech. 6:13) หลังจากการเป็นขึ้นมาจากความตายแล้ว พระคริสต์ผู้ทรงถ่อมตนก็ได้รับการยกย่องให้สูงขึ้น บัดนี้มหาปุโรหิตของเราทรง “ประทับเบื้องขวาพระที่นั่งของพระเจ้า[ ภาษากรีกแปลตรงตัวว่า ขององค์ผู้ยิ่งใหญ่ ] ในสวรรค์” เพื่อรับใช้ในสถานศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์ (ฮีบรู 8:1, 2; cf. 1:3; 9:24)

Christ began His intercessory work immediately following His ascension. The ascending cloud of incense in the holy place of the Temple typifies Christ's merits, prayers, and righteousness, which makes our worship and prayers acceptable to God.

พระคริสต์ทรงเริ่มการเป็นทูลขอเพื่อเราทั้งหลายทันทีที่พระองค์เสด็จสู่สวรรค์ เมฆที่ลอยลงมาปกคลุมวิสุทธิสถานของวิหาร (ในโลก) แสดงถึงพระคุณความดีของพระคริสต์ คำอธิษฐานและความชอบธรรมของพระองค์ ซึ่งทำให้การนมัสการและการอธิษฐานของเราเป็นที่ยอมรับของพระเจ้า

Incense could be offered only on coals taken from the altar of burnt offering, which reveals an intimate connection between intercession and the atoning sacrifice of the altar. Thus Christ's intercessory work is built on the merits of His completed sacrificial atonement.

เครื่องหอมจะเผาได้ก็ต่อเมื่อนำเอาถ่านที่ได้มาจากแท่นเผาเครื่องบูชาเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นระหว่าง การเป็นคนกลางและเครื่องบูชาลบบาป ด้วยเหตุนี้ การทำหน้าที่ทูลขอเพื่อมนุษย์เกิดขึ้นจากคุณความดีของการเป็นเครื่องบูชาลบบาปอันสมบูรณ์แบบของพระองค์

Christ's intercession offers encouragement to His people: He is "able to save to the uttermost those who come to God through Him, since He ever lives to make intercession for them" (Heb. 7:25).

การทูลขอของพระคริสต์ ทำให้ผู้ของพระองค์มีกำลังใจ พระองค์ “พระองค์จึงทรงสามารถช่วยคนทั้งหลายที่เข้ามาใกล้พระเจ้าโดย ทางพระองค์นั้นอย่างเต็มที่[ แปลได้อีกว่า ตลอดกาล ] เพราะว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ทุกเวลา เพื่อทูลขอเผื่อคนเหล่านั้น” (ฮีบรู 7:25)

Because Christ mediates for His people, all of Satan's accusations have lost their legal basis (1 John 2:1; cf. Zech. 3:1). Paul asked rhetorically, "Who is he who condemns?" Then he offered the assurance that Christ Himself is at God's right hand, interceding for us (Rom. 8:34).

เพราะพระคริสต์ทรงปฏิบัติหน้าที่เพื่อบรรดาผู้เชื่อพระองค์ ทำให้การกล่าวหาของซาตานกลายเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลทั้งหมด (1 ยอห์น 2:1 ดูเศคาริยาห์ 3:1) เปาโลถามซ้ำอีกครั้งว่า “ใครจะเป็นผู้ลงโทษอีก?” (โรม 8:34)

Affirming His role as Mediator, Christ said, "Most assuredly, I say to you, whatever you ask the Father in My name He will give you" (John 16:23).

เป็นการยืนยันบทบาทของการเป็นคนกลางของพระคริสต์ พระองค์ทรงตรัสว่า “ในวันนั้นพวกท่านจะไม่ถามอะไรเราอีก เราบอกความจริงกับพวกท่านว่า ถ้าท่านขอสิ่งใดจากพระบิดาในนามของเรา พระองค์จะประทานสิ่งนั้นแก่ท่าน” (ยอห์น 16:23)

Christ the King.

God "has established His throne in heaven, and His kingdom rules over all" (Ps. 103:19). It is self-evident that the Son of God, as one of the Godhead, shares in this divine government over the whole universe.

พระคริสต์ในฐานะกษัตริย์

พระเจ้าทรง “สถาปนาบัลลังก์ของพระองค์ไว้ในฟ้าสวรรค์ และราชอาณาจักรของพระองค์ครองทุกสิ่งอยู่” (สดุดี 103:19) พระบุตรของพระเจ้าทรงเปิดเผยด้วยพระองค์เองเป็นหลักฐานว่า พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในพระเจ้าสามพระภาค (พระบิดา พระบุตร พระวิญญาณ) มีส่วนร่วมในการปกครองของพระเจ้าเหนือจักรวาลทั้งปวง

Christ, as the God-man, will exercise His kingship over those who have accepted Him as Lord and Saviour. "Your throne, O God," it said, "is forever and ever; a scepter of righteousness is the scepter of your kingdom" (Ps. 45:6; Heb. 1:8, 9).

พระคริสต์ในฐานะพระเจ้า-มนุษย์ จะทรงปฏิบัติหน้าที่ของกษัตริย์เหนือบรรดาผู้ยอมรับพระองค์ว่าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแลพระผู้ช่วยให้รอด “พระเจ้าข้า พระที่นั่งของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์ และเป็นนิตย์ ธารพระกรของพระองค์เป็นธารพระกรเที่ยงธรรม” (สดุดี 45:6 ฮีบรู 1:8, 9)

Christ's kingdom was not established without strife, for "the kings of the earth set themselves, and the rulers take counsel together, against the Lord and against His Anointed [Messiah]" (Ps. 2:1).

ราชอาณาจักรของพระคริสต์ไม่ได้ก่อตั้งขึ้นมาโดยไม่ผ่านการต่อสู้ เพราะ “บรรดากษัตริย์แห่งแผ่นดินโลกตั้งตนเองขึ้น และนักปกครองปรึกษากัน ต่อสู้พระเจ้าและผู้รับการเจิมของพระองค์” (สดุดี 2:1)

But their schemes fail. God will establish the Messiah on His throne by decree: "'I have set My king on My holy hill of Zion"'; He has declared, "'You are My Son, today I have begotten You'" (Ps. 2:6, 7; Heb.1:5).

แต่แผนการของพวกเขาล้มเหลว พระเจ้าจะทรงสถาปนาพระเมสสิยาห์บนพระที่นั่งของด้วยพระราชกฤษฎีกา “’เราได้ตั้งกษัตริย์ของเราไว้แล้ว บนศิโยน ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ของเรา’" พระองค์ทรงประกาศว่า “เจ้าเป็นบุตรของเรา วันนี้เราได้ให้กำเนิดแก่เจ้าแล้ว” (สดุดี 2:6, 7 ฮีบรู 1:5)

The name of the King who is to occupy the throne of David is "'THE LORD OUR RIGHTEOUSNESS'" (Jer. 23:5, 6) His rule is unique, for He is to function on the heavenly throne as both priest and king (Zech. 6:13).

พระนามของกษัตริย์ผู้จะนั่งบนพระบัลลังก์ของดาวิดคือ “'พระเจ้าเป็นความชอบธรรมของเรา” (เยเรมีย์ 23:5, 6) การปกครองของพระองค์จะแตกต่างออกไป เพราะพระองค์จะทรงปฏิบัติหน้าที่บนบัลลังก์ในฐานะของปุโรหิตและกษัตริย์ (เศคาริยาห์ 6:13)

To Mary the angel Gabriel announced that Jesus was to be that Messianic ruler, saying, "He will reign over the house of Jacob forever, and of His kingdom there will be no end" (Luke 1:33).

ทูตสวรรค์กาเบรียลได้แจ้งข่าวแก่มารีย์ว่าพระเยซูจะทรงเป็นพระเมสสิยาห์ ผู้ครอบครอง เมื่อทูตกล่าวว่า “ท่านจะครอบครองพงศ์พันธุ์ของยาโคบสืบไปเป็นนิตย์ และแผ่นดินของท่านจะไม่มีวันสิ้นสุดเลย” (ลูกา 1:33)

His kingship is portrayed by two thrones symbolizing His two kingdoms. The "throne of grace" (Heb. 4:16) represents the kingdom of grace; the "throne of His glory" (Matt. 25:31) stands for the kingdom of glory.

การเป็นกษัตริย์ของพระองค์แสดงออกให้เห็นพระบัลลังก์สองบัลลังก์ เป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรทั้งสองของพระองค์ คือ “พระที่นั่งแห่งพระคุณ” (ฮีบรู 4:16) เป็นตัวแทนของราชอาณาจักรแห่งพระคุณ และ “พระที่นั่งอันรุ่งโรจน์” (มัทธิว 25:31) หมายถึงราชอาณาจักรแห่งศักดิ์ศรี

1. The kingdom of grace.

Immediately after the first human had sinned, the kingdom of grace was instituted. It existed by the promise of God. Through faith people could become its citizens. But it was not fully established until the death of Christ.

1. พระที่นั่งแห่งพระคุณ

ทันทีที่มนุษย์คนแรกทำบาป ราชอาณาจักรแห่งพระคุณได้ก่อตั้งขึ้น เกิดขึ้นตามพระสัญญาของพระเจ้า มนุษย์ทั้งหลายสามารถเข้ามาเป็นพลเมืองแห่งอาณาจักรนี้ด้วยความเชื่อ แต่ราชอาณาจักรนี้ก่อตั้งยังไม่สมบูรณ์จนกระทั่งความตายของพระคริสต์

When He cried out on the cross, "It is finished," the requirements for the plan of redemption were met and the new covenant ratified (cf. Heb. 9:15-18).

เมื่อพระองค์ทรงร้องขึ้นที่บนกางเขนว่า “สำเร็จแล้ว” ข้อกำหนดของแผนการไถ่ให้รอดครบสมบูรณ์แล้ว และพันธสัญญาใหม่มีผลปฏิบัติแล้ว (ดู ฮีบรู 9:15-18)

Jesus' proclamation, "'The time is fulfilled, and the kingdom of God is at hand'" (Mark 1:15) was a direct reference to the kingdom of grace soon to be established by His death.

การประกาศของพระเยซู “เวลากำหนดมาถึงแล้วและแผ่นดินของพระเจ้าก็มาใกล้แล้ว” (มาระโก 1:15) คือข้ออ้างอิงที่ตรงไปตรงมาของอาณาจักรแห่งพระคุณ ซึ่งกำลังจะได้รับการสถาปนาขึ้นอีกไม่นานด้วยความมรณาของพระองค์

Founded on the work of redemption, not Creation, this kingdom receives its citizens through regeneration—the new birth. Jesus ruled, "'Unless one is born of water and the Spirit, he cannot enter the kingdom of God'" (John 3:5; cf. 3:3).

ตั้งอยู่บนรากฐานของราชกิจแห่งการไถ่ ไม่ใช่ด้วยการเนรมิตสร้าง อาณาจักรนี้ยอมรับเอาคนทั้งหลายเข้ามาเป็นประชากรด้วยการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือการเกิดใหม่ พระเยซูทรงเป็นผู้ครอบครอง “ถ้าใครไม่ได้เกิดจากน้ำและพระวิญญาณ คนนั้นจะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้าไม่ได้” (ยอห์น 3:5 ดูบทที่ 3:3)

He compared its growth to the phenomenal development of a mustard seed and the effect of yeast on flour (Mark 4:22-31; Matt. 13:33).

พระองค์ทรงเปรียบเทียบการเติบโตซึ่งเป็นพัฒนาการที่แปลกประหลาดของเมล็ดมัสตาร์ด [ เมล็ดเล็กๆ ชนิดหนึ่งซึ่งมีในประเทศปาเลสไตน์ ต้นของมันขึ้นสูงถึงสาม สี่เมตรและมีกิ่งก้าน ] และเหมือนกับเชื้อขนมปัง (มาระโก 4:22-31 มัทธิว 13:33)

The kingdom of grace is not seen in outward show, but by its effect on the heart of the believers. This kingdom, Jesus taught, "'does not come with observation; nor will they say, "See here!" or "See there!" For indeed, the kingdom of God is within you'" (Luke 17:20, 21).

อาณาจักรแห่งพระคุณไม่สามารถมองเห็นได้ แต่มีผลต่อจิตใจของบรรดาผู้เชื่อทั้งหลาย พระเยซูทรงสอนว่าอาณาจักรนี้ “แผ่นดินของพระเจ้าจะไม่มาด้วยสิ่งที่จะสังเกตได้ และเขาจะไม่พูดกันว่า 'มาดูนี่' หรือ 'ไปดูโน่น' เพราะนี่แน่ะ แผ่นดินของพระเจ้านั้นอยู่ท่ามกลางพวกท่าน” (ลูกา 17:20, 21)

It is not a kingdom of this world, He said, but a kingdom of truth. "'I am a king. For this cause I was born, and for this cause I have come into the world, that I should bear witness to the truth. Every one who is of the truth hears My voice'" (John 18:37).

ไม่ใช่อาณาจักรของโลกนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า แต่เป็นอาณาจักรแห่งสัจจะ “เราเป็นกษัตริย์ เพราะเหตุนี้เราจึงเกิดมาและเข้ามาในโลก เพื่อเป็นพยานให้กับสัจจะ ทุกคนที่อยู่ฝ่ายสัจจะย่อมฟังเสียงของเรา” (ยอห์น 18:37)

Paul said this kingdom is Christ's kingdom of "righteousness and peace and joy in the Holy Spirit" into which believers have been transferred (Rom. 14:17; Col. 1:13).

เปาโลกล่าวว่าอาณาจักรนี้คือ อาณาจักรของพระคริสต์ เป็นอาณาจักรแห่ง “ความชอบธรรม สันติสุข และความชื่นชมยินดีในพระวิญญาณบริสุทธิ์” ซึ่งบรรดาผู้เชื่อทั้งหลายได้รับเข้าไป (โรม 14:17 โคโลสี 1:13)

The establishment of this kingdom was an excruciating experience, affirming that there is no crown without a cross. At the close of His public ministry Jesus, the Messiah, the God-man, came to Jerusalem as the rightful heir to the throne of David.

การจัดตั้งอาณาจักรนี้เกิดขึ้นจากการประสบกับความทุกข์ทรมาน เป็นการยืนยันว่าหากไม่มีกางเขนก็ไม่มีมงกุฎ เมื่อใกล้สิ้นสุดเวลาแห่งการรับใช้มวลชนของพระเยซู พระเมสสิยาห์ พระเจ้า-มนุษย์นั้น พระองค์ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงเยรูซาเล็มในฐานะของผู้สืบต่อราชบัลลังก์จากกษัตริย์ดาวิดอย่างถูกต้อง

Seated on a donkey, as was the Jewish custom for a royal entry (Zech. 9:9), He accepted the masses' spontaneous, enthusiastic display of support.

พระองค์ประทับบนหลังลา ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของราชวงศ์ของชาวยิว (เศคาริยาห์ 9:9) พระองค์ทรงยอมรับการต้อนรับของฝูงชน ที่แสดงความตื่นเต้นยินดีแสดงการสนับสนุน

During His triumphal entry into the royal city "a very great multitude" spread their clothes to form a royal carpet, cutting down palm branches and shouting, "'Hosanna to the Son of David!

ขณะที่พระองค์เสด็จเข้าสู่ราชนครด้วยชัยชนะนั้น “ฝูงชนจำนวนมาก เอาเสื้อผ้าของตนปูตามถนนหนทาง บางคนก็ตัดกิ่งไม้มาปูตามถนน ฝูงชนที่เดินไปข้างหน้าพระองค์ กับพวกที่ตามมาข้างหลังก็โห่ร้องว่า “โฮซันนา [ ในที่นี้ใช้เป็นคำสรรเสริญ ] แก่บุตรของดาวิด

Blessed is He who comes in the name of the Lord!'" (Matt. 21:8, 9) thus fulfilling Zechariah's prophecy. Now Christ presented Himself as the Messianic king.

ขอให้ท่านผู้ที่เสด็จมาในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงพระเจริญ โฮซันนา ในที่สูงสุด” (มัทธิว 21:8, 9) ด้วยเหตุนี้จึงสำเร็จตามคำพยากรณ์ของเศคาริยาห์ บัดนี้ พระคริสต์ได้แสดงองค์ว่าพระองค์คือ พระมหากษัตริย์เมสสิยาห์

Unfortunately, His claim to the throne did not go unopposed. Satanic hatred against the "sinless One" reached its culmination. In a twelve-hour period the defenders of the faith, the Sanhedrin, had Him arrested secretly, put Him to trial, and condemned Him to death.

นับเป็นสิ่งน่าเสียใจที่การกล่าวอ้างสิทธิของพระองค์หาได้รอดพ้นจากการขัดขวางไม่ ความเกลียดชังของซาตานที่ต่อสู้ “พระองค์ผู้ไม่มีบาป” พุ่งถึงจุดสูงสุด ในช่วงเวลาแห่งการปกป้องความเชื่อเป็นเวลาสิบสองชั่วโมงนั้น สภาซันเฮดริน ได้ออกคำสั่งจับพระองค์อย่างเงียบๆ นำพระองค์ขึ้นตัดสินความ และลงโทษถึงตาย

During His trial, Jesus publicly affirmed that He was the Son of God and King of His people (Luke 23:3; John 18:33-37). In response to His claim He was scornfully clothed in a royal robe and crowned, not with a crown of gold, but of thorns (John 19:2).

ระหว่างที่ถูกนำตัวไปสอบสวนนั้น พระเยซูทรงยืนยันต่อหน้าคนทั้งหลายว่าพระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า และเป็นกษัตริย์ของประชาชน (ลูกา 23:3 ยอห์น 18:33-37) การกล่าวอ้างสิทธิของพระองค์ได้รับการตอบสนองด้วยการปฏิเสธด้วยความรังเกียจ ด้วยการนำเอาฉลองพระองค์ของกษัตริย์สวมให้พระองค์ และสวมมงกุฎ ไม่ใช่มงกุฎทองคำ แต่เป็นมงกุฎหนาม (ยอห์น 19:2)

His reception as king was sheer mockery. Beating Him up, the soldiers scoffed, "'Hail, King of the Jews!'" (John 19:3). And when the Roman governor, Pilate, presented Him to the nation, saying, "'Behold your King!'" His own people unanimously rejected Him, crying out, "'Away with Him, away with Him! Crucify Him!'" (John 19:14, 15).

การต้อนรับฐานะกษัตริย์ของพระองค์เป็นเสียงล้อเลียน เฆี่ยนตี พวกทหารเยาะเย้ยว่า “ข้าแต่กษัตริย์ของพวกยิว ขอทรงพระเจริญ” (ยอห์น 19:3) เมื่อปีลาต ผู้สำเร็จราชการของโรมันนำพระองค์ไปแสดงให้ประชาชนได้เห็น เขาประกาศว่า “นี่คือกษัตริย์ของพวกท่าน” ประชาชนของพระองค์กลับรวมตัวกันปฏิเสธพระองค์เป็นหนึ่งเดียว พวกเขาร้องอื้ออึงว่า “เอามันไป เอามันไป เอาไปตรึงที่กางเขน” (ยอห์น 19:14, 15)

Through the deepest humiliation—death on the cross—Christ established the kingdom of grace. Soon afterward exaltation ended His humiliation. Upon His ascension He was enthroned in heaven as Priest and King, sharing His Father's throne (Ps. 2:7, 8; cf. Heb.1:3-5; Phil. 2:9-11; Eph.1:20-23).

โดยความตกต่ำ อับอายอย่างที่สุด จนไปสู่ความตายบนไม้กางเขน พระคริสต์ได้ก่อตั้งอาณาจักรแห่งพระคุณของพระองค์ขึ้นมา ไม่นานหลังจากนั้น การยกย่องเชิดชูพระองค์ได้ทำให้ความอับอายนั้นสิ้นสุดลง การเสด็จสู่สวรรค์ทำให้พระองค์เสด็จขึ้นประทับบนบัลลังก์แห่งสวรรค์ในฐานะปุโรหิตและกษัตริย์ ร่วมกับครองบัลลังก์กับพระบิดา (สดุดี 2:7, 8 ฮีบรู 1:3-5 ฟีลิปปี 2:9-11 เอเฟซัส 1:20-23)

This enthronement did not give Him, as the divine Son of God, any power that was not already His. But now, as the divine-human Mediator, His human nature participated in the heavenly glory and power for the first time.

การเสด็จขึ้นครองบัลลังก์ของพระองค์ไม่ได้ทำให้พระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้า มีอำนาจซึ่งพระองค์ไม่ได้มีมาก่อน แต่บัดนี้ ในฐานะพระเจ้า-มนุษย์ผู้ทรงเป็นคนกลาง สภาพความเป็นมนุษย์ของพระองค์รวมกับสง่าราศีแห่งสวรรค์ ผนวกเข้ากับฤทธิ์เดชที่ทรงมีอยู่ก่อน

2. The kingdom of glory.

A representation of the kingdom of glory was given at the Mount of Transfiguration. There Christ presented Himself in His glory. "His face shone like the sun, and His clothes became white as light" (Matt. 17:2).

2. พระที่นั่งอันรุ่งโรจน์

การแสดงออกที่ทำให้เห็นว่าอาณาจักรแห่งศักดิ์ศรีได้ประทานมาให้ ณ บนภูเขาแห่งการจำแลงพระกาย ที่แห่งนั้นพระคริสต์ทรงเป็นผู้แทนของพระองค์เอง ประทับอยู่ด้วยพระสิริอันรุ่งโรจน์ “พระพักตร์ของพระองค์ทอแสงเหมือนแสงอาทิตย์ ฉลองพระองค์ก็ขาวผ่องดุจแสงสว่าง” (มัทธิว 17:2)

Moses and Elijah represented the redeemed—Moses representing those who have died in Christ and will be resurrected, and Elijah representing believers who will be taken to heaven without experiencing death at the Second Advent.

โมเสสและเอลียาห์เป็นผู้แทนของบรรดาคนที่ได้รับการไถ่แล้ว โมเสสเป็นตัวแทนของคนที่ตายในพระคริสต์ และจะได้รับฟื้นขึ้นมาจากความตาย ส่วนเอลียาห์ เป็นตัวแทนของบรรดาผู้เชื่อ ที่จะถูกรับขึ้นไปสวรรค์เมื่อพระองค์เสด็จกลับมาครั้งที่สอง โดยไม่ประสบกับความตาย

The kingdom of glory will be established with cataclysmic events at Christ's return (Matt. 24:27, 30, 31; 25:31, 32). Following the judgment, when the Son of man's mediatorial work in the heavenly sanctuary has ended, the "Ancient of Days"—God the Father—will bestow upon Him "dominion and glory and a kingdom" (Dan. 7:9, 10, 14).

อาณาจักรแห่งศักดิ์ศรีจะก่อตั้งขึ้นพร้อมกับเหตุการณ์ที่พระคริสต์เสด็จกลับมา (มัทธิว 24:27, 30, 31; 25:31, 32) ตามมาด้วยการพิพากษา เมื่อการทำหน้าที่คนกลางของบุตรมนุษย์ในสถานศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์สิ้นสุดลง เมื่อ “ผู้เจริญด้วยวัยวุฒิ” (พระเจ้าพระบิดา) จะทรงมอบ “ราชอำนาจ ศักดิ์ศรี กับราชอาณาจักร เขานำมามอบไว้กับท่าน” (ดาเนียล 7:9, 10, 14)

Then the "kingdom and dominion, and the greatness of the kingdoms under the whole heaven, shall be given to the people, the saints of the Most High. His kingdom is an everlasting kingdom, and all dominions shall serve and obey Him" (Dan. 7:27).

จากนั้น “แผ่นดินกับราชอาณาจักร และความยิ่งใหญ่แห่งบรรดาแผ่นดินภายใต้สวรรค์ทั้งสิ้น จะต้องถูกมอบไว้แก่ชุมนุมแห่งวิสุทธิชนขององค์ผู้สูงสุดนั้น” (ดาเนียล 7:27)

The kingdom of glory will finally be established on earth at the end of the millennium, when the New Jerusalem will descend from heaven (Revelation 20, 21).

ในที่สุด ราชอาณาจักรแห่งศักดิ์ศรีจะได้รับการสถาปนาขึ้นบนโลกนี้ เมื่อสิ้นสุดเวลาหนึ่งพันปี เมื่อกรุงเยรูซาเล็มใหม่จะลอยลงมาจากสวรรค์ (วิวรณ์ 20, 21)

By accepting Jesus Christ as our Saviour, we can become citizens of His kingdom of grace today and the kingdom of glory at His second coming. Before us lies a life with unlimited possibilities.

การที่ผู้หนึ่งผู้ใดรับเอาพระเยซูคริสต์เป็พระผู้ช่วยให้รอด เราก็สามารถเข้ามาเป็นประชากรแห่งอาณาจักรพระคุณและอาณาจักรแห่งศักดิ์ศรีเมื่อพระองค์เสด็จกลับมาครั้งที่สอง ชีวิตที่ไร้ข้อจำกัดในสิ่งที่เป็นไปได้ กำลังรออยู่เบื้องหน้าเราแล้ว

The life Christ offers is not a life filled with failure and scattered hopes and dreams, but one of growth, a successful walk with the Saviour. It is a life that increasingly displays genuine love, joy, peace, longsuffering, kindness, goodness, faithfulness, gentleness, and self-control (Gal. 5:22, 23)

ชีวิตที่พระคริสต์ทรงยื่นให้ไม่ใช่ชีวิตที่เต็มไปด้วยความล้มเหลวและความหวังและความฝันที่ละลายหายไปได้ แต่เป็นชีวิตแห่งการเติบโต การเดินไปด้วยความสำเร็จร่วมกัพระผู้ช่วยให้รอด นี่คือชีวิตที่มีแต่การเพิ่มพูน แสดงออกมาด้วยความรักที่จริงใจ ความยินดี สันติสุข ความอดทน ความกรุณา ความดี ความซื่อสัตย์ ความสุภาพอ่อนโยน การรู้จักบังคับตน (กาลาเทีย 5:22, 23)

—the fruits of the relationship Jesus offers to all who commit their lives to Him. Who can resist such an offer?

ผลแห่งความผูกพันกับพระเยซูยินดีมอบให้แก่ผู้ที่อุทิศชีวิตของเขาแด่พระองค์ ใครเล่าจะกล้าปฏิเสธข้อเสนอเช่นนี้?

References (หนังสืออ้างอิง)

1 On the 70-week prophecy, see 70 Weeks, Leviticus and the Nature of Prophecy, ed., Frank B. Holbrook (Washington, D. C.: Biblical Research Institute, General Conference of Seventh-day Adventists, 1986), pp. 3-127.

2 On the Biblical foundations of the year-day principle, see William H. Shea, Selected Studies on prophetic Interpretation (Washington, D. C.: Review and Herald, 1982), pp. 56-93.

3 The dates for the reign of Artaxerxes have been firmly established by the Olympiad dates, the Ptolemy's Canon, the Elephantine Papyri, and the Babylonian Cuneiform tablets.

4 See also C. Mervyn Maxwell, God Cares (Mountain View, CA.: Pacific Press, 1981), vol. l, pp. 216-218.

5 Gleason L. Archer, Encyclopedia of Bible Difficulties (Grand Rapids, MI: Zondervan, 1982), p. 291.

6 White, The Desire of Ages (Mountain View, CA: Pacific Press, 1940), p. 530.

7 That Scripture alludes to Jesus as the "only begotten" and the "first born" and speaks of the day of His begetting does not deny His divine nature and eternal existence. The term "only begotten" (John 1:14; 1:18; 3:16; 1 John 4:9) comes from the Greek word monogenes. The Biblical use of monogenes reveals that its range of meaning extends to "only" or "unique," depicting a special relationship, not an event in time. Isaac, for example is called Abraham's "only begotten son, "although he was not Abraham's only son, or even his firstborn son (Gen. 16:16; 21:1-21; 25:1-6). Isaac was the unique son, the only one of his kind, destined to become Abraham's successor. "Jesus Christ, the pre-existent God, the divine creative Word, at His incarnation became in a unique sense the Son of God—which is why He is designated 'monogenes' the only one of His kind, altogether unique in many aspects of His being and life. No other child of the human race was so compacted in his being, had so unequaled a relation to the Godhead, or did such a work as is true of Him. So 'monogenes' describes a relation between God the Father and Jesus Christ the Son as separate Persons of the Godhead. This is a relation that belongs to Christ's complex, divine-human personality, in connection with the economy of the plan of salvation." (Committee on Problems in Bible Translation, Problems in Bible Translation [Washington, D. C.: Review and Herald, 19541, p. 202). Likewise, when Christ is called the "firstborn" (Heb.1:6; Rom. 8:29; Col. 1:15, 18; Rev. 1:5), the term does not refer to a point of time. Rather, it emphasizes importance or priority (cf. Heb.12:23). In Hebrew culture, the firstborn received the family privileges. So Jesus, as the firstborn among men, won back all the privileges man had lost. He became the new Adam, the new "firstborn" or head of the human race. The Biblical reference to the day in which Jesus was begotten is based on a similar concept to those of the only begotten and the firstborn. Depending on its context, the Messianic prediction, "You are My Son, today I have begotten you" (Ps. 2:7), refers to Jesus': incarnation (Heb.1:6), resurrection (Acts 13:33; cf. v. 30), or enthronement (Heb.1:3, 5).

8 Additional evidence is found in laws of Greek grammar. (1) The anarthrous use of "Lord" (used without a definite article). The LXX translates YHWH with an anarthrous kurios. Very often, when one finds an anarthrous kurios in the New Testament it indicates God (e.g. Matt. 7:21; 8:2, 6, 25). (2) A single article qualifies two substantives. Thus e.g. Christ is described as God in the phrases "our great God and Savior Jesus Christ" (Titus 2:13), "the righteousness of our God and Savior Jesus Christ" (2 Peter 1:1). (3) When there are two substantives and the second is in the genitive case without an article, for either substantive, the quality of the one is attributed to the other. Thus in the same way that Rom. 1:17, 18 speaks of "righteousness of God" and "wrath of God," so Jesus is described as "Son of God" (Luke 1:35).

9 White, "The True Sheep Respond to the Voice of the Shepherd," Signs of the Times, Nov. 27, 1893, p. 54.

10 White, Patriarchs and Prophets, p. 34.

11 These expressions have often been used by Seventh-day Adventist writers to describe Jesus' identity with the human race, but never do they imply that He was in any way sinful. Throughout its history the official church position has been to uphold the absolute sinlessness of the Lord Jesus Christ.

12 Christ took upon Him "the same susceptibilities, mental and physical" as His contemporaries (White, "Notes of Travel," Advent Review and Sabbath Herald, Feb. 10, 1885, p. 81)—a human nature that had decreased in "physical strength, in mental power, in moral worth"—though not morally depraved, but totally sinless (White, "'In All Points Tempted Like As We Are, "' Signs, Dec. 3, 1902, p. 2; White, Desire of Ages, p. 49).

13 Henry Melvill, in Sermons by Henry Melvill, B.D., ed., C. P. McIlvaine (New York, N.Y.: Stanford & Swords, 1844), p. 47. By "innocent infirmities" he meant hunger, pain, sorrow, etc. He called this view of the pre- and post-Fall nature of Christ "the orthodox doctrine" (ibid.).

14 White, Letter 8, 1895 in The Seventh-day Adventist Bible Commentary, ed., Francis D. Nichol, rev. ed. (Washington, D. C.: Review and Herald, 1980), vol. 5, pp. 1128, 1129; cf. SDA Bible Commentary, rev. ed., vol. 7, p. 426.

15 Cf. White, "In Gethsemane, " Signs, Dec. 9, 1987, p. 3; White in SDA Bible Commentary, rev. ed., vol. 7, p. 927.

16 Brooke F. Wescott, The Epistle to the Hebrews (Grand Rapids, ME Win. B. Eerdmans, 1950), p. 59.

17 F. F. Bruce, Commentary on the Epistle to the Hebrews (Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans, 1972), pp. 85, 86.

18 White, "The Temptation of Christ," Review and Herald, April 1, 1875, p. [3].

19 Philip Schaff, The Person of Christ (New York, NY: George H. Doran, 1913), pp. 35, 36.

20 Karl Ullmann, An Apologetic View of the Sinless Character of Jesus, The Biblical Cabinet; or Hermeneutical Exegetical, and Philological Library (Edinburgh, Thomas Clark, 1842), vol. 37, p. 11.

21 White, "In Gethsemane," Signs, Dec. 9, 1897, p. 3; cf. White, Desire of Ages, p. 266.

22 White, Letter 8, 1895, in SDA Bible Commentary, vol. 5, pp. 1128, 1129, In E. G. White's time the following definitions of Propensity were used; "Propensity," from the Latin propensus, is defined as "Natural inclination; bias, bent" (Webster's Collegiate Dictionary, 3rd ed., [Springfield, MA: G. & C. Merriam Co., 19161); cf. Nuttall's Standard Dictionay of the English Language (Boston, MA: De Wolfe, Fiske & Co., 1886). Webster's Unabridged Dictionary defines it as "the quality or state of being propense [leaning toward, in a moral sense]; natural inclination; disposition to do good or evil; bias; bent, tendency" (Webster s International Dictionary of the English Language [Springfield, MA: G. & C. Merriam & Co., 1890]). One of E. G. White's favorite authors, Henry Melvill, wrote, "But whilst he took humanity with the innocent infirmities, he did not take it with the sinful propensities. Here Deity interposed. The Holy Ghost overshadowed the Virgin, and, allowing weakness to be derived from her, forbade wickedness; and so caused that there should be generated a sorrowing and a suffering humanity, but nevertheless an undefiled and a spotless; a humanity with tears, but not with stains; accessible to anguish, but not prone to offend; allied most closely with the produced misery, but infinitely removed from the producing cause (Melvill, p. 47). See Tim Poirier, "A Comparison of the Christology of Ellen White and Her Literary Sources" (Unpublished MS, Ellen G. White Estate, Inc., General Conference of Seventh-day Adventists, Washington, D. C. 20012).

23 White, "Temptation of Christ," Review and Herald, Oct. 13, 1874, p. [1]; cf. White in SDA Bible Commentary, vol. 7, p. 904.